Green Financial Instruments… นวัตกรรมทางการเงินสีเขียว #SustainableFuture

การมุ่งเป้าความยั่งยืน และ สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ ที่ผลักดันพร้อมกันทั่วโลกภายใต้แนวคิด Net Zero Emission และ Sustainable Development Goals ซึ่งต้อง “เปลี่ยนแปลง และ เปลี่ยนใหม่” เกือบทุกอย่างในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แปลว่าต้องลงทุนเพิ่ม หรือ ลงทุนใหม่ และ แปลว่าต้องใช้เงินทุนมากมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวโยงถึงความอยู่รอดของมนุษยชาติ

การขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืนด้วยแผนเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Green Economy จึงต้องใช้เงิน และ ทุนที่ยืดหยุ่นสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจสีเขียวไปด้วย… การพูดถึงการเงินสีเขียว หรือ Green Finance จึงเป็นประเด็นพูดคุยทั้งในระดับนโยบายมหภาค และ ระดับขับเคลื่อนผลักดัน… ซึ่งทุกๆ การเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งเป้าการเปลี่ยนผ่านไปใช้กลไกเศรษฐกิจสีเขียวอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องเปิดกว้างกลไกทางการเงินให้กลไกขับเคลื่อนหลักในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และ พาณิชยกรรมสามารถเข้าถึงเงินทุนเพื่อเศรษฐกิจสีเขียวได้โดยตรง

ประเทศไทย… การเงินสีเขียนถูกผลักดันอย่างสำคัญจากเสาหลักทางการเงินอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย และ เสาหลักทางแหล่งทุนอย่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ขับเคลื่อน สังคม และ GDP ของประเทศ… ซึ่งเคลื่อนไหวมาระยะหนึ่งจนกลายเป็นกระแสหลักที่เกือบทุกฝ่ายเห็นพ้องต่อเป้าหมายความยั่งยืน และ สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์

กรณี World Wide Fund for Nature หรือ WWF ซึ่งร่วมมือทำงานกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล หรือ Environmental Social and Governance หรือ ESG สำหรับสถาบันทางการเงิน… รวมทั้งโครงการริเริ่มทางการเงินของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations Environment Programme Financing Initiative ได้ออกหลักเกณฑ์ความรับผิดชอบทางการธนาคาร หรือ The Principles for Responsible Banking ในปี 2019… ซึ่งจะทำให้นโยบายการกู้ยืมเงินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากขึ้น โดยภายใต้หลักเกณฑ์ทางการเงินตาแนวทาง ESG… ธนาคารต่างยึดมั่นที่จะทำกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายความตกลงปารีส หรือ Paris Agreement เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG หรือ Sustainable Development Goals ขององค์การสหประชาชาติ… โดยแนวทางทั้งหมดได้นำไปสู่ความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อที่จะจับคู่นักลงทุนกับความต้องการด้าน Green Finance และ เพื่อกระจายเงินทุนในอัตราส่วนที่ต้องการ ซึ่งเครื่องมือทางการเงินบนโมเดล Green Finance ในปัจจุบันได้แก่…

  1. Green Bonds หรือ ตราสารหนี้สีเขียว 
  2. Green Equity Funds หรือ ตราสารทุนสีเขียว
  3. Green Loans หรือ สินเชื่อสีเขียว

อย่างไรก็ตาม… การเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินสีเขียวยังจำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ไม่ต่างจากโมเดลทุน และ การกู้ยืมทั่วไป เช่น Green Securitization หรือ การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์สีเขียว และ Green Leasing หรือ การเช่าซื้อสีเขียว กับ Green Renting หรือ การเช่าสีเขียว รวมทั้ง Climate Insurance หรือ การประกันภัยด้านสภาพภูมิอากาศ

ขออนุญาตเกริ่นถึงข้อมูลเบื้องต้นโดยภาพรวมเพียงเท่านี้ก่อนครับ เพราะถ้าเจาะรายละเอียดพูดถึงกันจริงๆ จะเกี่ยวข้องกับโมเดลการระดมทุน และ สินเชื่อที่มีรายละเอียดเป็นรายกรณีให้พูดถึงเยอะมาก… ท่านที่สนใจรายละเอียดระดับโมเดลธุรกิจ หรือ ข้อมูลและสถิติเฉพาะ… ทักผมทาง Line ID: dr.thum ได้ตลอดครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts