การพูดถึงกลยุทธ์ในมุมของความสำเร็จ ในทางปฏิบัติจะหมายถึงทุกๆ ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงที่นำ “การบรรลุความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน หรือ Achieving Advantage Over Competitors” ไม่ว่าจะดำเนินการแบบธุรกิจการค้า หรือแบบองค์กรไม่แสวงหากำไร รวมทั้งองค์กรแบบรัฐทั้งหลาย… เพราะการมีอยู่ของทุกๆ องค์กรจะมีการชิงลูกค้า หรือไม่ก็ชิงเงินงบประมาณ… ซึ่งในท้ายที่สุดก็มักจะนำผลประโยชน์มาสู่องค์กร และ ทุกๆ คนในองค์กรเสมอ
คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบกลยุทธ์ในทุกๆ รูปแบบองค์กรจึงต้องพูดถึง “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ที่ปัจจัยเชิงกลยุทธ์จำเป็นต้องตอบสนอง “ความต้องการที่แท้จริง” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างดีที่สุดเป็นอย่างน้อย เพราะความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับการตอบสนองอย่างดีที่สุดจะเป็นการแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับพึงพอใจเท่านั้น… ถ้าต้องการเห็นความพึงพอใจเหนือกว่านั้นก็จำเป็นจะต้องตอบสนองความต้องการของคนเหล่านั้นให้เกินคาดให้ได้ ซึ่งหนทางเดียวที่จะเข้าใจความต้องการก็คือการหา “ข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight” ของพวกเขาให้พบ… เท่านั้น
Graham Kenny ในฐานะ CEO ของ Strategic Factors แนะนำเทคนิค 4 แนวทางในการค้นหากลยุทธ์เพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของเป้าหมาย… ประกอบด้วย
- Introspection หรือ การไตร่ตรอง… กลยุทธ์เริ่มต้นที่การคิด การตั้งคำถาม การหาคำตอบ การสร้างองค์ประกอบและค้นหาปัจจัยความสำเร็จให้ได้อย่างที่คิด รวมทั้งการตรวจสอบความคิดด้วยสมมุติฐานต่างๆ ซึ่งหลายคนต้องการเวลา และ การจดจ่อ หรือไม่ก็ต้องการสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ผ่อนคลายถึงขั้นที่สามารถคุยกับตัวเองได้นาน และ ปรึกษาตัวเองได้นานจนมั่นใจระดับหนึ่งด้วย
- See Things as Others See Them หรือ มองสิ่งต่างๆ เหมือนที่คนอื่นๆ มอง… มุมมองเปลี่ยนการรับรู้ก็เปลี่ยน ซึ่งการหาทางเข้าให้ถึงความพึงพอใจของคนอื่นที่อยู่ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะลูกค้า และ คนอนุมัติเงินงบประมาณ นักกลยุทธ์จำเป็นจะต้องมองทุกอย่างผ่านมุมมองของคนเหล่านั้นเท่านั้น… และต้องไม่ลืมว่าเราออกแบบกลยุทธ์เพื่อพวกเขาเหล่านั้น ไม่ใช่ตนเอง
- Observe Stakeholder Behavior หรือ สังเกตุพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย… ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากพฤติกรรมของเป้าหมาย โดยเฉพาะพฤติกรรมทั่วไปที่คนเหล่านั้นแสดงออกต่อผู้คน สิ่งของ และ สถานการณ์… ซึ่งพฤติกรรมจะให้ข้อมูลเชิงลึกได้ค่อนข้างแม่น โดยเฉพาะข้อมูลเชิงลึกที่จะนำไปสู่ “ข้อเท็จจริงเชิงลึก” ที่มักจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสมอ เช่น คนกลัวต้องได้จ่ายค่านอนโรงพยาบาลแพงเลยยอมซื้อประกันสุขภาพเผื่อเอาไว้
- Look at Other Industries หรือ เปิดหูเปิดตากับสิ่งที่อุตสาหกรรมอื่นเคลื่อนไหว… การได้มาซึ่งกลยุทธ์เหนือความคาดหมายมักจะได้จากการ “ลอกเลียน หรือ Tapping Analogy” เช่น กรณีของการพัฒนาแนวปฏิบัติในกรณีผ่าตัดฉุกเฉินของแพทย์ที่ลอกเลียนรูปแบบแนวปฏิบัติของทีมสนับสนุนรถแข่งฟอร์มูล่า
สรุปว่า… Insight หรือ ข้อมูลเชิงลึกนั้นสำคัญกับการทำกลยุทธ์เพื่อการบรรลุความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน หรือ Achieving Advantage Over Competitors ค่อนข้างชัด… ซึ่งการคิดกลยุทธ์แบบ “คิดเอาเอง” โดยขาดข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้อง โดยต้องได้ข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง และ ได้ข้อมูลมาในเวลาที่เหมาะสม… กลยุทธ์ที่คิดได้ “จึงจะพอมีโอกาสบรรลุความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง” แบบหวังผลได้บ้าง ส่วนจะได้แค่ไหน และ อย่างไรก็คงต้องดู “ความพึงพอใจ” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนว่าจะเทใจให้กลยุทธ์ไหน… ครับ!
References…