The Ngozumpa Glacier in the Himalayas of Nepal.

Himalayas Glaciers Melting… เมื่อหิมะละลาย #FridaysForFuture

โลกร้อนขึ้น… ข้อเท็จจริงนี้ไม่ใครโต้แย้งอีกแล้วในโลก แต่ที่ขัดแย้งเรื่องโลกร้อนนั้น ทั้งหมดเป็นเพียงเรื่อง “หาคนผิด กับ หาคนรับผิดชอบ” มากกว่า แต่ถ้าหันไปหันมาและคิดให้ดีและถี่ถ้วน… ก็มักจะเจอตัวเองด้วยเสมอจนกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อไม่รู้จบ ที่ห่วงโซ่เรื่องโลกร้อนมักจะวนเป็นห่วงโซ่มาถึงทุกคนบนโลก

มีรายงานจากนักวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยที่ลดน้อยลง หลายแหล่งกลายเป็นทะเลสาบน้ำแข็งที่สะสมน้ำไว้ใต้แผ่นน้ำแข็งมากขึ้น จนเข้าขั้นที่อาจจะกลายเป็นต้นเหตุของภัยพิบัติที่คาดไม่ถึงมากมาย โดยเฉพาะมวลน้ำมหาศาลดั่งเขื่อนแตก จากที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางหลายกิโลเมตร ซึ่งหากเกิดขึ้นวันใดก็คงกลายเป็นโศกนาฏกรรมไม่รู้ลืมอีกเหตุการณ์หนึ่งอย่างแน่นอน

การเฝ้าจับตามองความเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็ง ที่ปกคลุมยอดเขาสูงอันหนาวเหน็บทั่วโลก จึงกลายเป็นประเด็นใหญ่เรื่องโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมอีกประเด็นหนึ่ง

Professor Jeffrey Kargel นักธรณีวิทยาอาวุโสจากสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักวิจัยที่เฝ้าติดตามความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาในแถบรัฐอุตตราขัณฑ์ หรือ Uttarakhand ระบุว่า… พวกเรายังไม่เข้าใจว่าภัยพิบัติในเบื้องหน้าจะเป็นแบบไหน หรืออันตรายอย่างไรบ้าง ที่ทำได้ก็แค่เฝ้าดู และเป็นฝ่ายรอให้เกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่ส่ออันตรายจริงๆ ก่อน

ประเด็นก็คือ เมื่อธารน้ำแข็งหดตัวลง หรือ บางลง… ธารน้ำแข็งบางแห่งก็อาจจะเป็นอันตรายได้… ในกรณีน้ำแข็งที่หลงเหลือห้อยอยู่บนภูเขาสูงชัน เมื่อบางลงจนเกาะกันอยู่กับหินหรือดินไม่ไหว ก็อาจจะถล่มลงมาเมื่อใดก็ได้

นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่า ธารน้ำแข็งที่หดตัวอาจทำให้พื้นด้านล่างและขอบรอบธารน้ำแข็งเหล่านั้นไม่มั่นคงเหมือนเดิม เหมือนเมื่อตอนที่มีธารน้ำแข็งค้ำหรือพยุงพื้นที่แถบนั้นอยู่… พื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม หินถล่ม หรือ น้ำแข็งถล่มและอาจนำไปสู่การถล่มลงมาของภูเขาทั้งแถบเลยก็ได้เช่นกัน

และถ้าเกิดเหตุการณ์ถล่มในลักษณะใดขึ้นที่ไหนก็ตาม… มวลน้ำมหาศาลจะไหลทะลักพัดพาทุกอย่างที่ขวางทางลงมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในเขตอุตตราขัณฑ์… แต่ไม่มีใครรู้ว่าชุมชนและเส้นทางไหนจะเกิดอุบัติภัยที่คาดไว้นี้อย่างชัดเจน

Dr.Muhammad F. Azam ในฐานะนักวิทยาธารน้ำแข็ง หรือ Glaciologist จาก Indian Institute of Technology Indore หรือ IIT Indore แห่งอินเดียระบุว่า… มีธารน้ำแข็งมากกว่า 50,000 แห่งในเทือกเขาหิมาลัย และภูมิภาคฮินดูกูช หรือ Hindu Kush และ พบว่ามี 30 แห่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ รวมทั้งการลงพื้นที่ศึกษาความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง… รายงานการศึกษาวิจัยจากประเด็นนี้ มีการตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเพียง 15 แหล่ง… และ Muhammad F. Azam เข้าใจดีว่าจำเป็นต้องเฝ้าระวังและสังเกตธารน้ำแข็งเหล่านี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น เฉพาะเมื่อมีปัจจัยหลายอย่างส่งผลกระทบ

โดยเฉพาะการเป็นเทือกเขาที่อายุน้อยที่สุดในโลกของเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งยังคงขยายตัวและมีแผ่นดินไหวจนทำให้พื้นที่ลาดชันต่างๆ ไม่เสถียร… การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และรูปแบบการตกของหิมะและฝนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เทือกเขาแห่งนี้ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น… บวกกับภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิสูงขึ้น…

เหตุการณ์เหมือน A Glacier in Tibet’s Aru Mountain Suddenly Collapsed หรือ ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาอารูในทิเบตถล่มในปี 2016 ซึ่งมีคนเสียชีวิตถึง 9 คนก็อาจจะเกิดขึ้นที่อุตตราขัณฑ์เมื่อไหร่ก็ได้

ข้อมูลจากต้นฉบับและเอกสารที่เกี่ยวข้องมีเยอะมาก… แต่ทั้งหมดยิ่งอ่าน ยิ่งค้นเพิ่ม ยิ่งน่ากลัวเหมือนที่ Dr.Muhammad F. Azam กลัวและเชื่อว่ามันจะเกิดนั่นแหละ

#FridaysForFuture ครับ!

Reference…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts