ในทุกโครงสร้างองค์กรหรือสถาบันตั้งแต่ครอบครัวไปจนถึงองค์การนานาชาติ ต่างก็มีตัวตนผู้นำอย่างชัดเจน อยู่ในโครงสร้าง “การตัดสินใจ” เพื่อนำการทำภาระกิจที่มีเป้าหมายเล็กๆ อย่างการทำมาหากินเลี้ยงปากท้องครอบครัว ไปจนถึง ภาระกิจช่วยผู้อพยพหนีภัยสงครามหรือความหิวโหยอดอยาก ซึ่งการนำเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานเรื่องอาหาร เรื่องที่อยู่อาศัย ยาและเกิดแก่เจ็บตาย อาจจะไม่มีอะไรซับซ้อนในทิศทางและความร่วมมือระดับสถาบันหรือองค์กร
แต่หากเป็นการนำเพื่อสร้างสรรค์โอกาส ซึ่งอยู่เหนือความจำเป็นพื้นฐานแบบ “ได้ก็ดี ไม่มีก็ไม่ตาย” นั้น… การนำของผู้นำส่วนใหญ่จะถูกท้าทายจากความคิดและทัศนคติแตกต่าง ที่สมาชิกคนอื่นๆ ในสถาบันหรือองค์กรมีทางเลือกอื่นให้คิดและเชื่อต่างออกไปจากแนวทางของผู้นำ
กฏการนำที่ตราขึ้นใช้ในสถาบันและองค์กร ตั้งแต่ระดับแนวทาง หรือ Guideline ไปจนถึงระเบียบกฏหมายและรัฐธรรมนูญ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิด “อิทธิพลโดยปริยายต่อการตัดสินใจจะคิดและเชื่อ” ของกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกของสถาบันหรือองค์กรเหล่านั้น… แต่หลายกรณีเราต่างก็ทราบดีว่า การตัดสินใจของคนภายใต้กฏกติกาหรือแนวทางที่ถูกแนะนำให้เลือกคิดและเชื่อได้อย่างจำกัด ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อ “สร้างสรรค์โอกาสใหม่ๆ” ได้ค่อนข้างยาก… เพราะเราต่างก็รู้ดีว่า การจะสร้างสรรค์สิ่งใดขึ้นจนถึงขั้นสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนนั้น ต้องการการเปลี่ยนแปลงอะไๆ จากเดิมไม่มากก็น้อย… โดยเฉพาะความคิดและความเชื่อของผู้ที่เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องเปลี่ยนก่อน… ย้ำอีกทีว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนก่อน
คำถามก็คือ… ในฐานะผู้นำที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงดังว่านั้นเพื่ออะไรก็ตามแต่ ผู้นำควรจะดำเนินการหรือเริ่มดำเนินการจากจุดไหนไปถึงไหนอย่างไร?
Ed Chacksfield โค๊ชสอนทักษะผู้นำระดับอาวุโสจาก Inspirational Development เสนอให้ผู้นำวางตัวให้เป็น Influencer หรือผู้มีอิทธิพลโน้มน้าวคนอื่นๆ ในองค์กรของท่านก่อน… ซึ่งการเป็น Influencer ในที่นี้จะช่วยให้ไอเดียหรือแนวคิดจากผู้นำ ได้รับการยอมรับและดำเนินการต่อจากสมาชิกในองค์กรได้ง่ายไม่แตกต่างจากการสั่งการ
ประเด็นก็คือ… การถูก Influence มีข้อดีในประเด็นความคิดและความเชื่อของผู้ติดตามการนำทั้งหมด จะคิดและเชื่อในชุดความคิดการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่หรือทั้งหมด ในแบบเดียวกับผู้นำที่เป็น Influencer ของพวกเขา
Ed Chacksfield มีคำแนะนำในการสร้างภาวะผู้นำให้ถึงขั้นการเป็น Influencer ในองค์กรเอาไว้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1. Cultivate Your Personal Brand หรือ ปลูกฝังแบรนด์ส่วนบุคคลให้ตนเอง
การสร้างภาพลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ของผู้นำ ให้เป็นที่เชื่อถือได้ทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ มีทั้งความประพฤติ ทักษะและองค์ความรู้ที่เชื่อมั่นวางใจได้สำหรับทุกคน เสมอต้นเสมอปลายและเป็นต้นแบบสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ความสำเร็จต่อเป้าหมาย โดยเฉพาะการเป็นต้นแบบในการตัดสินใจต่างๆ
2. Be Positive and Proactive หรือ เป็นคนคิดบวกและทำงานเชิงรุก
ผู้นำคิดบวกจะมีวิสัยทัศน์และความเชื่อว่าเรื่องดีๆ และสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นและเป็นไปได้ ทั้งล้ำหน้าหรือเท่าทันการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลง… แต่การเล่าวิสัยทัศน์และพยายามขายแนวคิดความเชื่อปากเปล่า หรือจำคำหรูหราที่คนอื่นพูดกันมาพูดลอยๆ โดยไม่มีแผนจะดำเนินการที่จะสร้างวิสัยทัศน์ที่พูดถึง… ซึ่งวิสัยทัศน์ที่มองเห็นเป็นเป้าหมายไกลๆ ที่ว่า ล้วนต้องการแผนและการดำเนินการให้ถึงเป้าหมายปลายตาโดยไม่รีรอเสมอ… ซึ่งถ้ายังรีรอหรือทำงานเชิงรับ กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้ารับความเสี่ยง รอบคอบระมัดระวัง จนไม่มีอะไรริเริ่ม ทำให้ภาระหน้าที่ๆ ทำได้เหลือแต่กิจกรรมแจกของร้องเพลงและงานเสมียน อ่าน เซ็นต์ ส่งต่อ… ท่านจะยังเชื่อว่าตัวเองเป็นผู้นำอยู่ ก็คงไม่มีใครเชื่อท่านอยู่ดี
3. Leverage Networks หรือ ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย
ทักษะการสร้างและใช้เครือข่ายทั้งระดับบุคคลและองค์กร ถือว่าเป็นทักษะสำคัญของผู้นำ ที่จะเห็นศักยภาพในการสร้างโอกาส จากการเชื่อมโยงผลประโยชน์ผ่านพลังของเครือข่าย… นอกจากนั้น การมีเครือข่ายจะหมายถึง การได้รับการยอมรับจากภายนอก หรือการได้รับความเชื่อถือจากภายนอกองค์กร อันเป็นการยืนยัน “บารมี” ของผู้นำอย่างสำคัญ
4. Make Time for People หรือ ให้เวลากับคนอื่นๆ
ผู้นำส่วนหนึ่งจะมีพฤติกรรม “ยุ่งมาก” จนคนที่อยู่ด้วยและทำงานใกล้ชิดเกรงใจจนไม่รบกวนท่านดีกว่า และเมื่อถึงคราวจะต้องรบกวน ส่วนใหญ่จึงมักจะเจอแต่เรื่องใหญ่ๆ และสร้าง Surprise หรือความประหลาดใจให้ผู้นำเอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตามมาด้วยความโกรธเกรี้ยว เพราะเรื่องใหญ่ๆ ที่เกิดแล้ว… มักจะไม่ต่างจากเหตุไฟไหม้ที่ต้องดับไฟเท่านั้นจึงจะรอด อะไรอย่างอื่นต่อให้สำคัญแค่ไหนก็ต้องวางและมาช่วยกันดับไฟ… พฤติกรรมยุ่งมากของผู้นำรุ่นใหม่จึงเป็นเรื่องขบขัน น่าอายและสะท้อนความสามารถในการบริหารเวลาที่ย่ำแย่ มากกว่าจะมีคุณค่าอะไรจากยุ่งมากจนไม่ได้คุยกับใครตรงไหนให้รู้จริงสักเรื่อง…
5. Use Influencing Techniques หรือใช้เทคนิคโน้มน้าวในปฏิสัมพันธ์
การจะเป็นผู้นำได้แปลว่าต้องมีผู้ตาม ซึ่งผู้ตามจะใช้ “การตัดสินใจของผู้นำ” เป็นแนวทางในการจัดการและดำเนินการต่อ… ทั้งผู้นำกับผู้ทำจึงจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้ได้การตัดสินใจหนึ่งมาทำอะไรต่อไปได้นั่นเอง… เทคนิคการครองใจผู้ทำ ที่ผู้นำต้องมีเพื่อให้การตัดสินใจใดๆ ที่ผู้ทำจะต้องเอาไปสะสางต่อ เป็นที่ยอมรับและถูกจัดการดำเนินการอย่างดีที่สุด… ผู้นำควรต้องละเอียดอ่อน หรือ Soft ในการชี้นำและโน้มน้าว แม้จะวุ่นวายและซับซ้อนกว่า “สั่งการ” แต่หลายกรณีที่เป้าหมายและกิจธุระที่จะไปทำ กลายเป็นเรื่องซับซ้อนละเอียดอ่อนและสำคัญ… การหาวิธีผลักดันการตัดสินใจให้ผู้ทำคิดและเชื่อจนสามารถสะสางกิจธุระได้ลุล่วงด้วยความเต็มใจ จึงจำเป็นต้องโน้มน้าวผู้ทำให้เข้าสู่แรงผลักดันจากภายในของพวกเขาให้ได้… ส่วนเทคนิคการโน้มน้าวและ Influenc ผู้ทำก็เอาตามบริบทที่ท่านถนัดทั้งชวนเชื่อ ชี้แจง ให้ข้อมูล เสริมความรู้หรือใช้พลังเครือข่ายก็ได้หมด… แต่โดยส่วนตัวผมจะแนะนำให้เริ่มที่มุม Empathy หรือเอาใจใส่ผู้ทำโดยถ่ายเทการตัดสินใจผ่าน Empathy ไปให้เป็นการตัดสินใจโดยผู้ทำให้ได้มากที่สุด… ถ้าเป็นไปได้
References…