Too Much Homework

Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น

การเปิดรับ Feedback จากผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียมากมายรอบๆ แกนของระบบการศึกษา ที่จริงถือว่าเป็นแนวคิดหลักและสำคัญที่หลายฝ่ายเชื่อว่า… จำเป็นต่อการพัฒนาระบบการศึกษาในทุกๆ ชุดความคิด หรือ Mindset ด้านการศึกษา และจำเป็นต่อการพัฒนาการศึกษาในแทบจะทุกมิติของทุกๆ ทฤษฎีการศึกษาที่หลายฝ่ายกำลังพยายามขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Digital Education… ซึ่ง Feedback จากผู้เรียนและผู้มีส่วนได้เสียแม้จะมีประโยชน์และสำคัญ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่มีประโยชน์และสำคัญ และส่วนหนึ่งของ Feedback ที่ไร้ประโยชน์และไม่สำคัญนี้เอง ที่ถือว่าเป็น “ข้อมูลส่วนเกินที่ท่วมท้นปนมาให้สับสน”

ประเด็นก็คือ… การทำข้อมูลเพื่อใช้ในกิจการด้านการศึกษาในยุค Digital Education ทุกมิติ ตั้งแต่การหา Learners’ Insight ไปจนถึงการกำหนดนโยบายทางการศึกษา ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ… การนำข้อมูลมากมายมาใช้ผลักดันกิจการด้านการศึกษา ซึ่งในยุค Digital Education ที่ข้อมูลมีมากมายเกินจำเป็นนั้น… หลักคิดที่สำคัญซึ่งมีการถกถามแลกเปลี่ยนมากมายในกลุ่มนักการศึกษาหัวก้าวหน้าได้พูดถึง การจัดการข้อมูลเหลือๆ ล้นๆ หรือ Information Overwhelm ด้วยการควบคุมทิศทางการไหลของข้อมูล และสร้างกลไกการจัดการข้อมูลเหลือๆ ล้นๆ ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและนำไปใช้ต่อได้

ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ก็มีคำแนะนำเรื่องการควบคุมทิศทางของข้อมูลเอาไว้ถึง 4 แนวทางด้วยกัน ได้แก่

1. Strategic Ignorance หรือ กลยุทธ์ข้ามไปก่อน… ซึ่งจะใช้เมื่อเราต้องเจอกับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ แปลกๆ ที่ไม่คุ้นเคย… แบบยังไม่รู้ว่าจะเอาไว้ทำอะไรหรือใช้ตอนไหน ก็ให้ข้ามไปก่อน หรือ พักไว้ก่อน

2. Just in Time / Just in Case หรือ ถูกกาละ/ถูกเทศะ… ข้อมูลข่าวสารที่ควรค่าจะต้องอยู่ในบริบทของเวลาและวาระที่ใช่ ถ้าดูดีถี่ถ้วนแล้วว่าผิดกาละเทศะ ก็อย่าพยายามเอามาเป็นภาระในบริบทนั้น

3. Three Points of Contact หรือ พิจารณาสามจุด… กรณีการค้นคว้าจากข้อมูลขนาดใหญ่เหมือนต้องอ่านจากหนังสือเล่มหนาๆ การอ่านบทนำจุดหนึ่ง และ/หรือ อ่านเนื้อหาไปซัก 20–30% และ/หรือ ข้ามไปอ่านบทสรุป แล้วประเมินการนำมาใช้ หรือไม่ก็นำไปเก็บไว้ก่อน

4. The Podcast Lecture หรือ พิจารณาจากพ็อดคาสท์บรรยายสรุป… หรือการหาริวิวเกี่ยวกับข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ รวมทั้งการขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญพอเป็นแนวทาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยการตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช้ข้อมูลในหัวข้อเหล่านั้น

ประเด็นก็คือ… ทั้งหมดเป็นการหาแนวทางจัดการและกรองข้อมูลเพื่อให้ได้ส่วนที่เหมาะสมกับบริบทที่สุด ซึ่งโลกการศึกษาในยุค Digital Education จะมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่อยู่ในรูปของข้อมูลมากมายให้สับสน… มี Learners’ Insight ในรูปของข้อมูลมากมายให้สับสน และมีบริบทอันประกอบด้วยข้อมูลเงื่อนไขหลากล้นให้สับสน จนเริ่มได้ยินและได้เห็นการใช้กลยุทธ์แบบ… รู้ให้ได้ว่าต้องใช้ข้อมูลแบบไหนอย่างไร และรู้ให้ได้ว่าต้องไม่ใช้ข้อมูลแบบไหนอย่างไรด้วย


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ

  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
  13. Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
  14. Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts