ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ดาวเล็กๆ อย่างโลกของเราเผชิญอยู่ ถือเป็นปัญหาใหญ่ของทุกคนไปแล้วอย่างชัดเจนโดยไร้ข้อโต้แย้ง และดูเหมือนว่าคนรุ่นเราจะต้องตายไปโดยที่ไม่มีโอกาสรู้เลยว่า อีกหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีข้างหน้านับจากนี้… โลกใบนี้จะเย็นลงได้อีกครั้ง หรือว่าชั้นบรรยากาศแบบที่เคยมีแบบแหว่งๆ โหว่ๆ อย่างในปัจจุบันได้หายไปหมดแล้วจนหลานเหลนอยู่อาศัยได้อย่างสุขสบาย
ด้วยผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบที่ทุกคนรู้สึกได้อย่างทุกวันนี้ กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้หันไปใส่ใจอะไรๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และ ทำให้เกิด Green Consumers โดยปรากฏเป็นอุปสงค์ต่อสินค้าสีเขียว หรือ Demand of Green Products ซึ่งผู้บริโภคได้ใช้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้า หรือ บริการเข้ามาเป็นตัวแปรหลักอีกหนึ่งตัวในการตัดสินใจซื้อ–ขาย–จ่าย–ใช้ อันเป็นวิถีการบริโภคภายใต้แนวทาง “ยั่งยืน” ที่ไม่ได้สนใจแต่เรื่องราคา และ คุณภาพอีกแล้ว
การปรับตัวของสินค้าและบริการในมือ SMEs นับจากนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” โดยมีแนวคิด หรือ Concept เรื่อง กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หรือ Green Ocean Strategy เพิ่มเข้าไปในโมเดลธุรกิจ ซึ่งต้องให้ผู้บริโภค และหรือ ลูกค้าเป้าหมายได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่ความยั่งยืน… โดยทั้ง SMEs และ ลูกค้าต่างก็ได้มีส่วนในการสร้าง “คุณค่าแห่งความยั่งยืน หรือ Sustaining Value โดยสังคมและสิ่งแวดล้อม กับ สินค้าและบริการ ไม่ได้มีส่วนในการทำลายโลกใบนี้อย่างในอดีต
หลักสำคัญของการทำธุรกิจให้เข้าสู่ Green Ocean จึงไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่า… การหันกลับไปมองตัวแปรด้านสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ หรือ Business Value Chain ทุกตัวที่เปลี่ยนแปลงได้ และเปลี่ยนเสีย เช่น
- นำโซลาร์เซลล์มาใช้ในการผลิต และ การจัดการธุรกิจ
- การจัดการของเหลือส่วนเกิน และ ขยะให้ลดลงจนเหลือศูนย์
- การใช้วัตถุดิบที่มากจากกลไกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เป็นต้น…
แต่ความยากของการนำธุรกิจเข้าสู่น่านน้ำสีเขียวในโลกความจริงไม่ได้ง่าย โดยเฉพาะการใช้เป็นกลยุทธ์ที่คิดว่าจะง่าย เพื่อใช้ในการแข่งขัน… ข้อมูลจากบทความเรื่อง The Elusive Green Consumer ของ Katherine White และคณะ บน Harvard Business Review ชี้ว่า… ข้อมูลการสำรวจผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาที่ “สนใจ และ ใส่ใจ” สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนสูงถึง 65% เป็นอย่างน้อยในหลายๆ งานสำรวจ… แต่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงกลับมีตัวเลขราว 25-26% เท่านั้น… และข้อมูลจากการสำรวจผู้บริโภคของ Unilever สหรัฐอเมริกาชี้ว่า… ธุรกิจสีเขียวในฝั่งองค์กรปรับตัวได้ไม่ยาก ตราบเท่าที่สามารถ “แข่งขันราคา และ คุณภาพ” กับสินค้าคู่แข่งที่ผลิตจำหน่ายได้โดยไม่สนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม และ Unilever พบว่า… ปัญหาโลกร้อน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 70% เป็นส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภคว่าจะกินใช้และจัดการขยะอย่างไร
SMEs ในกระแส Green Ocean จึงต้องมองภาพให้ครบๆ ก่อนจะลงทุน หรือ เปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้ Green Ocean Strategy… ซึ่งไม่ได้ดีงามกับการอยู่รอด และ แข่งขันได้ดีกว่าแบบชัดเจนอย่างที่คิด หรือ หวังเสมอไป
References