วิธีการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก มาจากความอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติ… มาจากความกระตือรือร้นผ่านความคิดสร้างสรรค์ ความสนุกสนาน ความเป็นตัวของตัวเอง จินตนาการ ไหวพริบ ความฉลาดทางสังคมและความรักในการเรียนรู้ที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจและส่งเสริม
แนวคิดการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่อิงวิทยาศาสตร์ จึงสำคัญไม่ยิ่งย่อนกว่าวิทยาการด้านจรวดและเดินทางในอวกาศ… ซึ่งผมกำลังพูดถึง การเลี้ยงดูที่ชาญฉลาดขั้นพื้นฐานและการสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอแนะให้ช่วยเด็กๆ พัฒนาทักษะโดยการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ก่อนที่พวกเขาจะไปโรงเรียน… แนวคิดนี้เชื่อว่า พ่อแม่ผู้ปกครองทุกคนเชี่ยวชาญทักษะบางอย่างหรือหลายอย่าง… และแนวคิดนี้เชื่อว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทุกคน “ไม่ได้” เชี่ยวชาญทักษะบางอย่างหรืออีกหลายอย่าง จนทำให้การมอบบุตรหลายไปให้ครูหรือศูนย์อะไรซักอย่าง… กลายเป็นทางออกที่ยอมรับได้ เพื่อช่วยบุตรหลานให้ได้เรียนรู้
ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มีอยู่ว่า… บรรพบุรุษของเราเรียนรู้จากพ่อแม่ป้าลุงและสมาชิกในครอบครัวและชุมชน มาตั้งแต่หลายหมื่นปีก่อน ความสัมพันธ์ในการฝึกหัดและเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมแรง เป็นวิธีที่มนุษย์เรียนรู้ตามธรรมชาติโดยได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ที่มีทักษะมากกว่า อาจเป็นพ่อแม่ เพื่อนบ้าน ช่างฝีมือและเพื่อนหรือคนรู้จัก
การเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมนุษย์มาโดยตลอด… ทั้งจากผ่านการสอนของผู้อาวุโส หรือ Elders… การสอนแบบตัวต่อตัวจับมือทำ หรือ One-to-One Tutorship… การฝึกงาน หรือ Apprenticeships… กิจกรรมสร้างสรรค์ในชุมชุน หรือ Creative Community Activities และสถานการณ์การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย หรือ Small Group Instructional Situations… ผู้ใหญ่ในชุมชนจึงเป็นครูโดยธรรมชาติไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง…

ปี 1996 Hillary Rodham Clinton หรือฮิลลารี คลินตัน เขียนหนังสือชื่อ It Takes a Village: And Other Lessons Children Teach Us นำเสนอวิสัยทัศน์ของเธอต่อประเด็นพัฒนาเด็กในอเมริกา อ้างอิงแนวทาง Children Naturally Learn และ Creative Community Activities โดยมีความต้องการของเด็ก หรือ Child’s Needs เป็นโจทย์ และให้ชุมชนเป็นเจ้าภาพการศึกษา ไม่ใช่โรงเรียน ซึ่งแคมเปญ It Takes a Village ถือว่ามาแรงมากทั้งในอเมริกาและแอฟริกาในปัจจุบัน… แต่การเมืองโจมตีหนังสือเล่มนี้ว่า ถูกเขียนโดยนักเขียนเงา หรือ Ghostwriter ชื่อ Barbara Feinman ทำให้หนังสือถูกกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือสร้างภาพ… จนไม่มีใครใยดีคุณค่าที่นำเสนอไว้ในหนังสือ
ประเด็นการเรียนรู้โดยธรรมชาติของเด็ก บนแนวคิดครอบครัวและชุมชน ถือเป็นเรื่องซับซ้อนในทางปฏิบัติ ทั้งเรื่องเวลา ทรัพยากรและประโยชน์อย่างแท้จริงที่เชื่อมั่นได้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการตามเป้าหมาย… “การสอนสั่ง” รวมทั้งการรวบรวมเด็กจำนวนมากมาสอนสั่ง ฝึก และพัฒนาไปพร้อมกันแบบโรงเรียนจึงเชื่อถือได้มากกว่า… ซึ่งพวกเราและคนยุคเราก็เติบโตและเรียนรู้มาจากระบอบสอนสั่ง และเชื่อมั่นกับโรงเรียนครูอาจารย์ไม่เปลี่ยนแปลง
แต่ความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านการสอน หรือ Pedagogy จากครูไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำลายโครงสร้าง “คอขวดการขนเด็กมารวมกันในโรงเรียน” ที่ไม่มีประสิทธิภาพอีกแล้ว… ทั้งสร้างภาระการเดินทางและการจราจร ไปจนถึงโรคระบาด ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ ล้วนเคยปิดหรือหยุดเพื่อฆ่าเชื้อสารพัดสายพันธ์ มาก่อนโลกจะรู้จัก COVID19 เสียอีก
เมื่อพิจารณาถึงตรงนี้… การหาทางฟื้นฟูการเรียนรู้โดยธรรมชาติของเด็ก… บวกกับเทคโนโลยีการศึกษา… บวกกับการแบ่งปันทรัพยากร… บวกกับระบบตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และบวกกับการประเมินทักษะความรู้มิติต่างๆ… เพื่อย้ายแนวทางการเรียนรู้ไปสู่รูปแบบใหม่ เหมือนที่โรงเรียนเคยดึงเด็กมาจากครอบครัวและชุมชนที่สืบทอดเรียนรู้โดยธรรมชาติของท้องถิ่น… และถึงเวลาที่ครอบครัวและชุมชนจะดึงเด็กๆ กลับสู่การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติอีกครั้ง
การเรียนการสอนแบบผลิตเด็กให้มีความรู้เหมือนโรงงานคัดลำไย… จึงถูกท้าทายครั้งใหญ่อย่างแน่นอนแล้วในศตวรรษนี้… ตอนหน้าผมจะเอาแนวคิดจากหนังสือ Creative Schools: The Grassroots Revolution That’s Transforming Education ของ Sir Ken Robinson มาถอดบทเรียนร่วมกันดูครับ
โปรดติดตาม!
อ้างอิง