Interpersonal Skills… ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ #SelfInsight

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมชั้นสูงที่อยู่รวมกลุ่มภายใต้เหตุผลและเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่าสัตว์สังคมสายพันธุ์อื่นที่เรารู้จัก ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่ความซับซ้อนทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดจาก “ปฏิสัมพันธ์” ระหว่างกัน ที่มักจะเห็นเป็นความสัมพันธ์มุ่งเป้าหมาย หรือ ตั้งใจ หรือ Aim ของแต่ละคน… ทั้งที่เป็นไปโดยสัญชาตญาณ และ เป็นไปโดยการปรุงแต่ง หรือ Optimized ด้วยจิตวิทยาส่วนบุคคล และ ที่เป็นไปโดยนิสัยติดตัว หรือ Intense Desire 

ประเด็นก็คือ Aim ของคนๆ หนึ่งมีโอกาสจะขัดแย้งกับ Aim ของคนอื่นๆ ในสายสัมพันธ์ในทุกๆ ปฏิสัมพันธ์ของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปเสมอ และ การหาทางหลีกเลี่ยงความขัดแย้งจาก Aim ในสายสัมพันธ์แบบต่างๆ ที่สามารถก่อปัญหามากมายเมื่อปฏิสัมพันธ์ด้วย Aim ที่ขัดแย้ง ซึ่งมักจะลงเอยโดยต่างฝ่ายต่างก็ไม่บรรลุเป้าหมายแบบที่ไม่มีใครได้ประโยชน์ และ มักจะตามมาด้วยสายสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

การรักษาสายสัมพันธ์ และ ประคับประครองผลประโยชน์บนสายสัมพันธ์เอาไว้เพื่อเก็บเกี่ยวเป้าหมายทั้งหมดให้ได้มากที่สุด… จึงจำเป็นที่ทุกคนจะต้องมี “ทักษะทางสังคม หรือ Social Skills” ติดตัวไว้เพื่อใช้เป็น “นิสัยติดตัว หรือ Intense Desire” ในขั้นที่สามารถอำนวยความสะดวกในการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้อื่น… ซึ่งต้องไม่ทำลาย Aim ของตัวเอง และ ไม่ละเมิด Aim ของคนอื่นๆ ในสังคม หรือ ในสายสัมพันธ์อย่างโง่เขลา โดยเฉพาะการรู้จักและเข้าใจ “ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ หรือ Interpersonal Skills” ทั้งด้านที่เป็นความพยายามที่จะครอบงำ หรือ Dominate ผู้อื่นในสายสัมพันธ์… และ การสยบยอม หรือ Submission ต่อผู้อื่น… ซึ่งในท้ายที่สุดก็มักจะรักษาความยั่งยืนในสายสัมพันธ์ได้ยากเมื่อสมดุล Dominate/Submission ขาดความเท่าเทียมเกินพอดี

ทักษะทางสังคม หรือ Social Skills จึงจำเป็นที่จะต้องมีไว้เพื่อใช้โต้ตอบ และ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้คนสามารถสื่อสาร เรียนรู้ ขอความช่วยเหลือ และ ตอบสนองความต้องการ หรือ Aim อย่างเหมาะสมในขั้นเข้ากับผู้อื่นได้ดี ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาวะ ปกป้องตนเอง และ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้อย่างกลมกลืน… 

ที่สำคัญคือ… ทักษะทางสังคมที่เป็น “ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ หรือ Interpersonal Skills” จะสร้างคุณลักษณะที่จำเป็น เช่น ความน่าเชื่อถือ ความเคารพ ความรับผิดชอบ ความเป็นธรรม ความเอาใจใส่ และอะไรอื่นอีกมากที่จะช่วยสร้างเข็มทิศคุณธรรมภายในตน ทำให้แต่ละคนสามารถเลือกคิด และ มีพฤติกรรมที่ดีทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดทักษะทางสังคมทุกทุกด้านสูงขึ้นกว่าเดิม… แต่คนส่วนใหญ่ต่างก็เคยมีประสบการณ์ “ปฏิสัมพันธ์ล้มเหลว” จากความบกพร่องในทักษะทางสังคมจนเห็นเป็นความหลากหลายทางพฤติกรรมเชิงมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเป็นได้ทั้งความงดงามหลากหลายและก่อปัญหาซับซ้อนให้สังคมมนุษย์มากมาย

Professor Dr.Frank M. Gresham นักจิตวิทยาจาก Louisiana State University ได้ระบุถึงสาเหตุของ “มนุษยสัมพันธ์ และ ปฏิสัมพันธ์ที่ล้มเหลว” มาจากหลายสาเหตุซึ่งเป็นความล้มเหลวในการรับรู้และสะท้อนทักษะทางสังคมเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น… โดยสาเหตุของความล้มเหลวที่พบบ่อยก็ได้แก่

  1. Alcohol Misuse หรือ การใช้แอลกอฮอล์เกินควร… ซึ่งภาวะ “เมา” จากแอลกอฮอล์มักจะทำให้ทักษะการเข้าสังคมลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งแอลกอฮอล์จะก่อผลกระทบระยะยาวที่เป็นพิษต่อระบบประสาท และ สมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองคิด
  2. ADHD and Hyperkinetic Disorder หรือ ภาวะสมาธิสั้น และ ไฮเปอร์ฯ… เด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นและไฮเปอร์มักมีปัญหาด้านทักษะทางสังคมเสมอ และสถิติของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันพบเด็กและวัยรุ่นกว่า 50% ในกลุ่มสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากเพื่อน และ วัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักไม่ค่อยพัฒนามิตรภาพที่ใกล้ชิด และ ไม่มีความสัมพันธ์ที่โรแมนติก… และมักจะถูกมองจากคนรอบข้างว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ไม่รู้จักโต
  3. Autistic Spectrum Disorders หรือ ภาวะออทิซึม…   ทั้งกลุ่มที่บกพร่องแบบออทิสติก หรือ ASD และ กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ หรือ Asperger Syndrome… โดยมักจะมีความผิดปกติด้านสังคมและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ร่วมกับความผิดปกติด้านการสื่อสาร และยังมีอาการสมาธิสั้น และ ไฮเปอร์แบบต่างๆ
  4. Anxiety and Depression หรือ ภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้า… ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยทางจิตวิทยาซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับ “การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ ความกลัวปฏิกิริยาเชิงลบของผู้อื่น” โดยเฉพาะ “การคาดเดา” ถึงความล้มเหลวในสายสัมพันธ์ และ การปฏิเสธจากสังคม จนนำไปสู่การหลีกเลี่ยง หรือ ปิดตัวเองจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 
  5. Anti-Social Behaviors หรือ พฤติกรรมต่อต้านสังคม… ซึ่งเป็นอารมณ์และพฤติกรรมทางสังคมที่ปราถนาจะแตกต่าง หรือ เหนือกว่าผู้อื่น ซึ่ง Assoc.Prof. Dr.Emily Grijalva จาก University at Buffalo School of Management ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ระบุว่า… พฤติกรรมต่อต้านสังคมพบมากใน “สังคมที่ทำงาน” ซึ่งเห็นได้มากผ่านภาวะ “หลงตัวเอง หรือ Narcissism” ทั้งแบบเปราะบางหวั่นไหวง่าย หรือ Vulnerable… และแบบวางท่าอวดเบ่ง หรือ Grandiosity ซึ่งต่างก็ “ไม่เข้าพวก” กับคนส่วนใหญ่ในที่ทำงาน… พฤติกรรมต่อต้านสังคมถือเป็นจิตวิทยาอีกหนึ่งสาขาที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมลึกซึ้งและซับซ้อนมาก

อย่างไรก็ตาม… ทักษะทางสังคม หรือ Social Skills โดยเฉพาะทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ หรือ Interpersonal Skills เป็นประเด็นใหญ่ที่คนๆ หนึ่งจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในฐานะสัตว์สังคมผู้เป็นสมาชิกที่สามารถสื่อสาร เรียนรู้ และ ตอบสนองความต้องการ หรือ Aim ทั้งของตนเองและผู้อืนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะกลายเป็นผู้มีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อสุขภาวะ หรือ Healthy Relationships ทั้งกับตนเองและคนอื่นๆ ในสายสัมพันธ์

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts