How to say no

วิธีตอบว่าไม่… ให้เป็น!

หลายท่านคงเคยเจอกับสถานการณ์ที่แสนจะลำบากใจ จากการร้องขอหรือคำสั่งร้อยแปดพันเก้า ที่ไม่ได้อยากให้หรือทำอะไรให้ตามที่ขอเลยแม้แต่น้อย… การถูกร้องขอที่ใจอยากปฏิเสธเหลือเกินแต่หลายครั้งดันเกิดอาการหัวผงกปากโอเคจนตัวเองซึมเศร้าตั้งแต่นาทีนั้นต่อมาก็มี

หลายกรณีจากการปฏิเสธไม่เป็นในคราวที่ควรจะปฏิเสธ ก็ทำลายชีวิตคนหลายคนมาแล้วมากมาย โดยเฉพาะกรณีหยิบยืมหรือค้ำประกัน ไปจนถึงหลอกใช้และเอาเปรียบสารพัดเท่าที่คนถูกขอเองก็รู้ทั้งรู้ว่า “ซวยแล้ว” แต่หลายคนก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอตรงหน้า… หลายกรณีแม้แต่คำขอในที่ทำงานอย่างช่วยหน่อย… ฝากหน่อย หรือทำแทนหน่อย เมื่อเจอบ่อยๆ ซ้ำๆ จนเยอะเข้า หลายคนก็จิตตกจนเอาคืนไม่ได้ก็มี

ปรากฏการณ์หนังสือ How to แนะนำเทคนิคการปฏิเสธหรือบอกปัดการขอที่ทำลายความสุข จึงเป็นหนังสือขายดีระดับโลกหัวเรื่องหนึ่งทีเดียว… และนั่นแปลว่า ปัญหาความอึดอัดใจของการปฏิเสธ ถือเป็นปัญหาระดับโลกกันเลยทีเดียว

เทคนิคการตอบปฏิเสธการขอที่ทำลายความสุข ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่หาอ่านและเรียนรู้จากคำแนะนำมากมาย… รวมทั้งเคยวางหนังสือแนวนี้เอาไว้บนโต๊ะทำงานให้คนเห็นชัดๆ ก็เคยทดลองทำมาแล้ว… และวันนี้ผมมีเทคนิคเล็กๆ มาแนะนำ สำหรับท่านที่อยากปฏิเสธคนและคำขอที่น่าอึดอัดให้โล่งใจได้บ้าง

  1. ตอบไม่สองครั้งซ้อนกัน… โดยเฉพาะคำเชิญชวนร้องขอที่เรารู้ดีอยู่แล้วว่าไม่อยากทำหรือทำไม่ได้… เช่นถูกชวนไปนั่งดื่มกินทั้งที่เราไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ได้อยากคุยหรือเจอใครในวงสนทนานั้นเป็นพิเศษ… ก็แค่ตอบว่า ไปไม่ได้ ผมไปไม่ได้จริงๆ 
  2. สะท้อนคําว่าไม่ก่อนคำปฏิเสธ… เพื่อให้คนเอ่ยคำเชิญชวนร้องขอ รับทราบว่าเราเข้าใจสิ่งที่ขอแล้ว แต่เราขอปฏิเสธ… เช่นกรณีถูกขอให้ช่วยให้ข้อมูลตามทางเดินในห้างสรรพสินค้า ก็สามารถบอกอย่างสุภาพได้ว่า… ผมรู้ว่าใช้เวลาไม่นาน แต่ผมรีบจริงๆ
  3. อ้างเหตุผลก่อนตอบไม่… คนส่วนใหญ่ยกเหตุผลพอฟังได้มาอ้างก่อนจะตอบปฏิเสธได้อยู่แล้ว ส่วนที่ยากที่สุดคือการจริงใจกับตัวเอง เข้าใจเหตุผล และไม่กังวลเรื่องความสัมพันธ์เกินไป
  4. ปฏิเสธก่อนต่อรองหรือถามกลับ… การปฏิเสธแบบนี้ถือเป็นการแบ่งรับแบ่งสู้และรักษาชั้นเชิงเอาไว้
  5. ปฏิเสธก่อนแสดงความห่วงใย… การปฏิเสธแบบนี้เป็นแนวทางอ่อนโยนที่พยายามรักษาความสัมพันธ์ โดยการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะความคาดหวังที่เราเห็นชัดเจนจากคำร้องขอที่เปิดประเด็นอยู่

ความจริง… การปฏิเสธเป็นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการให้ โดยเฉพาะการปฏิเสธคำร้องขอที่เราให้ไม่ได้และลำบากใจที่จะปฏิเสธ และต้องเมตตาตัวเองเพื่อให้อยู่บนความสัมพันธ์กับผู้ขอ ซึ่งการให้ที่สร้างปัญหาและภาระต่อจิตใจหรือความนึกคิดส่วนตัว ท้ายที่สุดก็จะให้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากการให้ เพราะกลัวการปฏิเสธจะไปทำลายความสัมพันธ์เหมือนกัน

โดยส่วนตัวผมชอบสูตรการปฏิเสธจากหนังสือ The Power of a Positive No ของ William Ury ซึ่งเป็นสูตรการปฏิเสธแบบ Yes – No – Yes… ซึ่งในหนังสือของ William Ury โฟกัสเหตุผลต่างๆ ในประเด็นที่เราอยากปฏิเสธแต่ไม่กล้าปฏิเสธ… โดยเฉพาะ เหตุผลอันหนักแน่นที่เราจะใช้อ้างเพื่อปฏิเสธนั่นเอง… สิ่งแรกที่หนังสือแนะนำจึงให้หา Yes หรือหาเหตุผลดีๆ ให้ตัวเองก่อน เช่น ถ้าเราให้เงินเพื่อนยืมไปรอบนี้ถึงล้มละลายแน่ ซึ่งเหตุผลที่หนักแน่นขั้นนี้นี่เองที่จะทำให้ No ตัวที่สองถูใช้เพื่อปฏิเสธได้อย่างหนักแน่น และยืนยันตามนั้น… และ Yes ตัวสุดท้ายเป็นการหา “การยอมรับ” ให้กับคนขอเพื่อใส่ใจต่อความสัมพันธ์ ซึ่งต้องการเหตุผลที่ถูกปฏิเสธและทางออกอื่นที่เราอาจจะเห็นหรือมีมากกว่าคนขอ… ซึ่งก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปเช่นกัน

ที่สำคัญก็คือ… การไม่กล้าปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นเพราะเราหาเหตุผลที่หนักแน่นมาใช้ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งการมีเหตุผลให้ตัวเองที่ไม่คลุมเครือเท่านั้น ที่สามารถใช้กำหนดท่าทีในการปฏิเสธได้ทั้ง “คำขอและคำสั่ง” ที่เราไม่อยากทำ

ต้องลองใช้ดูครับ!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts