carrot experience

Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset

ในกิจกรรมการเรียนการสอนทั่วไป งานวิจัยมากมายค้นพบว่า ผู้เรียนหรือนักเรียนส่วนใหญ่ ใช้เวลาไปกับ “Learn The Contents หรือเรียนรู้จดจำและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียน” ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีเนื้อหาบทเรียนมากมายรอคิวให้ผู้เรียนต้องพยายามเรียนรู้จดจำและทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด รอพวกเขาอยู่มากมาย

ประเด็นก็คือ Learning Contents หรือเนื้อหาบทเรียนส่วนใหญ่เป็น “Information หรือ ข้อมูลข่าวสาร” ประเภทหนึ่ง ซึ่งการจะสร้าง Knowledge ให้ผู้เรียนนั้น ต้องการ Information หรือ ข้อมูล บวกกับ Experience หรือ ประสบการณ์ หลอมรวมกันเท่านั้นจึงจะกลายเป็น Knowledge ได้

นั่นแปลว่า… การใช้เวลาไปกับ Learn The Contents หรือ เรียนรู้จดจำและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนเป็นส่วนใหญ่ จึงสร้าง Knowledge ได้น้อยมาก แม้กับเด็กที่ผลการเรียนตามระบบออกมาดีแค่ไหนก็ตาม และที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้นก็คือ ครูอาจารย์และนักการศึกษาส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่าจะแทรก “ประสบการณ์” เข้าไปกับเนื้อหาบทเรียนที่สอนกันมาแบบบรรยายไปตามตำราได้อย่างไร?… แถมยังมี “ระบบการศึกษา” มากมายที่ให้คุณค่าการสอนบรรยายที่นักเรียนหลับทั้งห้อง มากกว่าจะให้คุณค่าการสอนปฏิบัติและการฝึกประสบการณ์ก็มี

ในหนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ได้ระบุกลไกการเกิด Knowledge เอาไว้ 3 ขั้น “ที่ต้องมี” ในกระบวนการเรียนการสอนเสมอเมื่อต้องการผลลัพธ์ถึงขั้น “เกิดองค์ความรู้กับผู้เรียน” ไม่ใช่แค่ “สอนเสร็จ” อย่างที่เห็นอยู่ทั่วไปในระบบการศึกษาปัจจุบัน… การเกิดองค์ความรู้กับผู้เรียนทั้ง 3 ส่วนในผู้เรียนประกอบด้วย

ส่วนที่หนึ่ง… Learn The Content หรือ เรียนรู้จดจำและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนนั่นแหละ

ส่วนที่สอง… Develop A Set Of Flexible Skills หรือ พัฒนาประสบการณ์ที่ยืดยุ่นสอดคล้องกับเนื้อหาบทเรียนที่เรียนรู้จดจำมา และยังต้องพัฒนาฝึกฝนประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในมิติ นักเรียน–ครู–ระบบการศึกษาด้วย

ส่วนที่สาม… Seek Feedback On Performance And Adjust Accordingly หรือ ใส่ใจค้นหาความเห็นที่สะท้อนประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องสมดุลย์

Steve Oakes และ Martin Griffin ทำการสำรวจนักเรียนและโรงเรียนสามสี่แห่งพบว่า… นักเรียนต้องใช้เวลากว่า 80% ไปกับการ Learn The Content จนทำให้เหลือเวลาราว 15% ไปกับการฝึกฝนและพัฒนาประสบการณ์เพื่อต่อยอดสิ่งที่ได้เรียนรู้จดจำมาจากเนื้อหาบทเรียน ซึ่งส่วนใหญ่… เป็นการทำแบบฝึกหัดกับการสอบอีกต่างหาก… โดยเหลือเวลาและทรัพยากรราวๆ 5% ไปกับ Feedback และปรับเปลี่ยน

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… ลองนึกภาพการสอนเรื่องโภชนาการด้วยน่องไก่และผักสดบน PowerPoint พร้อมสูตรอาหาร หรือเมนูส่งเสริมโภชนาการเด็ดๆ… กับชวนเด็กๆ ทำเมนูน่องไก่ตุ๋น กับข้าวผัดผักห้าสีแล้วนั่งกินเป็นมื้อกลางวันด้วยกันครูนักเรียน… ใครคงตอบไม่ยากว่าอันไหนให้ทั้งความรู้และประสบการณ์ได้ดีกว่า และ Feedback ที่ออกมาคงไม่มีคำว่า “ง่วง หรือ น่าเบื่อ หรือแม้แต่ฟังครูอบรมเด็กป่วนคนเดียวให้นักเรียนทั้งห้องรอและอยู่ในสภาพถูกด่าไปดวย” ติดมาให้หงุดหงิด

แต่ทั้งหมดนั้น… ไม่ง่ายในทางปฏิบัติ เพราะในบางเนื้อหาบทเรียนก็ไม่สามารถพานักเรียนไปสัมผัสประสบการณ์จริงๆ ได้หรอก และที่สำคัญคือ Feedback บางทัศนะก็ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนอะไรได้อีกต่างหาก ในขณะที่สูตรการเกิดองค์ความรู้ในผู้เรียนที่ว่า “ Information + Experience = Knowledge ” ยังคงสำคัญและต้องคำนึงถึงอย่างยิ่งอยู่… การพัฒนาหลักสูตรและระบบจึงต้องพัฒนาเครื่องมือฝึกประสบการณ์ที่สามารถนำมาใช้อย่างยืดยุ่นให้ได้

ตอนหน้าจะพาไปรู้จักกิจกรรมช่วยฝึกประสบการณ์ และแนวคิดการปรับใช้ให้ขนานสอดคล้องไปกับเนื้อหาบทเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
  15. Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
  16. Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *