อคติส่วนตัว… สนิมทุกข์ที่ใครก็เคาะออกได้

การตัดสินคนอื่น… เป็นธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไปที่มีแนวโน้มจะสงสัย หวาดระแวงและประเมินผู้อื่นอย่างที่ตัวเองเชื่อ อันเกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่สะสมเรียนรู้มาก่อนหน้า ซึ่งการตัดสินคนอื่นเป็นกลไกความอยู่รอดโดยธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องมี เพื่อสร้างสมดุลย์ระหว่างความสัมพันธ์ที่ต้องปกป้องการอยู่รอดและโอกาสในผลประโยชน์ที่หาได้จากความสัมพันธ์กับผู้อื่น

การมองคนอื่นโดยใช้ทัศนคติของตัวเอง จึงเป็นการตัดสินคนอื่นโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนตลอดเวลา ไม่ว่าจะคิด รู้สึกหรือเชื่อว่าอย่างไรก็ตามแต่… โดยข้อเท็จจริงแล้วถือเป็นฉากทัศน์มุมมองเดียวจากเราเท่านั้นที่มองคนตรงหน้าให้เป็นอย่างที่เชื่อว่าเป็น ซึ่งอาจจะถูกบางส่วนหรือผิดทั้งหมดเลยก็ได้

ในทางเทคนิค… การตัดสินคนอื่นโดยทัศนคติส่วนตัวที่ไม่ชัดเจน หรือ การมีอคติต่อผู้อื่นนั้น จะหมายถึงการด่วนตัดสินไปก่อนโดยไม่ตรวจสอบอย่างรอบด้าน เหมือนศาลตัดสินจำเลยโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงแต่ใช้วิจารณญาณของผู้พิพากษาชี้ถูกผิดไปตามความเชื่อส่วนตนเพียงลำพัง… ซึ่งในชีวิตจริงย่อมสร้างปัญหาความสัมพันธ์มากมายในทุกๆ ความสัมพันธ์ และหลายกรณีลุกลามจากความเชื่อผิดๆ เล็กน้อยกลายเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นเรียกเต็มปากว่าโศกนาฏกรรมอันน่าสลดหดหู่ก็มี

การศึกษาวิจัยในโครงการ IATs หรือ Implicit Association Tests หรือการทดสอบการเชื่อมโยงโดยนัยเพื่อศึกษาความไม่สอดคล้องกันของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก… โดยความร่วมมือของ Harvard University กับ University of Virginia และ University of Washington ซึ่งบางแง่มุมเป็นการศึกษาติดตามรูปแบบของ Hidden Bias หรือ อคติส่วนตนที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา และเป็นกับดักความสัมพันธ์ที่นำไปสู่การตัดสินผู้อื่นโดยไม่เป็นธรรม… นักวิจัยพบว่า เด็กอายุตั้งแต่ 3 ขวบจะเริ่มยึดติดกับทัศนคติของกลุ่มทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติของตน และใช้ทัศคติกลุ่มเป็นมุมมองส่วนตนโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะทัศนคติที่มีต่อกลุ่มอื่น… และยิ่งมีการตอกย้ำความเชื่อผ่านครอบครัว สื่อ หรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีความเชื่อและวัฒนธรรมไม่ต่างกันเพิ่มเข้าไปด้วยแล้ว… การเกิด Hidden Bias หรืออคติปลูกฝังติดตัวไปจนตายจึงเกิดขึ้นได้ค่อนข้างชัด

ข่าวดีคือ… ทัศนคติที่เข้าข่ายอคติทั้งหมดสามารถเรียนรู้และแก้ไขได้ด้วยการ “ลืมและทดแทนด้วยทัศนคติที่ถูกต้องกว่า” แต่การเรียนรู้เพื่อลดอคติทั้งหมดจะทำได้ก็ต่อเมื่อ มีการเปิดกว้างรับรู้ความหลากหลายแตกต่างและใช้ข้อมูลมากกว่าความเชื่อและความเคยชิน… นั่นหมายความว่า คนที่พร้อมจะลดอคติในตนจำเป็นต้องพร้อมที่จะ “เปลี่ยนความคิดตัวเอง” ซึ่งถือเป็นเรื่องยากเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่ได้แต่คิดอยากให้อะไรรอบตัวเป็นมิตรกับความสุขของตัวเอง โดยตัวเองไม่ต้องลงทุนอะไรแม้แต่เปลี่ยนความเคยชิน ความคิดและการกระทำแบบเดิมเลยก็มี

การค้นคว้าทางจิตวิทยามากมายเกี่ยวกับพฤติกรรมความสัมพันธ์ รวมทั้งพฤติกรรมกลุ่มตั้งแต่ระดับเด็กอนุบาลเล่นกับเพื่อบางคนและผลักเพื่อนบางคน ไปจนถึงการเกาะกลุ่มแบ่งพรรคแบ่งพวกในที่ทำงาน รวมไปถึงความแตกแยกระดับชุมชน ประเทศชาติและความเชื่อทางศาสนา… มักจะพบ Bias และ Hidden Bias อยู่เบื้องหลังเป็นส่วนใหญ่ หลายกรณีในบางความเห็นถึงขั้นสรุปว่า ปัญหาโลกแตกหรือปัญหาขัดแย้งจากความคิดต่าง ความเชื่อต่างและทัศนคติต่าง ล้วนมาจากอคติส่วนตัวที่เอาออกมารวมกันเป็นกลุ่ม จนมีพลังมากพอจะไปสร้างข้อขัดแย้งกับคนจากกลุ่มอื่น ทั้งๆ ที่สามารถหลีกเลี่ยงข้ามผ่านได้เพียง “เปิดใจยอมรับความต่าง” ก็หมดปัญหา

สำหรับท่านที่อยากรู้ว่าตัวเองมีอคติกับอะไรอย่างไร… หลายคำแนะนำให้ลองฟัง “เสียงตัวเองพูดกับตนเอง” ทั้งมุมมองการตัดสินใจที่สร้างสรรค์ และ มุมมองการตัดสินใจที่เต็มไปด้วยความวิตกกังวลและขาดข้อมูล… คำแนะนำอย่างการอยู่กับตัวเองแล้วถามด้วย “Chain Why หรือ ถามทำไมเอาเหตุผลคำตอบหลายๆ ชั้นที่ซ้อนกันอยู่” จะทำให้สามารถ “ล่วงรู้เท่าทันตน” ได้ดีขึ้น

ประเด็นก็คือ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่โหยหาการยอมรับจากกลุ่ม ซึ่งเชื่อมโยงกับสุขทุกข์มากมายตลอดช่วงชีวิต… การเปลี่ยนตัวเองที่ทัศนคติ โดยหาทางทำลายอคติที่เรามีต่อคนรอบข้างออกไปให้ได้มากที่สุด ผลดีจะเกิดขึ้นผ่านความเชื่อใหม่บนมุมมองใหม่จากเราเอง… ไม่ต้องให้ใครอื่นเปลี่ยนตัวเขาให้ถูกใจเราอยู่ฝ่ายเดียว จนลืมดูตัวเองว่า… จะมีใครอื่นสักกี่คนที่ถูกใจเราอย่างไม่มีเงื่อนไข!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts