ทุบเขื่อน 4 แห่งในแม่น้ำ Klamath ในสหรัฐอเมริกาเพื่อปลาแซลมอน #FridaysForFuture

18 พฤศจิกายน 2022… สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานกรณีที่ U.S. Federal Energy Regulatory Commission หรือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานของสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติรื้อถอน 4 เขื่อนบนแม่น้ำ Klamath ที่ไหลผ่านพรมแดนของรัฐแคลิฟอร์เนีย กับ รัฐออริกอน ซึ่งครั้งนี้เป็นการรื้อถอนเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประวิติศาสตร์ ซึ่งในรายงานได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์ในการรื้อถอนในครั้งนี้ก็เพื่อช่วยฟื้นฟูแม่น้ำ Klamath ซึ่งเป็นเส้นทางที่ปลาแซลมอน Chinook และ ปลาแซลมอน Coho ที่ใกล้สูญพันธุ์ ใช้ว่ายผ่านจากมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังต้นน้ำเพื่อวางไข่ และ เป็นทางที่ลูกปลาแซลมอนใช้เพื่อกลับมาสู่ทะเล

โครงการอนุมัติรื้อถอน 4 เขื่อนบนแม่น้ำ Klamath เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกาหลายกลุ่มและชนเผ่า ที่บรรพบุรุษของพวกเขาใช้ชีวิตโดยการพึ่งพิงปลาแซลมอนมายาวนานหลายศตวรรษ แต่วิถีชีวิตของพวกเขาก็ต้องมาถูกรุกรานจากกลุ่มผู้มาใหม่จากทรีปยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐาน และความต้องการใช้ไฟฟ้าในชนบทในช่วงศตวรรษที่ 20

รายงานจาก Inhabitat ให้ข้อมูลว่า… เขื่อน Copco 2 ซึ่งที่เล็กที่สุดใน 4 เขื่อนจะถูกรื้อถอนราวๆ เดือนมิถุนายน–กันยายน 2023… ส่วนอีก 3 เขื่อนที่เหลือ คือ Copco 1… Iron Gate และ J.C. Boyle Dams มีแผนจะค่อยๆ ระบายน้ำออกในต้นปี 2024 โดยมีการคาดการณ์ว่าแม่น้ำจะกลับสู่สภาวะก่อนจะมีเขื่อนภายในปลายปี 2024 

ข้อมูลจาก Greennews.agency ระบุว่า… ในปี 2021 สหรัฐอเมริกาได้มีการรื้อถอนเขื่อนแล้วกว่า 1,951 แห่ง และ มีการรื้อถอนเขื่อนในยุโรปแล้วกว่า 239 แห่ง… ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้เห็นถึงผลกระทบทางสภาพแวดล้อม และ นิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อน และ ประโยชน์ของเขื่อนในวันที่โลกหาพลังงานทางเลือกได้หลายวิธีได้ทำให้ความสำคัญของเขื่อนลดลง… นโยบายการเลิกใช้งานเขื่อน และ เปิดประตูน้ำค้างไว้ และ ทุบทิ้งจึงเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ 

ประเด็นก็คือ… ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตั้งแต่จีนลงมาถึงกลุ่มประเทศ CLMV ที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกันก็เจอปัญหาระบบนิเวศผิดเพี้ยนเมื่อแม่น้ำโขงตอนบนในเขตประเทศจีถูกกั้นทำเขื่อนด้วยวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน และ ลดผลกระทบจากปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วม… ซึ่งฟังไม่ขึ้นเอามากๆ

ที่สำคัญกว่านั้น… เขื่อนในพื้นที่ประเทศไทยเราเองทุกเขื่อนก็ถูกบิดเบือนเรื่องผลกระทบเชิงนิเวศมานาน ในขณะที่คนได้ประโยชน์จากเขื่อนจริงๆ มีน้อยมาก โดยเฉพาะไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อนก็ไม่ได้ขายในราคาที่ถูกแต่อย่างใด… สุดท้ายคนที่ได้ประโยชน์จากเขื่อนจริงๆ จึงน่าจะมีแต่นักกอล์ฟที่ได้สิทธิ์เล่นฟรีในสนามกอล์ฟของเขื่อนหลายๆ แห่งมากกว่า… ซึ่งนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมหลายคนที่เคลื่อนไหวเรื่องเขื่อนในประเทศไทยเห็นตรงกันว่า… คนไทยรู้เรื่องชาวโลกเขาทุบเขื่อนทิ้งกันน้อยมาก และ ที่น่าปวดตับมากกว่าคือชาวบ้านที่ออกมาประท้วงเรื่องเขื่อนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยก็ไม่ได้สนใจภาพใหญ่มากกว่า “ค่าชดเชยที่พอใจ” อันเป็นข้อเรียกร้องที่แทบจะเป็นข้อเดียวที่ต้องเจรจาก็ว่าได้

ท่านที่สนใจประเด็นนี้แนะนำอ่านเพิ่มเติมที่เวบไซต์ Greennews.agency ครับ! 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts