การปฏิรูปดิจิทัล หรือ Digital Revolution ซึ่งเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย… โดยมีข้อมูล ข่าวสาร และ องค์ความรู้ ซึ่งมนุษย์จำเป็นต้องใช้ในการตัดสินใจได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นข้อมูลดิจิทัล… ข่างสารผ่านช่องทางดิจิทัล และ องค์ความรู้ที่สะสมเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเกือบจะทั้งหมดแล้วในปัจจุบัน… องค์ความรู้ที่เคยถ่ายทอด และ เผยแพร่ผ่าน “ผู้รู้ หรือ Guru” จึงสำคัญน้อย และ บกพร่องเชิงประสิทธิภาพลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ในขณะที่องค์ความรู้ที่สะสมเผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลประกอบเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปัญญาประดิษฐ์ กลับมอบศักยภาพการเผยแพร่ความรู้ และ ช่วยเหลือผู้คนทุกเพศวัยที่ต้องรู้และเข้าใจบางอย่างได้ดีกว่าเดิม ทันเวลา และ เพียงพอสำหรับทุกผู้ทุกคนยิ่งกว่าเดิม
แน่นอนว่า… ปัญญาประดิษฐ์ในฐานะ “ผู้สอน หรือ Teacher” ซึ่งเคยมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สอนมนุษย์ได้ดีกว่า จนถึงขั้นที่สามารถประดิษฐ์เทคโนโลยีมากมายเพื่อ “ข้ามขีดจำกัดของมนุษย์” เอง… ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีเหนือขีดจำกัดของมนุษย์ที่น่าทึ่งที่สุดก็คือปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artifiaial Intelligence ที่กำลังเปลี่ยน “ความไม่รู้” ของมนุษย์ให้สามารถรู้ และ ทำความเข้าใจได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และ มากขึ้นด้วย
เมื่อประกอบเข้ากับการเกิดขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data และ คลาวด์คอมพิวติ้ง และ เทคโนโลยีอื่นๆ ที่เสริมพัฒนาการถึงกันหมด… เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artifiaial Intelligence หรือ AI จึงกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงวิวัฒนาการใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งอย่างในแบบเสริมพัฒนาการต่อยอดไปไกลกว่าเดิมตลอดเวลา… โดยเฉพาะการต่อยอดในแนวทางที่เข้ามาช่วยให้ผู้คนสามารถแก้ไข “ความไม่รู้” ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และ แม่นยำขึ้น… ซึ่งหลายกรณีสามารถเรียนรู้ และหรือ ปรึกษาสิ่งที่ต้องการรู้กับปัญญาประดิษฐ์ก็เหลือเฟือ
งานวิจัยตีพิมพ์ในหัวข้อ The application of artificial intelligence assistant to deep learning in teachers’ teaching and students’ learning processes โดย Yu-Sheng Su และคณะ จาก National Taiwan Ocean University ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI กับ Deep Learning ในการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัย และ กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอน
การศึกษาในงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการประเมินการเรียนรู้แบบ Deep Learning Based Assessment หรือ การใช้ Deep Learning มาใช้ในระบบประเมินผู้เรียน… เพื่อวัดว่านักศึกษามีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านการเรียนรู้ความรู้ การพัฒนาความสามารถ และ ประสบการณ์ทางอารมณ์หรือไม่อย่างไร…
นอกจากนั้น… ยังใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบก่อนการทดสอบ หรือ Pre-Test และ หลังการทดสอบ หรือ Post-Test… รวมทั้งการเก็บข้อมูลด้านต่างๆ ในระบบประเมินหลายมิติทางการศึกษาผ่านแบบสอบถามออนไลน์เพื่อทดสอบเอาผลลัพธ์รอบด้าน รวมทั้งผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการเรียนการสอนของครู และ กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อระบุปัญหาในกระบวนการเรียนการสอนภายใต้บริบทของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI และ เสนอกลยุทธ์ในการปฏิรูปเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
งานวิจัยชุดนี้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จาก IBM Watson และ Knewton AI ครับ!… ส่วนการออกแบบหลักสูตร และ การพัฒนาไปป์ไลน์เชิงระบบที่นักวิจัยให้ข้อมูลว่าเป็น Intelligent Teaching Assistant หรือ ระบบช่วยสอนอัจฉริยะ… ซึ่งมีรายละเอียดทางเทคนิคที่น่าจะซับซ้อน และ คงต้องปรับแต่ง ระบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา และ ระบบจัดการภายในสถาบันการศึกษาพอสมควร… ถ้ามีเวลาได้ศึกษารายละเอียดในงานวิจัยชิ้นนี้ รวมทั้งงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกล้วนกำลังศึกษาทดลอง และ ปรับแต่งโมเดล iTA หรือ Intelligent Teaching Assistant กันอย่างคึกคัก…
References…