Smart home automation: remote controlling house temperature, Fahrenheit degrees

Indoor Air Quality… คุณภาพอากาศภายในอาคารบ้านเรือน #FridaysForFuture

ปลายฝนต้นหนาวช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งฤดูมรสุมฝนตกน้ำท่วมกำลังจะผ่านไป ในขณะที่ต้นไม้ยอดหญ้าทั้งหลายที่แข่งกันผลิใบแทงยอดเติบโตรับแดดรับฝน ก็จะเข้าสู่วงจรทิ้งใบทิ้งเมล็ดเข้าสู่วงจรคลายน้ำน้อยในฤดูใบไม้ร่วงซึ่งลมหนาวที่ตามมาก็จะช่วยเขย่าให้ใบไม้หมดอายุร่วงหล่น และ ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ลมพาไปได้

สำหรับพื้นที่ร้อนชื้นอย่างภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย… อีกไม่นานจากนี้ที่ความชื้นจะหมดไปจากผืนป่า พร้อมปริมาณหญ้าแห้งและใบไม้เก่ามากมายก็จะกลายเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟป่า วนกลับมาสร้างปัญหาคุณภาพอากาศอีกครั้ง ในขณะที่ความหนาวเย็นจากทิศเหนือที่แผ่ปกคลุมลงมาถึงตามฤดูกาล ก็จะทำให้บางวันเกิด Temperature Inversion เพราะชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิสลับร้อนเย็นเป็นหลายชั้น ซึ่งจะทำให้ควันทุกชนิดบนโลกลอยม้วนอยู่ใกล้ๆ ชั้นผิวพื้น… กลายเป็นมลพิษทางอากาศแผ่ขยายพื้นที่เป็นวงกว้าง รบกวนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตกลางแจ้งอย่างชัดเจน ในขณะที่การใช้ชีวิตในอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ก็ไม่อาจรอดพ้นหมอกพิษและควันร้ายในฤดูนี้เช่นกัน

ลมหายใจของพวกเราในวันนี้จึงปลอดภัยน้อย ทั้งเชื้อโรคที่สามารถติดต่อผ่านลมหายใจและคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่แต่แก้ไขอะไรบนเวิ้งฟ้าไม่ได้… นอกจากจะหันมาปรับปรุงอาการบ้านเรือนและที่อยู่อาศัยที่แต่เดิมเพียงคุ้มแดดคุ้มฝนก็เพียงพอ… แต่ตอนนี้ต้องเพิ่มคุ้มฝุ่น หรือ คุมครองจากฝุ่นละอองและควันพิษเข้าไปด้วย ประเด็น IAQ หรือ Indoor Air Quality หรือ คุณภาพอากาศภายในอาคารจึงเป็นวาระสำคัญที่พูดถึงกันมากขึ้นในทุกระดับ

ในขณะที่ผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในประเด็น “คุณภาพอากาศภายในอาคาร” ระบุว่า อาคารกว่า 30% ทั่วโลก มีปัญหาด้านคุณภาพอากาศ และ อาจมีปริมาณสารมลพิษสูงกว่าภายนอกอาคารถึง 100 เท่า ในบางสถานที่ มลพิษดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลากหลายแหล่งกําเนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจากอากาศภายนอกที่มีการรั่วไหลเข้าสู่ภายในอาคาร หรือ เกิดจากกิจกรรมของผู้ใช้อาคารเอง

ประเด็นก็คือ… คุณภาพอากาศภายในอาคารมีผลต่อสุขภาพและความสุขสบายของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่า… อาคารหรือที่อยู่อาศัยที่โล่งโปร่งและอากาศถ่ายเทได้ดี ก็จะดีกับคนอยู่อาศัยและใช้พื้นที่ แต่โลกในบางช่วงเวลาที่อากาศภายนอกปนเปื้อนพิษร้าย ถึงขั้นพาความตายมาถึงประตูหน้าต่างบ้านได้ อาคารหรือที่อยู่อาศัยก็จำเป็นต้องใช้หน้าต่างและประตูแบบปิดเป็นปกติ และต้องพึ่งเทคโนโลยีการปรับอากาศ ฟอกอากาศ หรือแม้แต่เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคารเข้ามาใช้

ทำให้การออกแบบอาคารและที่อยู่อาศัยสมัยใหม่ในระดับ Smart Building และ Smart Home ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ IoT เพื่อสร้างฟังก์ชั่นที่เป็นมิตรต่อการอยู่อาศัย มีอุปกรณ์และฟังก์ชั่นเกี่ยวกับคุณภาพอากาศสำหรับตรวจวัดและรายงานข้อมูลที่เชื่อถือได้ร่วมด้วย

ขอไม่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับ IoT-Based Indoor Air Quality และ Smart HVAC ซึ่งเป็นระบบและงานออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารในบทความตอนนี้ครับ… มันจะยาวจนจบไม่ลง!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts