คำศัพท์ใหม่ของวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือ Education Technology หรือ EdTech ซึ่งชัดเจนว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของระบบการศึกษาที่ลำดับความสำคัญได้ถูกเลื่อนให้มาก่อนโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างด้วยอิฐและปูน หรือ Brick and Mortar โดยมีกิจกรรมทางการศึกษาที่เปิดกว้างให้ผู้เรียนได้เข้าถึงชั้นเรียนได้จากทางไกลไปพร้อมๆ กับการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นจะมีความยืดหยุ่นสูง และ ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษากับผู้เรียนทุกกลุ่มได้อย่างเท่าเทียม และ ครบถ้วนเสมอกัน… การเรียนการสอนแบบประสม หรือ Hybrid Education ที่ออกแบบให้ยืดหยุ่นต่อผู้เรียน และ ยืดหยุ่นต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงได้สูงสุดดังกล่าว จึงถูกนิยามด้วยศัพท์คำใหม่ว่า Hybrid and Flexible Education หรือ HyFlex Education
ในทางปฏิบัติ… Hybrid Education หรือ การเรียนการสอนแบบประสมจะเป็นการสอนในชั้นเรียน ไปพร้อมกับการสอนออนไลน์แบบแชร์หน้าจอประกอบคำบรรยาย โดยผู้สอนจะติดตามปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนในชั้นเรียน และ ผู้เรียนออนไลน์เหมือนๆ กัน… การทำ Hybrid Classroom จึงมักจะได้เห็นการใช้ Gridview ในแพลตฟอร์มสอนสดออนไลน์ หรือ Synchronous Teaching Platfrom อย่าง ZOOM… Microsoft Team และ โปรแกรมหรือแพลตฟอร์มแบบเดียวกัน… โดย Gridview จะให้ผู้สอนสังเกตผู้เรียนในระหว่างบรรยายได้ครบไม่ต่างจากการสอนในชั้นเรียนล้วนแต่อย่างใด ซึ่งถ้ามีจำนวนนักเรียนออนไลน์จำนวนมากก็มักจะมีปัญหาในการควบคุมชั้นเรียนและบรรยากาศการสอนได้ไม่ดีนัก… การอัพเกรดชั้นเรียน Synchronous Teaching แบบ Hybrid ให้รองรับ HyFlex จึงเริ่มต้นที่การเพิ่มฮาร์ดแวร์ระบบสำหรับโต้ตอบกับผู้เรียนให้พอเพียง เช่น การเพิ่มจำนวนจอแสดงผลเพื่อให้แสดง Gridview ผู้เรียนออนไลน์ให้ได้ครบทุกคน เพื่อไม่ให้ระบบสุ่มผู้เรียนมาแสดงผลได้เฉพาะบางคน… การเพิ่มฮาร์ดแวร์สำหรับแชร์บทเรียนได้มากกว่ากล้องถ่ายทอดสัญญาณวิดีโอเพียงตัวเดีย กับ การแชร์หน้าจอผู้สอน หรือ ผู้ร่วมสอนเท่านั้น โดยผู้สอนอาจจะพิจารณาใช้กล้อมถ่ายทอดสัญญาณหลายตัว รวมทั้งการใช้ Smart Whiteboard ที่รองรับการแชร์สัญญาณวิดีโอที่จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นผู้สอนเขียนกระดานอย่างชัดเจนเท่ากันหมด เป็นต้น
Dr. David Rhoads ผู้อำนวยการ The Institute for Faculty Development แห่ง Vanguard University ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงการออกแบบการเรียนการสอนของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย Vanguard ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาอีกแห่งหนึ่งที่ปฏิรูปการศึกษาหลังยุคโควิดด้วยแนวทาง HyFlex Education อธิบายว่า… HyFlex Education ไม่ได้น่ากลัวสำหรับผู้สอนที่เชื่อว่าตนทำชั้นเรียน Hybrid Teaching ได้ยังไม่ดี แล้วจะไปทำ HyFlex Teaching ให้ดีได้อย่างไร… เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว HyFlex Teaching ที่ออกแบบมาดีจะทำให้การสอนสดแบบ Synchronous Teaching ราบรื่นกว่ามาก โดยเฉพาะผู้สอนที่ออกแบบการสอนไว้ทั้งแบบ Synchronous และ Asynchronous Teaching พร้อมกลไกการประเมินผลการเรียนที่เชื่อถือได้ และ ยืดหยุ่นต่อนักศึกษา… ซึ่งมีเพียงอย่างเดียวที่ยากคือ “การเตรียมสอนล่วงหน้าอย่างสมบูรณ์” เท่านั้นเอง
HyFlex Teaching และ HyFlex Education ยังเป็นรูปแบบการศึกษาที่ใหม่มาก… แต่กระแสการปรับตัวตั้งแต่ระดับปรัชญาการศึกษา และ แนวโน้มการปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัลได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า… ระบบการศึกษา และ หลักสูตรการศึกษาจะถูกเตรียมทรัพยากรให้รองรับทุกๆ ความเป็นไปได้ที่กิจกรรมการเรียนการสอนสามารถเกิดขึ้นได้ โดยทรัพยากรการศึกษาทั้งหมดจะถูกประสมใช้อย่างยืดหยุ่นให้สอดคล้องกับผู้เรียนและวัตถุประสงค์การเรียน
HyFlex Teaching และ HyFlex Education โดยความเห็นส่วนตัวผมมองว่า… สิ่งที่คนในอุตสาหกรรมการศึกษาคุยกันเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และ แพลตฟอร์ม รวมทั้งการ “ผลักและดัน” ผู้สอนให้ทำชั้นเรียน Hybrid บ้าง… ทำ MOOC บ้าง… ทำคลิปติวบ้าง… ทำ eLearning บ้าง… สอน Zoom บ้าง สอน MS Team บ้าง และอะไรอีกมากที่ผู้สอนยุคนี้ต้องทำอะไรเยอะแยะไปหมด… ซึ่งสุดท้ายแล้วจะถูกกรองและรวบรวมไปเป็นทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับทำ HyFlex Education ในระยะยาว… ซึ่ง HyFlex Education คงชัดเจนเห็นผลไม่ง่ายในเร็ววัน!
References….