Habitual Behavior… พฤติกรรมแห่งความเคยชิน #SelfInsight

อุปนิสัยอันหมายถึงพฤติกรรมความเคยชินทั้งที่เป็นความเคยชินในช่วงเวลาหนึ่ง รวมทั้งอุปนิสัยอันหมายถึงความเคยชินจนกลายเป็นบุคลิกตัวตน หรือ Character ของเรานั้น… ทุกคนรู้ดีว่าอุปนิสัย หรือ นิสัยที่ดีก็จะทำให้เจ้าตัวกลายเป็นคนที่ได้อะไรดีๆ จากนิสัยตัวเองพอๆ กับที่นิสัยแย่ๆ ก็สามารถทำให้เจ้าตัวพบเจอ และหรือ ได้แต่อะไรที่ไม่ดีเป็นส่วนใหญ่… แม้จะเป็นพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ อย่างนั่งสั่นขา หรือ ถ่มน้ำลายไปเดินไปจนเป็นนิสัย ไปจนถึงนิสัยไม่ตรงเวลา หรือ ลักเล็กขโมยน้อย หรือ เอาเปรียบคนอื่นจนเป็นสันดาน

ในหนังสือ The Power of Habit ของ Charles Duhigg ซึ่งเนื้อหาได้อธิบายถึงความสำคัญของ “กิจวัตร หรือ Routine” อันเป็นพฤติกรรมแห่งความเคยชินที่สร้างอุปนิสัยของคนๆ หนึ่ง อันเป็นพฤติกรรมการแสดงออกทางกายซ้ำๆ หรือ Body Focused Repetitive Behaviors หรือ BFRB อันเกิดจากการตอบสนองต่อพฤติกรรม อารมณ์ หรือ จิตใจโดยอัตโนมัติจากความเคยชินจนกลายเป็นกิจวัตร… ซึ่งมักจะถูกกระตุ้นให้กลายเป็นกิจวัตรด้วย “รางวัล หรือ การตอบแทน” อย่างใดอย่างหนึ่งที่คนๆ นั้นพอใจจนถึงขั้นเต็มใจจะแสดงพฤติกรรมออกมาซ้ำๆ เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ตอบแทนตามที่คาดหวัง

ประเด็นก็คือ… พฤติกรรมความเคยชินเป็นส่วนหนึ่งของ “ระบบการตัดสินใจอัตโนมัติ” ที่คนๆ หนึ่งใช้ขับเคลื่อนสิ่งที่ทำ และ สิ่งที่ไม่ทำ ซึ่งผลของการทำหรือไม่ทำหลังจากนั้นจะเป็นผลลัพธ์ที่คนๆ นั้นมีโอกาสจะได้บางอย่างจากสิ่งที่ทำ หรือ อาจจะไม่ได้อะไรอย่างที่ต้องการแม้จะทำ รวมทั้งการไม่ได้ในสิ่งที่เลือกจะไม่ทำด้วย

การพัฒนาพฤติกรรมแห่งความเคยชินบนพื้นฐานการเลือกให้ตัวเองทำอะไรบ้างจนเป็นนิสัย กับ การเลือกให้ตัวเองไม่ทำอะไรบ้างจนเป็นนิสัย โดยอ้างอิงผลของการกระทำที่สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดกับอารมณ์ จิตใจ และ ร่างกายของตน รวมทั้งการหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่จะเป็นอันตรายกับคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกทำ หรือ ไม่ทำของเราด้วย

ส่วนการสร้างความเคยชินให้กลายเป็นอุปนิสัยดีๆ ที่ให้แต่ผลลัพธ์ที่ก่อประโยชน์กับตนนั้น… Dr. Emily Ricketts นักจิตวิทยาคลีนิคจาก UCLA หรือ University of California, Los Angeles แนะนำว่า… ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เครื่องมือสร้างและปรับแต่งพฤติกรรมการแสดงออกทางกายซ้ำๆ หรือ Body Focused Repetitive Behaviors จะเริ่มต้นที่ “รางวัล” ที่จะได้จากพฤติกรรมที่ควรได้ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้กับทุกเพศ–ทุกวัย–ทุกสถานะที่ต้องการปลูกฝังอุปนิสัยที่ไม่อันตรายกับตนเองและผู้อื่น… ซึ่งรางวัลที่เหมาะสมจะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงให้คนๆ หนึ่งสามารถก้าวข้ามความกลัว ความเกียจคร้าน และ มายาคติที่ฉุดรั้งคนๆ นั้นเอาไว้กับ “ความเคยชิน” ที่อันตรายกับร่างกายจิตใจและอารมณ์ของตน…

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts