Astronaut Plan

Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน

ผู้เรียนหรือนักเรียนที่มีเป้าหมายชัดเจนว่า ต้องเรียนรู้ฝึกฝนอะไรอย่างไร เพื่อให้ตนเองประสบความสำเร็จอย่างไรนั้น ถือเป็นผู้เรียนกลุ่มใหญ่ที่มีการรับรู้ที่ชัดเจนต่อเป้าหมายของตน และเข้าใจความสำคัญของการเรียน การมาโรงเรียนและการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนต่างๆ ที่มีอยู่

Steve Oakes และ Martin Griffin ผู้เขียนหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ได้ทำการสำรวจนักเรียนจำนวนหนึ่ง ที่เข้าใจเป้าหมายของตนเองและรู้จักวางแผนการเรียนรู้ฝึกฝนให้ตนเอง รวมทั้งสามารถระบุอุปสรรคปัญหาและวิธีแก้ไขข้ามผ่าน ที่เรียนรู้และตระเตรียมเอาไว้ในแผนอย่างดี เช่น รู้ว่าตนควรจะเลือกแผนการเรียนที่เน้นวิชาการสายวิทยาศาสตร์และคำนวณ หรือควรจะเลือกเรียนทักษะวิชาการสายสังคมวิทยา หรือไปเรียนฝึกฝนทักษะอาชีพโดยตรง… และรู้ว่าตนอ่อนสาขาวิทยาการไหน และเรียนรู้เก่งกาจเข้าขั้นมีพรสวรรค์กับแนวทางรูปแบบการเรียนรู้วิทยาการด้านไหน… แต่แผนการส่วนใหญ่ที่วาดวางไว้มักจะไม่ได้ดำเนินการตามนั้น “เป็นส่วนใหญ” ซึ่งแปลว่ามีเพียงส่วนน้อยที่ประสบความสำเร็จ และ “เพียงส่วนน้อยที่ได้ทำและสำเร็จ” จึงน้อยเกินไปที่จะเติมเต็มความสำเร็จโดยรวม

กรณีแผนนิ่งๆ ที่คิดได้ออกแบบไว้แต่ไม่ทำ… คงไม่ได้มีแต่เด็กๆ หรือนักเรียนหรอกที่คิดออกบอกได้แต่ไม่ลงมือทำตามแผน และนักจิตวิทยาทุกสถาบันและความเชื่อบอกเหมือนกันหมดว่า… ถ้ามนุษย์ไม่เข้าใจเหตุผลที่จะทำ ก็จะไม่มีมนุษย์คนไหนทำเรื่องที่ตนเองไม่เข้าใจเหตุผลที่ต้องทำหรอก

ในหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin จึงแนะนำ How 3 แนวทางไว้เป็นเครื่องมือสำคัญเอาไว้ระบุเหตุผล ให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงขั้น “พากเพียร หรือ Effort” ต่อแผนและเป้าหมายตนเอง… ซึ่งมิติของการตั้งคำถามจะตามหาแนวทางการผลักดันเป้าหมายตามแผน “ถูกทำจนประสบความสำเร็จ” 

  1. How am I going to revise/work?… ฉันจะปรับแก้และดำเนินการได้อย่างไร?
  2. How long am I going to revise/work for?… ฉันควรจะใช้เวลาหาทางปรับแก้และดำเนินการแค่ไหนอย่างไร?
  3. How will I know if I’ve made progress?… ฉันจะรู้และติดตามความคืบหน้าต่อเนื่องได้อย่างไร?

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… แผนการศึกษาของนักเรียนและผู้ปกครองมีอยู่จริงกับนักเรียนทุกคน ซึ่งแผนชีวิตของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีอยู่ จะมีลักษณะเฉพาะส่วนตัวมากกว่าที่จะเหมือนๆ กันจนสามารถออกแบบระบบการศึกษาที่มีเพียงตัวเลือกหยาบๆ ให้นักเรียนและผู้ปกครองเลือก… แถมซ้ำ “ระบอบการศึกษา” ยังไม่ได้สนใจแผนและความต้องการของนักเรียนแม้แต่น้อย จนเราเห็นภาพ “การติวและเรียนพิเศษ” เพิ่มเติมมากมาย ที่แม้แต่ผู้มีอำนาจในวงการศึกษาก็ได้แต่มองดูตาปริบๆ เพราะไม่รู้จะแก้ไขยังไง… ในขณะที่นักเรียนและผู้ปกครองเองก็ได้แต่กัดฟันเพียรพยายาม เอาทรัพยากรที่เหลือจากให้โรงเรียนไปเกือบไม่เหลือ ทั้งเวลาและเงินทองไป “พากเพียร” กับแผนการศึกษาส่วนตัว ด้วยตัวเองให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

แผนการศึกษาของนักเรียนและผู้เรียนไม่ใช่ของใหม่ หรือต้องค้นลึกเสาะหาจากไหนเลยในชีวิตจริง เพียงแต่สถาบันและครูอาจารย์ในระบบการศึกษา นำ “แผนการศึกษาของผู้เรียน” มาช่วยพวกเขาผลักดันผ่านระบบและช่องทางที่ไม่ต้องใช้ความพยายามมากเกินไป… ซึ่งผมเชื่อมานานว่า ระบบการศึกษาที่ต้องปฏิรูป ควรถูกปรับให้สนองตอบ “แผนการศึกษาที่เป็นของผู้เรียน” ได้อย่างยืดยุ่นหลากหลาย ซึ่งไม่ต้องใช้อาคารเรียนทาสีประหลาดๆ เพื่อหวังว่าจะกระตุ้นสมอง หรือหางบซื้อคอมพิวเตอร์หรือแท๊บเล็ทมาแจกใช้ให้งงเปล่าๆ

และอย่าลืมหา How ของระบบการศึกษาที่ต้องสนับสนุน “แผนการศึกษา” ของนักเรียนให้ถึงขีดที่จะต้องปฏิรูปก่อนด้วยน๊ะครับ… เพื่อไม่ให้จุดยืนการปฏิรูปถูกใครย้ายจุดเมื่อไหรอย่างไรก็ได้


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
  15. Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
  16. Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
  17. Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts