นานมาแล้วที่สังคมเมืองให้ความสำคัญกับ “พื้นที่สีเขียว หรือ Green Space” โดยเมืองส่วนใหญ่ล้วนมีสวนสาธารณะ และ เติมแต่งทัศนียภาพเมืองด้วยพืชพรรณ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันดีว่าพื้นที่สีเขียวจากต้นไม้ใบหญ้ามีส่วนทำให้สุขภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจของคนเมืองดีขึ้นกว่าไม่มีพพืชพรรณให้พบเห็นมาก
งานวิจัยของ Kim N. Irvine และคณะ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ Bridging the Form and Function Gap in Urban Green Space Design through Environmental Systems Modeling ได้ศึกษาการออกแบบเมืองตามหลัก Water Sensitive Urban Design หรือ WSUD ซึ่งเป็นการออกแบบภูมิทัศน์เมืองเพื่อช่วยจัดการทรัพยากรน้ำ ผ่านการใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติ พืชพรรณ และวัสดุ ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบพื้นที่สีเขียว… โดยโครงการวิจัยนี้ได้หาทางสร้างแบบจำลอง “ระบบนิเวศบริการ หรือ Ecosystem Services และ แบบจำลองแบบไดนามิกของ WSUD” ซึ่งแนวทางการวางแผน และ การตัดสินใจในการจัดการพื้นที่สีเขียว พร้อมอธิบายถึงประโยชน์ทางด้านสภาพแวดล้อมของพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง
งานวิจัยชุดนี้มีการนำแนวคิดเรื่อง “ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพทางร่างกาย และ จิตใจมาเป็นโจทย์วิจัย โดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ผ่านแนวคิดการสร้างเมืองแห่งความสุข ความน่าอยู่ ความพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และ ความยั่งยืน… ซึ่งงานวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมมากมายเพื่อค้นคว้าเอาหลักฐานอ้างอิงเชิงประจักษ์ ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกาย สุขภาพจิต ความเป็นอยู่ที่ดี กับ พื้นที่สีเขียวในเขตเมืองมาอธิบาย… แต่ก็ยังมีหลักฐานอ้างอิงไม่มากเมื่อต้องตีความเชื่อมโยงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และ พื้นที่สีเขียว กับ บริบทความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน และ ชุมชน… แต่การสำรวจก็พบว่า การออกแบบเมืองให้มีพื้นที่สีเขียวสามารถเอื้อให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ด้วยเป็นการลดอุปสรรคในการออกกำลังกาย ซึ่งทำให้ผู้คนสามารถการออกกำลังกายได้ง่ายขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ประเด็นก็คือ… พื้นที่สีเขียว และ ภูมิทัศเมืองที่เอื้อต่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน” บนแนวคิดอันยั่งยืนอย่าง “ระบบนิเวศบริการ หรือ Ecosystem Services” บนรูปแบบดั้งเดิมอย่างต้นไม้ริมทาง และ สวนสาธารณะไม่อาจจัดการได้ด้วยรูปแบบดั้งเดิมอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งเราท่านได้เห็นกันมาจนชินตาว่าฝ่ายหนึ่งปลูกต้นไม้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้ในเขตเมืองทั้งริมทาง และ เกาะกลางถนน แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับต้องมาไล่ตัดต้นไม้ริมทางเพื่อปกป้องสายส่งไฟฟ้าอันเป็นความมั่นคงทางพลังงาน รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุจากต้นไม้หักโค่นสร้างความเสียหายให้ชีวิต และ ทรัพย์สินด้วย… ซึ่งเป็นเรื่องย้อนแย้งที่บ่งบอกว่าแนวปฏิบัติดั้งเดิมทั้งหมดนี้ต้องการการยกระดับไปใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นเข้ามาจัดการ
ประเด็นที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ… เราไม่เคยมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าชุมชนเมืองย่านหนึ่งๆ ต้องการพื้นที่สีเขียวขนาดเท่าไหร่ และ ควรต้องจัดการให้ตอบโจทย์ “ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน” ย่านนั้นอย่างไร รวมทั้งคำถามมากมายอีกมากที่ยังไม่มีคำตอบ… ซึ่งเท่าที่เป็นมา ทำเราได้เห็นการปลูกต้นไม้ริมทาง หรือ แม้แต่การจัดสวนสาธารณะที่ดำเนินการไปตามโครงการระยะสั้นๆ ของคนมีอำนาจตัดสินใจปลูก หรือ ตัดสินใจรื้อถอน รวมทั้งตัดสินใจจะให้ หรือ ไม่ให้งบประมาณดูแลพื้นที่สีเขียวให้มีอยู่… ซึ่งก็โทษใครไม่ได้ เพราะทุกๆ เหตุผลล้วนไม่ผิดที่จัดการใดๆ ลงไป
แนวทางระบบนิเวศบริการ หรือ Ecosystem Services ที่มีความจำเป็นสำหรับชุมชนเมืองที่ควรได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียว หรือ Green Space ที่เอื้อต่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชน” จึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และ ถูกพูดถึงพื้นที่สีเขียว หรือ Green Space และ Green Space Technology หรือ GreenSpace Tech หรือ เทคโนโลยีพื้นที่สีเขียวที่จะเข้ามาเติมเต็มการจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนในระดับต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ส่วนคำถามที่ว่า… GreenSpace Tech หรือ เทคโนโลยีพื้นที่สีเขียว หมายถึงอะไร หรือ หน้าตาองค์ประกอบเป็นแบบไหน… GreenSpace Tech ในทางเทคนิคจะเป็นการนำเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่จำเป็น และ เป็นไปได้ มาบูรณาการในการจัดการให้มีพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอ ซึ่งเท่าที่ดำเนินการกันอยู่ก็มีการใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ และ ธรณีวิทยาระดับ Big Data มาวิเคราะห์บูรณาการกับเทคโนโลยีทางการเกษตร… เทคโนโลยีพลังงาน และ ทุกทุกเทคโนโลยีภายใต้บริบทที่เป็นเกี่ยวพันถึงพลวัตรของชุมชนเมือง… ซึ่งจะออกแบบเป็นรายโครงการโดยมีสถาปนิก และ วิศวกรเป็นที่ปรึกษาโครงการครับ
ส่วนการจัดการ Green Space และ GreenSpace Tech ในด้านอุตสาหกรรมซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวพันถึงมากมายนั้น ขอข้ามที่จะกล่าวถึงในตอนนี้… แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็จะเริ่มต้นที่คำปรึกษาจากวิศวกร และ สถาปนิกเช่นกันครับ!
References…