Green Industry

Green Industry… อุตสาหกรรมสีเขียว #GreenIndustry

การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ซึ่ง… สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้เป็นแนวทางการพัฒนา “อุตสาหกรรมสีเขียว” ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับระบบเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน หรือ ห่วงโซ่คุณค่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Supply Chain & Green Value Chain… โดยมุ่งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ในลักษณะเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน และสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้น

ซึ่งภาครัฐได้มีมาตรการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทย ในการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ควบคุมจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ปริมาณมลพิษที่สามารถปล่อยทิ้งออกมาได้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

ประเด็นอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry อยู่ในความรับผิดชอโดยตรงของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้ให้ความสำคัญโดยยกร่าง แนวทางการพัฒนาโรงงานสู่อุตสาหกรรมสีเขียว 5 ระดับ พร้อมคณะกรรมการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียว และ ฝึกอบรมผู้ตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองในระดับต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำการบูรณาการเพื่อพิจารณาให้ทุกรางวัล หรือ ใบรับรอง สามารถเทียบเคียงกันได้ โดยเริ่มโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งแต่ พ.ศ. 2553

แนวคิดอุตสาหกรรมสีเขียวของไทย พัฒนากรอบแนวทางบน 2 แนวความคิดสำคัญ คือ…

  1. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง… เพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. การพัฒนาอย่างยั่งยืน… ด้วยการประกอบกิจการโรงงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

การพัฒนาตามขั้นตอนของ “อุตสาหกรรมสีเขียว” จากระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 จึงเป็นกระบวนการที่เริ่มจากง่ายไปยาก คือ… ตั้งแต่การแสดงความมุ่งมั่นส่วนตัวภายในโรงงานของอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 เรื่อยไปจนถึงการสร้างวัฒนธรรม และ การได้รับการยอมรับจากชุมชนผู้อยู่อาศัยโดยรอบโรงงาน ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างเครือข่ายสีเขียว หรือ อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 โดยโรงงานจะต้องยื่นสมัครขอรับการรับรอง และ ต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการด้วย

เกณฑ์ของอุตสาหกรรมสีเขียว 5 ระดับ ได้แก่… 

  • ระดับที่ 1… ความมุ่งมั่นสีเขียว หรือ Green Commitment
  • ระดับที่ 2… ปฏิบัติการสีเขียว หรือ Green Activity
  • ระดับที่ 3… ระบบสีเขียว หรือ Green System
  • ระดับที่ 4… วัฒนธรรมสีเขียว หรือ Green Culture
  • ระดับที่ 5… เครือข่ายสีเขียว หรือ Green Network

โรงงานที่สนใจจะขอการรับรอง Green Industry สามารถศึกษาเอกสารประกอบการสมัคร Green Industry จากลิงค์และข้อมูลดังนี้ครับ

  1. ใบสมัครการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว 
  2. ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ 
  3. แบบประเมินเบื้องต้นอุตสาหกรรมสีเขียว (กรุณาเลือกใช้แบบประเมินเบื้องต้นฯ ตามระดับที่ขอการรับรอง)
    1. ระดับที่ 3 
    2. ระดับที่ 4 
    3. ระดับที่ 5 
  4. รายการตรวจสอบกฎหมายด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 

อบถามเพิ่มเติม โทร. 02–617–1727 หรือ อุตสาหกรรมสีเขียว http://greenindustry.diw.go.th 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts