นานมาแล้วที่มนุษย์พัฒนาเผ่าพันธุ์ด้วยการทำทุกอย่างให้ “ดีกว่าเดิม” ทั้งการทำให้ดูดีกว่าเดิม… ทำให้ใช้ดีกว่าเดิม… ทำให้ใช้ง่ายกว่าเดิม… ทำให้ใช้ทนกว่าเดิม… ทำให้ได้ประโยชน์กว่าเดิม… ทำให้คุ้มค่ากว่าเดิม… และอะไรอีกมากที่เป็นปัจจัยเชิงบวกเพิ่มขึ้นจากเดิม… ซึ่งอะไรที่เห็นชัดเจนว่าดีกว่าเดิมก็มักจะมีคุณค่า หรือ มีราคาในตัวของมันเองเสมอ
ในกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มของเป้าหมายเชิงพัฒนาการในปัจจุบัน จึงมีการพูดถึงกลยุทธ์และแนวคิดที่อยากจะทำอะไรให้ดีกว่าเดิม โดยมักจะเรียกรวมๆ กันภายใต้คำๆ เดียวที่เรียกว่า Innovation หรือ นวัตกรรม ซึ่งได้รวมความหมายทั้ง “ขั้นตอนการพัฒนา กับ ผลลัพธ์หลังการพัฒนา” ที่ทำให้เกิดปัจจัยเชิงบวกเพิ่มขึ้นจากเดิม จนนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งทางตรงของนวัตกรรม และ การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากนวัตกรรมที่สร้างขึ้นใหม่
คำถามคือ… Innovation หรือ นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
งานเขียนของ Dan Jecan จาก UX Studio ชี้ว่า… บริบทของการเกิดนวัตกรรมที่แท้จริงมีปัจจัยอยู่ 3 ประการคือ
- บริบททางธุรกิจ… ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดในบริบทและช่วงเวลาหนึ่งที่ตลาดได้สะท้อนความเป็นไปได้ทางการค้าในระดับใช้ประโยชน์ หรือ Viable กับนวัตกรรมนั้น
- บริบทการออกแบบ… ซึ่งเป็นรูปแบบของนวัตกรรมที่ลูกค้าในตลาดมีความต้องการขั้นปรารถนา หรือ Desirable ในแบบที่อยากจะได้อะไรที่ “ดีกว่าเดิม” อย่างแท้จริง
- บริบทในลักษณะข้อจำกัดทางเทคนิค… ซึ่งเป็นขีดจำกัดเดิมที่นวัตกรรมรุ่นก่อนหน้ายังแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดอะไรที่ “ดีกว่าเดิม” ยังไม่ได้ หรือ ยังได้ไม่ดีพอ แต่เทคโนโลยีใหม่มีโอกาส Render Feasible หรือ ทำให้เป็นไปได้
ประเด็นก็คือ… บริบทของการเกิดนวัตกรรมที่แท้จริงจะเป็นการบูรณาการ หรือ ผสม… ส่วนของบริบททางธุรกิจ หรือ Business เข้ากับ แรงปรารถนาของลูกค้า หรือ Customers’ Desirable และ ปรากฏการณ์ทางเทคโนโลยี หรือ Technology ที่เป็นไปได้… โดยสามารถเขียนอธิบายเป็น Venn Diagram ให้เห็นจุดร่วมของการเกิดปรากฏการณ์เชิงบูรณาการเพื่อประกอบเป็นนวัตกรรมผ่าน… ความเป็นไปได้ หรือ Possible กับ ใช้ประโยชน์ได้ หรือ Usable และ มีคุณค่าในตัว หรือ Valuable
แต่ส่วนที่ยากที่สุดในการพัฒนานวัตกรรมมักจะไม่ใช่เรื่องทางธุรกิจ หรือ แม้แต่เรื่องความต้องการของตลาดโดยตรง… แต่มักจะเป็นปัญหาการออกแบบ หรือ Design เพื่อให้บริบทในการสร้างนวัตกรรมทั้งสามปัจจัย เพื่อผลิตผลลัพธ์เชิงบูรณาการออกมาตอบสนองแรงปรารถนาของลูกค้า และ ตลาดให้ได้ “ดีกว่าเดิม” มากกว่า
ปรัชญาในการออกแบบนวัตกรรมจึงไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคที่บ่อยครั้งถูกตัดตอนพูดถึง “การวิจัย และ พัฒนาของใหม่ หรือ สิ่งใหม่” อันเป็นลำดับขั้นตอนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมที่ต้องทำต่อจากโจทย์ปัญหา หรือ Problem หรือ Pain Point… ที่จำเป็นต้องใช้ออกแบบพัฒนาของใหม่เพื่อให้ได้อะไรที่ “ดีกว่าเดิม”
ส่วนประเด็นที่จะต้องคำนึงให้มากเมื่อเลือกที่จะ “ออกแบบ” เพื่อพัฒนานวัตกรรม หรือ ทำอะไรให้ดีกว่าเดิมนั้น… โดยส่วนตัวจะพิจารณาผ่านแนวคิด Danish Design Ladder หรือ ขั้นของการออกแบบอย่างชาวเดนมาร์ก ซึ่งได้ลำดับขั้นของการออกแบบเอาไว้ 4 ขั้น เพื่อให้การประยุกต์เชิงบูรณาการเพื่อสร้างนวัตกรรม ไม่ถูกแนวคิดการออกแบบ “ขัดขวางสมดุล” จนได้นวัตกรรมที่ยัง “ดีได้ไม่มากกว่าเดิมเท่าไหร่” ออกมาเป็นผลลัพธ์ตอนท้าย
โดย Danish Design Ladder ทั้ง 4 ขั้นที่กล่าวถึงได้แก่
- Non-Design หรือ ไม่ต้องออกแบบ… ซึ่งนวัตกรรมบางกลุ่มบางจำพวกที่ไม่มีผลกับ Desirable หรือ แรงปรารถนาของคนโดยตรง ก็ไม่ต้องมาวุ่นวายคิดหรือทำเรื่องออกแบบให้เสียโอกาสอื่น
- Design as Formgiving หรือ สร้างรูปแบบ… โดยคำว่า Formgiving ในภาษาเดนมาร์ก แปลว่าการออกแบบด้วยการกำหนดรูปแบบให้สิ่งที่ยังไม่มีรูปแบบ… ยังไม่มีรูปทรง… ยังไม่มีลวดลาย และหรือ ยังไม่มีฟังก์ชั่นที่ทำให้บางแง่มุม “ดีกว่าเดิม” ขึ้นได้อีก
- Design as Process หรือ ออกแบบกระบวนการ… ซึ่งเป็นเทคนิคการออกแบบที่มุ่ง “ปรับแต่ง” กระบวนการของนวัตกรรมเดิม โดยแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับปัญหาทั่วไป จนถึงปัญหาระดับ Pain Point ให้สอดคล้องตาม Desirable หรือ แรงปรารถนาที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในกระบวนการเดิม
- Design as Strategy หรือ ออกแบบทางกลยุทธ์… จะเป็นเทคนิคการออกแบบที่มุ่งสร้าง “ความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน หรือ Competitive Advantage” ซึ่งเป็นการออกแบบที่ต้องการข้อมูล กับ เครื่องมือและทรัพยากรสนับสนุนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับคู่เทียบ หรือ คู่แข่ง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและลูกค้า
สิ่งที่ต้องเข้าใจให้มากก็คือ… การสร้างนวัตกรรมจำเป็นต้องออกแบบให้ถึงขั้นที่ต้องการใช้ประโยชน์นวัตกรรมนั้นก็เพียงพอ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมด้วยการออกแบบให้จำเป็นต้องทุ่มเททรัพยากรเกินจำเป็น… โดยเฉพาะการคิดและออกแบบด้วยทรัพยากรหายากจนต้องรอคอย หรือ ต้องออกแบบและสร้างทำนวัตกรรมอื่นๆ ก่อน… อันเป็นวิธีคิดและรูปแบบการสร้างนวัตกรรมที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นมากนักในระดับธุรกิจ และหรือ ในระดับการส่งเสริมความสำเร็จต่อเป้าหมายของบุคคล หรือ องค์กร…
References…