Healthy Feedback… คำชี้แนะภายหลังแบบที่ดีต่อสุขภาวะในองค์กร #ExtremeLeadership

การให้คำชี้แนะภายหลัง หรือ การให้ Feedback ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสาร และหรือ การสนทนาเพื่อ “แสวงหาความพึงพอใจระหว่างกัน” ของ “ผู้เสนอข้อชี้แนะ กับ ผู้รับการชี้แนะ” โดยให้ถือว่าข้อชี้แนะจากผู้เสนอเป็นการ “ติชมโดยสุจริต” ไม่ว่าจะติชมด้วยข้อเท็จจริง หรือ บอกกล่าวชี้แนะด้วยข้อมูลใหม่… ซึ่ง “ผู้รับการชี้แนะ” ควรรับฟังทั้งหมดอย่างเข้าใจเจตนาอันสุจริต ก่อนจะยอมรับข้อชี้แนะนั้น และหรือ ชี้แจงแบ่งปันข้อมูลส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม… ด้วยเจตนาอันสุจริต และ ถ่อมท่าทีด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง โดยเฉพาะการให้คำชี้แนะภายหลัง หรือ การให้ Feedback ระหว่าง “เพื่อนร่วมงาน” ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็จะยังอยู่ร่วมกันเป็น “ทีม” ในองค์กรเดียวกันต่อไป

ทักษะการให้คำชี้แนะภายหลัง หรือ Feedback Skill จึงเป็นหนึ่งในทักษะการจัดการที่สมาชิกทีมจำเป็นจะต้องมีอยู่กับตัวเพื่อรับบทบาทได้ทั้งเป็น “ผู้เสนอข้อชี้แนะ และ ผู้รับการชี้แนะ” เพื่อผลักดันเป้าหมายขององค์กรร่วมกันด้วยบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตรกับความคิด และ จิตใจของทุกคน ซึ่งการวิจัยทางจิตวิทยาองค์กรมากมายยืนยันตรงกันหมดว่า… องค์กรที่ผลิตนวัตกรรมชั้นเลิศออกสู่สาธารณะได้มากมักจะมีวัฒนธรรมการให้คำชี้แนะภายหลังแบบ Healthy Feedback… ซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารสองทาง โดยจะมีทั้ง “การบอกกล่าว และ การรับฟัง” อย่างสร้างสรรค์ทั้งกับคำชี้แนะติเตือนชี้ช่อง และ คำยกย่องชื่นชมสนับสนุน

ประเด็นก็คือ… มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน และ สับสนระหว่างการให้ Feedback กับ “การสั่ง และ การสอน รวมทั้งการต่อว่าติเตียน” ภายใต้สถานการณ์การให้ Feedback ซึ่งทำลายความไว้วางใจโดยปริยายระหว่างกัน ซึ่งนอกจากจะไม่ใช่ Healthy Feedback อย่างสิ้นเชิงแล้ว… ยังสะท้อนรากเหง้าของวัฒนธรรมองค์กรอันไม่เป็นมิตรกับความสุขของคนในองค์กรได้อย่างชัดเจน

ส่วนท่านที่อยากทราบว่าวิธีการให้ Feedback แบบ Healthy Feedback ต้องคิดอย่างไร และ พูดอย่างไร หรือ เขียนแบบไหนนั้น… โดยส่วนตัวไม่มีคำแนะนำสำเร็จรูปให้หรอกครับ ซึ่งถ้าจะให้แนะนำก็จะแนะนำให้ไปศึกษา Outward Mindset หรือ อ่านหนังสือ The Outward Mindset: Seeing Beyond Ourselves รวมทั้งการหาโค้ชจัดกิจกรรมทีมที่โฟกัส Outward Mindset มาปรับปรุงทักษะให้คนในองค์กรมากกว่า… โดยเฉพาะทักษะการนำ และ ทักษะผู้นำที่ทุกคนในองค์กรควรต้องมีให้มาก… ไม่ว่าจะทำหน้าที่ในฐานะใดในองค์กรก็ตาม

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts