Hyperautomation Strategy

Hyperautomation Strategy… กลยุทธ์โลกอนาคตที่ต้องเร่งใช้ให้ทันปัจจุบัน #SaturdayStrategy

ในบรรดาที่ปรึกษาทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลกใช้บริการและเชื่อถือนั้น ชื่อของ Gartner ซึ่งมีคำปรึกษาที่ผ่านการทำวิจัย และ การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นเข้มข้นให้ลูกค้าทุกรายที่เข้าใจการขับเคลื่อนกลยุทธ์และการวางแผนด้วยข้อมูลเชิงลึก ซึ่งลูกค้าของ Gartner ส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการข้อมูลและคำปรึกษาในภารกิจสำคัญๆ เพื่อความสำเร็จที่หวังผลเป็นส่วนใหญ่ เพราะค่าบริการที่ต้องจ่าย Gartner จะค่อนข้างสูง… แต่ก็คงไม่ถือว่าแพงเกินไป หากต้องทำงานในระดับเดียวกับที่ทีมผู้เชี่ยวชาญใน Gartner ทำ… ไม่งั้นคงไม่มีลูกค้ากระจายอยู่ทั่วโลกนับร้อยประเทศอย่างในปัจจุบัน แถม Gartner เองยังเป็นธุรกิจในดัชนี S&P 500 ด้วย

ในแต่ละปี… การพยากรณ์แนวโน้มต่างๆ จาก Gartner จึงเป็นคำทำนายที่นักวิเคราะห์เชื่อถือที่สุด แม้ข้อมูลทำนองนี้จะเป็นข้อมูลเชิงความคิดเห็นก็ตาม… ในแต่ละปีจึงมีนักวิเคราะห์และที่ปรึกษาธุรกิจทั่วโลกเฝ้ารอข้อมูลจาก Gartner เหมือนกันหมด โดยเฉพาะข้อมูล Hype Cycle ชุดต่างๆ ที่ต้องใช้อ้างอิง

ตัวอย่าง Infographic… The Hype Cycle for Emerging Technologies 2021 โดย Gartner Inc. | Credit: Gartner.com

วันนี้เลยเอาข้อมูลบางส่วนที่ผมสนใจจาก Gartner มาแบ่งปันครับ โดยอ้างอิงบทความของ Gartner เรื่อง Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2021 และขออนุญาตเจาะเข้าประเด็น Hyperautomation หรือ Hyper Automation ซึ่งเป็น Trend ที่ 10 ในข้อมูลชุดนั้น และผมสนใจมาตั้งแต่ปี 2020 โดยได้แรงบันดาลใจจาก Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020 ของปีที่แล้ว ซึ่งบรรจุข้อมูล Hyperautomation เอาไว้ในรายการกลยุทธ์ที่มาแรง และ มาแน่ๆ เอาไว้ด้วย… 

Hyperautomation เป็นวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Artificial Intelligence… Machine Learning… Internet-of-Thing และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน  เพื่อเพิ่มกระบวนการทำงานอัตโนมัติอันซับซ้อน เต็มไปด้วยข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจไม่ผิดพลาด ล่าช้าและหยุดรอโดยไม่จำเป็น

ในทางเทคนิค… การเปิดรับ Hyperautomation เข้ามาใช้ หรือ มาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรถือว่าเป็นแก่นของการ “ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์องค์กร หรือ Organizational Transformation” ในระดับ “ยกเครื่อง หรือ นับหนึ่งกันใหม่” เป็นส่วนใหญ่ เพราะในทางปฏิบัติ… การปรับไป Automation หรือ Hyperautomation เพียงบางส่วนหรือบางฝ่ายในองค์กรก็จะเกิดคอขวดในการจัดการจนส่วนที่เปลี่ยนไป Automation ไร้ประสิทธิภาพอยู่ดี… การปรับเปลี่ยนองค์กรไปขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ จึงไม่ง่ายในทางปฏิบัติสำหรับหลายๆ องค์กรที่ “คน” ยังไม่พร้อมจะหลีกทางให้ข้อมูลและกลไกอัตโนมัติ

ส่วนองค์กรที่เตรียมพร้อมเพื่อ Upgrade ไปใช้ Hyperautomation… ส่วนใหญ่จึงต้องเตรียมความพร้อมโดยการปรับ Business Process ไปใช้ Data และ Robotic Process Automation หรือ RPA กันก่อน และต้องไม่ล้มเหลวด้วย… หลังจากนั้นจึงจะเป็นคิวของ Bot และ IoT… Artificial Intelligence หรือ AI… Machine Learning หรือ ML… Deep Learning หรือ DL… Artificial Neural Networks หรือ ANN… Natural Language Processing หรือ NLP… และ Automated Speech Recognition หรือ ASR เข้ามาเสริมแรง

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… องค์กรส่วนใหญ่ที่สามารถ WFH หรือ Work From Home ได้ในวิกฤตโควิดที่ผ่านมา ผู้บริหารที่สนใจทำ Organizational Transformation/Digital Transformation อยู่เดิมคงไม่พลาดที่จะออกแบบโครงสร้างองค์กร หรือ ขั้นตอนธุรกิจใหม่ และลุยเปลี่ยนนั่นนี่ในจังหวะนี้กันหมด… เพราะเป็นจังหวะที่เห็นช่องว่างการเอาเทคโนโลยีมาช่วยคนทำงานให้ดีกว่าเดิมได้ รวมทั้งเห็นช่องว่างที่จะเอาเทคโนโลยีมาแทนคนในหลายๆ กลไกได้… ซึ่งคงไม่ต้องชี้แจงรายละเอียดกันแล้วว่ามันจะดีกับธุรกิจและองค์กรอย่างไรแค่ไหน

กลยุทธ์องค์กรอัตโนมัติ หรือ Hyperautomation Strategy ในชั่วโมงนี้จึงสำคัญและเร่งด่วนมากสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ภายนอกวุ่นวายภายในสับสน… และคนยังเยอะเกินงานที่ไม่ต้องใช้คนทำก็ได้ แต่ยังใช้คนทำอยู่

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts