Hotel California เป็นชื่ออัลบั้มลำดับที่ 5 ของวงคันทรีร็อกสัญชาติอเมริกันนาม Eagles… และยังเป็นชื่อเพลงลำดับที่ 1 บน Cassette Deck หรือ เทปคาสเซ็ท หน้าหนึ่งด้วย… แถมภาพปกอัลลั้มยังเป็นภาพโรงแรม The Beverly Hills Hotel… โรงแรมใน California ในบรรยากาศแปลกๆ
Hotel California เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอัลบั้มหนึ่งของ Eagles… ในอัลบั้มนี้ยังมีเพลงอมตะอยู่ถึง 3 เพลงได้แก่… New Kid in Town ซึ่งเคยขึ้นอันดับหนึ่งใน Billboard Chart ช่วงปี 1976–1977… และเพลง Hotel California ก็ขึ้นอันดับหนึ่งใน Billboard Chart ช่วงเวลาไล่ๆ กัน และ อีกเพลงที่ไปยืนอยู่ใน Billboard Chart อันดับที่ 11 คือเพลง Life in the Fast Lane
อัลบั้ม Hotel California วางตลาดมากกว่า 32 ล้านชุดทั่วโลก โดย 17 ล้านชุดขายในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ทำให้กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดของวง Eagles… นิตยสารโรลลิงสโตนส์ ได้จัดอันดับไว้ที่ 37 ใน Rolling Stone’s 500 Greatest Albums of All Time อีกด้วย
Don Henley หรือ ดอน เฮนลี่ย์ มือกลองและนักร้องนำ “เพลง Hotel California” เจ้าของประโยคที่แฟน Eagles ทั่วโลกจำติดหูที่ว่า… On a dark desert highway, cool wind in my hair… ได้พูดถึงแนวคิดในอัลบั้มและเพลง Hotel California ว่า… ธีมทั้งหมดตีความจากความไร้เดียงสาราคาแพงกับฝันแบบ American Dream ที่โลกความจริงกับฝัน ย้อนแย้งขัดกันในทุกความสัมพันธ์ของทุกชีวิตที่ต้องดิ้นรนทำกิน ท่ามกลางสังคมจอมปลอม และสภาพการเมืองของยุค 60–70 ที่คำว่า สันติภาพ รักและเข้าใจถูกพูดถึงพร้อมๆ กับการเมืองที่มีแต่คอร์รัปชั่น
ท่านที่ศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกาก็จะทราบว่า ยุค 60–70 เป็นยุคฮิปปี้ ยาเสพติด สงครามเวียดนาม ในขณะที่การประชาสัมพันธ์ภายใต้แนวทาง American Dream กลายเป็นเรื่องตลกร้าย… ซึ่งคำพูดและคนที่ขับเคลื่อนคำว่า “เสรีภาพ” อย่างพี่น้องตระกูลเคนเนดี… John F. Kennedy ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 35 และ Robert F. Kennedy ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากพี่ชาย… ต่างถูกลอบสังหาร ไม่ต่างจาก Martin Luther King Jr. ที่มีจุดจบด้วยกระสุนปืนราคาถูกไม่ต่างกัน
Don Felder มือกีตาร์ของวง ได้เริ่มแต่งทำนองเพลงเอกในอัลบั้มที่ 5 จากโฮมสตูดิโอของตัวเอง และส่งเดโม่ทำนองให้เพื่อนร่วมวง อย่าง Don Henley มือกลอง และ Deacon Frey นักร้องนำ จังหวะทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ของกีตาร์คันทรีร๊อคที่มาในจังหว่ะละติน… ทำให้ทั้งสามคนนัดเจอกัน เพื่อเข้าค่ายสุมหัวทำเพลงนี้… และทั้งสามตัดสินใจขับรถเข้า LA หรือ Los Angeles ตอนกลางคืน
ถนนเข้า LA ปี 1975 จะเห็นเพียงแสงไฟเรืองรองจากตัวเมืองในขณะที่สองข้างทางมืดมิด ว่างเปล่า… ทั้งสามจึงจดจ่อปลายทางเรืองรองเหมือนเด็กหนุ่มที่มุ่งมั่นตรงเข้าหาความสำเร็จที่อยู่เบื้องหน้า
ความมืดและบทสนทนากับเพื่อนรักร่วมทาง… ความหลัง จึงมีให้ทบทวนร่วมกันมากมายระหว่างนั้น ตั้งแต่เป็นนักดนตรีหน้าใหม่จากชนบทเข้าเมืองใหญ่ เร่ร่อนเล่นดนตรีตามร้าน กับกีตาร์หนึ่งตัวและความฝันอันยิ่งใหญ่… แม้ตอนนี้ฝันเหล่านั้น ได้พาทั้งสามคนมาจุดสูงสุดของวงการ มีอัลบั้มฮอตฮิตผ่านไปแล้วสี่ชุด… Eagles ผ่านอะไรมามากมายทั้งชื่อเสียง เงินทอง สาวสวย ความรัก เหล้า ยาเสพติด อัตตา… รวมทั้งนับถือและชิงชัง… และมาทำบ้าอะไรกันบนถนนมืดๆ กลางดึกแบบนี้!!!
แล้ว Deacon Frey ก็เอ่ยขึ้นลอยๆ ว่า “นึกโครงเรื่องออกแล้ว”
พล๊อตเรื่องของ Deacon Frey จะพูดถึงการเดินทางของชายคนหนึ่ง เดินทางมืดค่ำเข้า LA แบบที่พวกเขากำลังทำกันอยู่… ความมืดและทางไกล ทำให้ชายคนนั้นต้องแวะพักโรงแรม และได้พบกับเหตุการณ์แปลกประหลาดของโลกวิญญาณในโรงแรมแห่งนั้น… Don Henley ตั้งชื่อเพลงนี้ตรงนั้นเลยว่า… Hotel California
เพจย่อยประวัติ ตีความเพลง Hotel California ไว้เป็นฉากๆ อย่างน่าสนใจ… สำนวนส่วนใหญ่ในบทนี้จึงขอยกสำนวนจากเพจย่อยประวัติมาเล่าต่อ… มีเสริมเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องจังหวะสำนวนการเขียนแบบ Reder เท่านั้นเองครับ… และเครดิตดีงามทั้งมวลยกให้เพจย่อยประวัติด้วยจิตคารวะ ส่วนที่ต้องติเตือนบกพร่อง ชี้แนะ… ว่ากล่าวกับ Reder ได้ทุกช่องทางครับ
ท่อนแรก…
On a dark desert highway, cool wind in my hair.
Warm smell of colitas, rising up through the air.
Up ahead in the distance, I saw a shimmering light.
My head grew heavy and my sight grew dim.
I had to stop for the night.
อัจฉริยภาพในการเล่าเรื่องของ Eagles ที่ทำให้ผู้ฟังเข้าถึงสัมผัสทั้งรูป กลิ่น เสียง และปูพื้นเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติด… คำว่า Colitas ในภาษาสเปนแปลว่า กัญชา… และ My head grew heavy sight grew dim ก็เป็นอาการ high หรือเมาค้างจากกัญชา
ท่อนที่สอง…
There she stood in the doorway.
I heard the mission bell
And I was thinking to myself “This could be heaven or this could be Hell”
Then she lit up a candle and she showed me the way.
There were voices down the corridor, I thought I heard them say.
This could be heaven or this could be Hell สื่อความนัยถึง LA โดยตรง ผู้คนมาที่เมืองนี้เพื่อตามหาความฝัน ตามค่านิยม American Dream… บางคนไปถึงจุดหมายจนที่นี่เหมือนสวรรค์ หรือ Heaven… แต่บางคนติดกับดักของอบายมุข สุรา ยาเสพติด… จึงมีเส้นบางๆ คั่นระหว่าง American Dream และ American Hell
ท่อนที่สาม…
Welcome to the Hotel California.
Such a lovely place, Such a lovely face.
Plenty of room at the Hotel California.
Any time of year, you can find it here.
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่วังวน การันตีว่ามีเพียงพอสำหรับทุกคน ทุกเวลา
ท่อนที่สี่…
Her mind is Tiffany-twisted, she got the Mercedes bends.
She got a lot of pretty, pretty boys, that she calls friends.
How they dance in the courtyard, sweet summer sweat.
Some dance to remember, some dance to forget.
Don Henley นำชีวิตรักกับแฟนเก่าชื่อ Loree Rodkin นักออกแบบจิลเวลรี่ที่เลิกกันไปแล้วมาใส่ไว้ในเพลง… คำว่า Tiffany-twisted มาจากชื่อ Tiffany and Co ซึ่งเป็นบริษัทจิวเวลรี่ชื่อดังที่ Loree Rodkin ทำงานอยู่… Mercedes Bends เป็นการเล่นคำ เปลี่ยนจาก Benz เป็น Bends… เพื่อบอกว่าสาวๆ LA ดูหรูหราแต่บิดเบี้ยว… เพราะพวกเธอจะมีหนุ่มหน้าตาดีมากมายรายล้อมแต่เรียกว่าเพื่อน
ท่อนที่ห้า…
So I called up the Captain, “Please bring me my wine”
He said, “we haven’t had that spirit here since 1969”
And still those voices are calling from far away,
Wake you up in the middle of the night. Just to hear them say.
ท่อนนี้เป็นท่อนที่ลือลั่นที่สุดของ “เพลง Hotel California” เนื้อเพลงเล่าว่า… แขกพักขอไวน์กับกัปตันห้องอาหารในโรงแรม แต่พนักงานกลับตอบว่า We haven’t had that spirit here since 1969 ซึ่งฟังได้ความว่า… เราไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดนั้นมาตั้งแต่ปี 1969 แล้ว… แต่เนื้อเพลงกลับเขียนเป็น Spirit ไม่มี S ต่อท้ายซึ่งมีนัยยะเรื่อง “จิตวิญญาณที่หายไปตั้งแต่ปี 1969” ปีที่สหรัฐอเมริกาไปดวงจันทร์… เพลงดิสโก้ ฮิปปี้ กัญชา และสงครามเวียดนาม ที่กลืนกินจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมระหว่างสีผิว และกระแสรณรงค์ต่อต้านสงคราม… อเมริกากลายเป็นประเทศไร้วิญญาณ ลุ่มหลงอยู่กับอบายมุขไปสิ้น
ท่อนที่หก…
Mirrors on the ceiling, The pink champagne on ice.
And she said, “We are all just prisoners here, of our own device”
And in the master’s chambers, They gathered for the feast.
They stab it with their steely knives, But they just can’t kill the beast.
ฉายภาพสะท้อนจากกระจกบนเพดานเมื่อแหงนมอง… เห็นแชมเปญสีชมพูสุดหรูหราในถังน้ำแข็ง แต่กลับเห็นภาพทุกคนในกระจก เหมือนติดคุกที่ตนสร้างขึ้น… อยู่ในอาณาเขตของ Master หรือค่ายเพลงที่คอยป้อนโน่นนี่ตามกระแสด้วยภาพลวงจนไม่เหลือตัวตนและจุดยืน
ท่อนที่เจ็ด…
Last thing I remember, I was running for the door.
I had to find the passage back to the place I was before.
Relax said the night man, “We are programmed to receive. You can check out any time you like, But you can never leave!’
ท่อนนี้พูดถึงทางออกจากสังคมมายา หรือ American Hell… แต่แล้ว Relax หรือนัยยะด้านสุขสบายในตนเองก็คอยขวางว่า… ตอนนี้ไม่เป็นไรหรอก เรื่องออกจากความสุขสันต์มัวเมาจะทำเมื่อไหร่ก็ได้… แต่ข้อเท็จจริงคือ… ไม่มีใครหลุดหนีออกประตูไปได้
แน่นอนว่านัยยะความหลุ่มหลง ยิ่งยโส และอัตตาของด้านมืดหรือผีร้ายในตน ที่กรอกหูทะลุใจว่า You can check out any time you like, But you can never leave!… ซึ่งหลายคนพูดถึงการเลิกยา เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ เลิกเลว และเชื่อว่าตนเองจะเลิกเรื่องไม่เข้าท่าที่ทำอยู่และรู้อยู่เต็มอกนั้น… เมื่อไหร่ก็ได้… แต่ไม่เคยเลิกได้
เพลงในอัลบั้ม Hotel California หลายเพลงเป็นเพลงเพื่อชีวิตโดยนัยแฝงขั้นเทพ… โดยเฉพาะ “เพลง Hotel California” ที่หลายความเห็นทั่วโลกบอกตรงกันว่า… ถ้าตีความผ่านนัยยะที่เรียบเรียงใส่มาในเนื้อเพลง เทียบกับสังคมวัฒนธรรมและการเมืองของชาติไหน… เป็นต้องได้สะอึกอึ้งไม่ต่างจากคนอเมริกัน
ถึงตรงนี้… ผมหวังว่า Reder Fan ทุกท่านจะไม่ถูกจิตวิญญาณด้านมืดครอบงำจนใช้ชีวิตอยู่ได้แต่กับด้านมืดตลอดเวลา… แต่ก็ไม่กล้าขอให้สว่างตลอดหรอกครับ มืดบ้าง โพล้เพล้บ้าง สว่างๆ เยอะหน่อยบ้างก็พอ
สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ!
อ้างอิง