Infectious Waste

สถานการณ์ขยะติดเชื้อ #FridaysForFuture

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีรายงานสถานการณ์ขยะปนเปื้อนเชื้อจากสถานพยาบาลทั่วประเทศว่า… แนวโน้มการเกิดมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556-2559 โดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม… โดยคาดการเพิ่มเติมว่า ในปี พ.ศ. 2560 มีการคาดการณ์ปริมาณการเกิดมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งสิ้น 57,954.0 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 2308 ตัน จากปริมาณมูลฝอยติดเชื้อปี พ.ศ. 2559 ที่ 55,646.2 ตัน 

ที่มา: ฐานข้อมูลเพื่อการรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
อ้างอิงข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2561

มูลฝอยติดเชื้อเกิดจากโรงพยาบาลรัฐ 10,856 แห่ง โรงพยาบาลเอกชน 357 แห่ง คลินิกเอกชน 11,930 แห่ง สถานพยาบาลสัตว์ 2,522 แห่ง และห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย 1,198 แห่ง รวม 26,863 แห่ง ซึ่งการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสามารถดำเนินการได้ทั้งการจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการ และสถานพยาบาลกำจัดเอง ณ แหล่งกำเนิด โดยสามารถกำจัดได้ 51,300 ตัน คิดเป็น ร้อยละ 88.52 ทั้งนี้ วิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ใช้กันในปัจจุบันมากที่สุดคือ การเผา

และสรุปว่า… แนวโน้มขยะปนเปื้อนติดเชื้อสูงขึ้น แต่กำจัดได้ไม่หมด และข้อมูล Update สุดคือย้อนหลังกลับไปสามปีที่แล้ว และไม่มีอะไรมากกว่านี้… และผมขอข้ามที่จะพูดถึงข้อมูลชุดนี้ไปเลย โดยไม่พูดถึงอีก… แค่ยกตัวเลขเป็นทางการจากทางราชการมาให้ทุกท่านเห็น… เท่านั้น

ประเด็นคือ… ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรู้ดีว่า ขยะปนเปื้อนจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย คลินิก ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชนจำนวนมากกว่า 26,863 แห่งทั่วประเทศ… ผลิตของเสียทั้งที่เป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยติดเชื้อในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก มูลฝอยจากสถานพยาบาลเหล่านี้จัดเป็นของเสียอันตราย เนื่องจากมีทั้งมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อโรค และยังมีของเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ยาเสื่อมสภาพ สารเคมีอันตราย ของมีคม ซากสัตว์ทดลองและอื่นๆ อีกมาก… โดยที่สถานพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการเก็บรวบรวมและกำจัดอย่างเหมาะสม… โดยเฉพาะ มูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลส่วนหนึ่ง ถูกทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมปะปนร่วมกับมูลฝอยชุมชนอีกด้วย

การดำเนินการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ สถานพยาบาลจะใช้บริการเก็บขนของกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสถานพยาบาลบางแห่งที่มีเตาเผาและดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อแยกจากมูลฝอยทั่วไป โดยได้จัดให้มีรถยนต์แบบพิเศษสำหรับเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลต่างๆ เพื่อนำไปกำจัดทำลายโดยการเผาในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่โรงงานกำจัดมูลฝอยอ่อนนุช รถยนต์เก็บขนมูลฝอยติดเชื้อเป็นรถที่มีตู้บรรทุกซึ่งสามารถปรับอุณหภูมิได้ประมาณ 10 องศาเชลเซียส…ในปี พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานครได้ว่าจ้างเอกชนเข้ามาลงทุนและดำเนินการให้บริการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อสามารถให้บริการเก็บขนมูลฝอยจากสถานพยาบาล และขยายการให้บริการแก่สถานพยาบาลขนาดเล็กและคลีนิคได้ครอบคลุมมากขึ้น

ส่วนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานพยาบาลในส่วนภูมิภาค ส่วนใหญ่ให้เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้เข้ามาดำเนินการเก็บและนำไปกำจัดร่วมกับขยะมูลฝอยชุมชน ที่สถานกำจัดของเทศบาลหรือองค์การบริการส่วนจังหวัด… ยกเว้นสถานพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณ ที่มีเตาเผาประจำสถานพยาบาล… แต่เตาเผาส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเผามูลฝอยติดเชื้อน้อยกว่า 200 กิโลกรับต่อชั่วโมง ซึ่งตัวเลขที่ชัดเจนเกี่ยวกับขยะมูลฝอยติดเชื้อและปนเปื้อนเหล่านี้ ไม่มีตัวเลขและหลักฐานที่สืบค้นได้ชัดเจนทั้งปริมาณขยะ จำนวนเตาเผาและความสามารถในการจัดการ

ความน่ากังวลก็คือ… ขยะจากสถานพยาบาลเหล่านี้ ยังมีหลายส่วนที่เชื่อได้ว่า… ปนอยู่กับขยะมูลฝอยจากชุมชนที่ตกค้างตามบ่อขยะทั่วประเทศ… 

ผมคิดว่า… แค่คิดก็น่าขนลุกได้ไม่น้อยแล้วในวันที่ความสะอาดเป็นเรื่องใหญ่ขนาดนี้!!!… แต่ที่น่าขนลุกกว่าคือข้อมูลที่เผยแพร่ออกมา ดูไม่น่าเชื่อถือและมีประเด็นน่าสงสัยมากมาย ที่ข้อมูลจากหลายแหล่ง ไม่มีตัวเลขตรงกันหรือใกล้เคียงเลยก็มี

ข้อมูลจาก WHO หรือ World Health Organization ระบุว่า… ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับขยะจากสถานพยาบาลพอสรุปได้ว่า

  • ปริมาณขยะทั้งหมดที่เกิดจากกิจกรรมด้านสาธารณสุขประมาณ 85% เป็นขยะทั่วไปและไม่อันตราย
  • ส่วนที่เหลืออีก 15% ถือเป็นวัสดุอันตรายที่อาจติดเชื้อเป็นพิษหรือมีกัมมันตภาพรังสี
  • ทุกๆ ปีมีการฉีดยาประมาณ 16 พันล้านครั้งทั่วโลก แต่ยาและเข็มฉีดยาทั้งหมดไม่ได้ถูกกำจัดอย่างเหมาะสมหลังจากนั้น
  • การเผาแบบเปิดและเผาของเสียจากระบบสาธารณสุข สามารถทำให้เกิดการปล่อยไดออกซิน, ฟูแรน, และฝุ่นขนาดต่างๆ

 บทสรุปและข้อมูลไม่ได้วังเวงแค่ระดับจังหวัดหรือระดับชาติหรอกครับ… ระดับโลกอย่าง WHO ก็วังเวงไม่ต่างกัน…

#FridaysForFuture ครับ!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *