ในวงการ Startup… คำว่า Growth Hacking เป็นคำศัพท์สามัญที่บุคคลากรสาย Startup จะต้องรู้จัก เข้าใจและใช้เป็นกับโมเดลธุรกิจของตัวเอง… แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ธุรกิจใด หรือแม้แต่องค์กรใดไม่สามารถสร้าง Growth Rate หรืออัตราการเติบโตได้อย่างชัดเจน การอยู่ต่อไปในแบบเดิมๆ คงแทบไม่เหลือทางเป็นไปได้… ซึ่งองค์กรหรือธุรกิจที่ผ่าน Growth Hacking จนประสบความสำเร็จที่เห็นการเติบโตก้าวหน้าชัดเจนเท่านั้น… ที่จะฝ่าคลื่น Disruption ในห้วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 คราวนี้ไปได้… ที่เหลือจะถูกทิ้งไว้กับโลกเก่า หรือไม่ก็จมคลื่นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงขึ้นทุกวันไป
คำว่า Hack หรือ Hacking… หลายท่านอาจจะมีทัศนคติในทางลบกับคำๆ นี้ เพราะได้ยินบ่อยเฉพาะกรณีของโจรคอมพิวเตอร์ที่มักจะเข้าถึงเป้าหมายด้วยการแฮก หรือ Hack เป็นส่วนใหญ่… ทั้งที่ข้อเท็จจริงแล้ว การเจาะเข้าหาเป้าหมายทางตรงเพื่อถึงเป้าหมายง่ายๆ เร็วๆ คือหัวใจของวิธีการที่เรียกว่า Hack… ยกตัวอย่างเช่น เราต้องผ่านประตูที่ล๊อคอยู่สามชั้น… การผ่านประตูแบบปกติก็ต้องปลดล๊อคทั้งสามชั้นนั้นออกก่อน แต่ถ้าต้องแก้ปัญหาการผ่านประตูโดยวิธี Hack ก็แค่ทุบกระจกหน้าต่าง… เพราะแท้ที่จริงแล้ว การเข้าไปข้างใน ไม่ได้มีหนทางเดียวว่าต้องผ่านประตูหรือต้องปลดล๊อคประตูก่อนเท่านั้น
Growth Hacking ในทางธุรกิจและการจัดการองค์กร จึงเป็นเทคนิคในการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดในเวลาที่รวดเร็ว… เพราะการเติบโตคือเป้าหมายปลายทางที่ต้องการ ส่วนวิธีการจึงต้องค้นหาวิธีไปถึงเป้าหมายให้เร็วที่สุด… ในปัจจุบันเราจึงได้เห็นการจำลองหรือทดลองในระยะสั้น เพื่อทดสอบการเข้าถึงเป้าหมายแบบใช้เวลาน้อยด้วยงบประมาณต่ำ… ซึ่งตำรา Lean Startup ของ Eric Ries สอนคนวงการ Startup ให้ Fail Fast, Fail Cheap ที่หมายถึงให้รีบทำรีบพลาดตอนที่ยังจ่ายไม่แพง… เพื่อให้ค้นพบวิธีที่จะพลาดและวิธีที่จะไม่พลาด จนทำให้มั่นใจเดินหน้าเต็มตัว สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและเติบโตโดยไม่พลาดพลั้งตอนที่ทุ่มเททรัพยากรมากมายลงไปแล้ว
ในทางปฏิบัติ… Growth Hacking จะดึงสมมุติฐานอย่างเช่น Business Model หรือ Project Planning ที่ต้องการผลักดัน ออกมาทำ Phototype เพื่อทดสอบไอเดียหรือแม้แต่หาโครงสร้างและรูปแบบหรือ Model Patern ที่ผ่านการทดสอบแล้ว… ก่อนจะนำไปสู่ขั้นตอนการ Scale up ตามแผนหรือโมเดลหลัก
เครื่องมือในการทำ Growth Hacking มีมากมาย ซึ่งต้องคิดค้นดัดแปลงให้เข้ากับโมเดลหรือแผนเฉพาะกรณีไป เช่น องค์กรขนาดใหญ่มีมานานอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการแข่งขัน Hackathon ภายในเมื่อช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา… เพื่อให้เจ้าที่แบงค์ชาติทุกคน ที่อยากทำอะไรใหม่ๆ เพื่อสร้าง New Value ให้องค์กรของตัวเอง ได้จับคู่หรือกลุ่มกับคนที่คิดเหมือนกัน มีไอเดียทางเดียวกัน… ได้เสนอไอเดียและสร้างต้นแบบให้เสร็จภายใน 48 ชั่วโมงและนำเสนอหรือ Pitch ให้ผู้บริหารตัดสินเลยว่า ทีมไหนโครงการอะไรจะได้เงินสนับสนุนให้ไปทำต่อ… ซึ่งถ้าหนึ่งในนั้นประสบความสำเร็จ กราฟการเติบโตขององค์กรย่อมยกหัวขึ้น… และถ้า Scale up โครงการที่ประสบความสำเร็จได้ กราฟการเติบโตจะยิ่งพุ่งขึ้นในแนวชันที่หมายถึง ใช้เวลาน้อยแต่เติบโตสูงนั่นเอง… และนั่นคือผลลัพธ์ของ Growth Hacking… แต่ถ้าทั้งหมดล้มเหลว ปีหน้าก็หากันใหม่ เวลาและงบประมาณที่เสียไป ก็ไม่ได้ต่างจากงบจัดกีฬาสีภายในซักกี่มากน้อย
ประเด็นนี้ขออนุญาตแบ่งเป็นหลายตอน และลงลึกระดับหนึ่งน๊ะครับ… แต่จะพยายามเขียนลงลึกอ้างอิงประสบการณ์และเล่าแบบ Reder ซึ่งอาจจะขาดหายมิติทางวิชาการไปบ้าง ก็ขออภัยพี่น้องเพื่อนฝูงสายสตาร์ทอัพไว้ตรงนี้… เพราะจุดประสงค์ที่นำเสนอบทความเรื่อง Growth Hacking ก็เพื่อให้ทุกท่านที่อ่านเจอบทความนี้… ได้เอาไปปรับ Mindset เพื่อหาทางช่วยตัวเองหรือคนรอบข้าง หรือแม้แต่องค์กรและที่ทำงาน สามารถตามหา Value Proposition ที่จะกระตุ้นให้ก้าวหน้าเติบโตได้… ซึ่งสไตล์ Reder จะไม่ยึดติดหลักการหรือวิธีการ… แต่จะ Hack เข้าหาเป้าหมายโดยตรงเช่นกัน
พรุ่งนี้มาต่อกันเรื่อง 2A3R หรือ AARRR Metrics ที่ใช้เทียบวัดการเติบโตที่เราตามหาครับ!!!