Hyper Personalization

Hyper Personalization… ข้อมูลลูกค้าแบบเจาะจงลงลึก

เมื่อใกล้จะถึงปี 2020 เข้ามาทุกวัน ในแวดวงธุรกิจและการตลาดมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลถึงอนาคตอันใกล้ ที่ธุรกิจน้อยใหญ่ต่างก็มองหากลยุทธ์และแนวทาง ที่จะพาธุรกิจของตัวเองฝ่าด่านการแข่งขันเพื่อเข้าไปอยู่ในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้ได้

ปีหน้าจะเป็นปีที่การใช้ข้อมูลระดับ Big Data จะกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจที่ข้ามการมีหรือไม่มีไปถึงใช้อย่างไรแค่ไหน… 

ในทางการตลาด Big Data จะนำสิ่งหนึ่งมาให้นักการตลาดและธุรกิจนั่นก็คือ Hyper Personalization ซึ่งเป็นคำที่แวดวงธุรกิจ… จะได้ยินกันหนาหูในช่วงปลายปีนี้ และจะกลายเป็นคำสามัญที่พูดกันในอนาคต ต่อยอดจากคำว่า Customer Segmentation ที่วันนี้ Hyper Personalization คือขั้นสุดของการทำ Segmentation เพื่อจัดกลุ่มและแยกประเภทของลูกค้า ที่ภาคธุรกิจนับจากนี้เป็นต้นไป จะต้องละเอียด ลึกซึ้ง เข้าถึง เข้าใจอย่างแท้จริง

Big Data Analytics Process

แม้ที่ผ่านมาความสำเร็จทั้งหมดของการทำการตลาดโดยนักการตลาดส่วนใหญ่ จะทำตลาดผ่าน Customer Segmentation ในรูปแบบ Demographics เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ความสนใจ… จนประสบความสำเร็จดีอยู่แล้ว

แต่การทำ Customer Segmentation แม้จะทำในรูปแบบ Micro หรือ Nano Segmentation ก็ตาม แต่ลูกค้าที่อยู่ในแต่ละ Segmentation ยังมีความต้องการที่แตกต่างกันในรายละเอียดอีกมาก… ซึ่งรายละเอียดตรงนี้แหละที่เป็นได้ทั้งจุดอ่อนและโอกาสอยู่ในที่เดียวกัน

ตัวอย่าง Realtime Analytics Dashboard

คำถามคือ… ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจลูกค้าทุกคนและสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจงในระดับ Individual ได้

อะไรคือ Hyper Personalization 

Hyper-Personalization คือ การนำ Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลประเภท Real-Time ที่มีความสดใหม่ และ เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน มาใช้ในการคาดเดาความต้องการของผู้บริโภคแทนการใช้ประวัติการสั่งซื้อสินค้าในอดีตของผู้บริโภค (Personalization) หรือ การให้ผู้บริโภคระบุความต้องการของสินค้านั้น ๆ ด้วยตนเอง (Customization)

Hyper-Personalization เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่จะเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบการทำกำไรในธุรกิจหลายกลุ่ม อาทิเช่น ธุรกิจการเงินการธนาคาร ธุรกิจโลจิสติกส์ รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ผ่านการใช้ Big Data ในการยกระดับการให้บริการของธุรกิจ การเข้าถึงฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ใหญ่ขึ้น ตลอดจนการสร้าง Brand Loyalty ให้แก่ฐานลูกค้ากลุ่มดั้งเดิม   

ข้อจำกัดของ Hyper Personalization 

Hyper-Personalization มีข้อจำกัดบางประการในเชิงปฏิบัติ เช่น การจัดการด้านคุณภาพของข้อมูล การขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง Big Data หรือประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้จำต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ดังนั้น Hyper-Personalization จึงนับเป็นเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสแต่มาพร้อมกับความท้าทายของภาคธุรกิจอย่างมาก

โดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลที่กลางปี 2563 ก็จะมีการใช้กฏหมายดูแลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดกว่าที่ผ่านมา ซึ่งการเก็บข้อมูลดิบโดยตรงอาจจะอ่อนไหวในหลายๆ ประเด็นซึ่งผมเชื่อว่า น่าจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการสะสม Big Data ได้มากทีเดียว… ส่วนทางออกที่มีการพูดคุยกันมาระยะหนึ่งของฝั่ง Software Developer ก็มีอยู่หลายแนวทาง ที่หลายทีมลงงานระดับ Sandbox เตรียมไว้ตอบคำถามลูกค้ากันคึกคักแล้ว… ท่านที่สนใจก็ติดต่อพูดคุยกับโปรแกรมเมอร์ใกล้ตัวท่าน… หรือ Digital Marketing Agency ของท่านเลยครับ!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts