การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ที่ยากกว่าถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ก็คือการหลีก และ เลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับทุกสิ่งและทุกผู้ทุกคน… ทั้งที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ และ ที่ถูกเปลี่ยนแปลงเพราะเกิดการขับเคลื่อนผลักดันจากเงื่อนไขบางอย่างที่ส่งผลถึงการเปลี่ยนแปลงโดยตรง และ ที่เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยผลกระทบ
ในทางการจัดการ… การเปลี่ยนแปลงเป็น “ดัชนีจริง” ที่บ่งชี้ความสำเร็จ และ ล้มเหลวทางการจัดการเสมอ… โดยการเปลี่ยนแปลงภายใต้การจัดการที่เกิดเป็นผลประโยชน์อันพึงประสงค์ก็จะถูกเรียกว่าความสำเร็จ… แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงภายใต้การจัดการทำให้เกิดผลกระทบด้านลบ และหรือ สูญเสียผลประโยชน์ที่คาดหวัง หรือ พึงจะได้ ก็จะถูกเรียกว่าความล้มเหลว… แต่ไม่ว่าจะสำเร็จ หรือ ล้มเหลวก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอีกคำรพหนึ่งเสมอ… ความสำเร็จ และ ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่จุดสิ้นสุดของอะไรทั้งนั้น เพราะความสำเร็จและล้มเหลวในแต่ละครั้งเป็นเพียง “สัญญาณของการเปลี่ยนแปลง” ที่จะตามมาหลังจากนั้น… เท่านั้นเอง
ในทางการจัดการ… การรับรู้และตระหนักอย่างลึกซึ้งถึงสถานการณ์ก่อน และ หลังการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำการจัดการ และ ทีมจะต้องตระหนักถึงลลัพธ์ และ ผลกระทบที่จะตามๆ กันมาอย่างแน่นอน ดั่งคำกล่าวที่ว่า… ถ้าอยากรู้อดีต ก็ให้มองสภาพปัจจุบัน และ หากอยากรู้อนาคต ก็จงดูที่การกระทำในปัจจุบัน…
อย่างไรก็ตาม… การเปลี่ยนแปลงภายใต้การจัดการโดยทั่วไปมักจะเกิดผลลัพท์ และหรือ ผลกระทบที่มีเหตุปัจจัยมากจากตัวแปรการจัดการเป็นหลัก… เพราะธรรมชาติของการจัดการก็คือการพยายามควบคุมการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย…
ประเด็นก็คือ… ศูนย์กลางการควบคุมความเปลี่ยนแปลงภายใต้การจัดการทุกกรณีจะอยู่ที่ผู้นำสูงสุด ซึ่งถ้าผู้นำสูงสุดในการจัดการไม่เป็นโรค “CEO Disease หรือ โรคนิสัยเสียของซีอีโอ” ที่ชี้ขาดความป่วยผ่านความสำเร็จ และ ล้มเหลวที่มาจากอัตตา หรือ Ego… ซึ่งก็มีทั้งที่เป็น Healthy Ego หรือ อัตตาที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ออกมาดีกับตัวเองภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ตัวเองมีดี” และ Unhealthy Ego หรือ อัตตาที่ทำให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากความเชื่อมั่นที่บิดเบือนว่า “ตัวเองมีดีกว่าคนอื่น”
การเป็นเจ้าของ Unhealthy Ego นี่เองที่ทำให้ภาวะผู้นำของคนเก่งๆ มากมายมีท่าทีต่อ “ข้อเท็จจริง” ไปในทางปิดกั้น หรือแม้แต่ “ต่อต้านความจริง” ที่พิสูจน์ได้ตรงหน้า และ ทำให้คนที่มี Unhealthy Ego ขาด “ความตระหนักอย่างลึกซึ้ง หรือ HyperAwareness” อันเป็นคุณสมบัติการคิดไตร่ตรองบนข้อเท็จจริงอย่างลึกซึ้งครบถ้วนทุกมิติ… ซึ่งผู้นำต้องใช้ HyperAwareness เพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงผ่านการจัดการภายใต้การกำกับดูแลให้เกิดผลลัพธ์อันพึงประสงค์ตามเป้าหมายทุกกรณี
HyperAwareness หรือ ความตระหนักอย่างลึกซึ้งนี่เองที่เป็นการตั้งต้นเพื่อ “กระทำ” บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน… ที่สามารถทำนายอนาคตได้ไม่ยาก!
References…