ในโลกที่หิวกระหายนวัตกรรมซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่มักจะมีคนหาทางทำอะไรบางอย่าง เพื่อใช้แก้ไขปัญหาบางปัญหา รวมทั้ง “การเปลี่ยนปัญหาเป็นสินทรัพย์” ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีในชื่อ “สิ่งประดิษฐ์ และ นวัตกรรม” ซึ่งมักจะได้เห็นผลกระทบ กับ การเปลี่ยนแปลงที่สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเหล่านั้น สร้างประโยชน์ให้ผู้คนยุ่งยากน้อยลง สะดวกสบายมากขึ้น และ เปลี่ยนหลายอย่างให้ต่างไปจากเดิมในทางที่ดีกว่าเดิม… โดยหลายอย่างถูกคิดค้นจนพบวิธีที่ทำเรื่องยากๆ ให้ง่ายลง!
คำถามคือ… สิ่งประดิษฐ์ และ นวัตกรรมสร้างอย่างไร?
Bill Gates แนะนำการเลือกใช้คนที่สามารถ “ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย” ไว้ว่า… I choose a lazy person to do a hard job. Because a lazy person will find an easy way to do it. ผมเลือกคนขี้เกียจให้ทำงานยากๆ เพราะคนพวกนี้จะหาทางทำให้มันง่ายเอง
คำแนะนำของ Bill Gates ท่อนนี้น่าจะทำให้หลายๆ คนยิ้มกว้างเมื่อได้ยินครั้งแรก… ซึ่งหลายคนเชื่อว่าตัวเองก็ได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ขี้เกียจเหมือนกัน แต่ก็ไม่เห็นจะมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อะไร สามารถงอกออกไปจากหัวคิด… คำตอบคือ คนขี้เกียจส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ชอบทำประโยชน์อะไรในแบบที่พยายามหาทางทำให้ตัวเองสะดวกสบายกว่าเดิมด้วยการคิดแก้ปัญหายากๆ นักหรอก… เพราะคนขี้เกียจแบบ “รักสบาย” มีมากกว่าคนขี้เกียจแบบ “ไม่ทนลำบาก” จนยอมสละความสบายเพื่อแก้ไขความยุ่งยากลำบากที่ประสบจนสำเร็จ… หรือไม่ก็ต้องทำเพราะนายจ้างอย่าง Bill Gates สั่งให้ทำเพราะไม่อยากไปหางานใหม่…
Assoc. Prof. Dr.Todd McElroy จาก Greensboro College ได้พูดถึงความเกียจคร้านในมุมมองของวิทยาศาสตร์ และ จิตวิทยาเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า… จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “พฤติกรรมทางกายที่แสดงออก หรือ Physical Activity กับ การรับรู้ความต้องการส่วนตน หรือ Need for Cognition” ในปี 2016… พบการใช้พลังงานในขณะที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจมากเป็นพิเศษ มากว่า การใช้พลังงานในขณะที่ออกแรงกายอย่างเดียว…
การศึกษาของ Dr.Todd McElroy ทำให้สมมุติฐานเรื่อง… คนเกียจคร้านที่จะออกแรงกายอาจจะกำลังใช้สมองอยู่… ใช่หรือไม่? และ Dr.Todd McElroy เชื่อว่า… มีแนวโน้ทที่คนเกียจคร้านจะกำลังใช้สมองเพื่อการคิด และ สร้างสรรค์อยู่ โดยต้องยอมรับว่า… ในขณะที่น้ำหนักของสมองมีเพียง 2% ของน้ำหนักตัว แต่สมองในภาวะปกติกลับใช้พลังงานไม่น้อยกว่า 20-30 เปอร์เซนต์ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายใช้
การพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ในแนวทาง “ใช้ประโยชน์คนขี้เกียจ” จึงไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการให้ “คนขี้เกียจที่ใช้สมอง หัวคิด และ ปัญญาเป็น” มาทำเรื่องยากๆ หรือ เอามาช่วยคิดแก้ปัญหาให้…
อย่างไรก็ตาม… ความเกียจคร้านทางกาย แต่ไม่ได้เกียจคร้านที่จะใช้สมองถือเป็นคุณสมบัติที่หาไม่ได้ง่าย… เพราะคนขี้เกียจโดยทั่วไป มักจะ “ขี้เกียจคิด” หรือก็คือขี้เกียจที่จะใช้สมอง จนยอมทำอะไรก็ได้ให้เสร็จๆ ผ่านๆ ไปเพราะ “ขี้เกียจรับผิดชอบ” มากกว่านั้น… ซึ่งนอกจากจะไม่มีทางสร้างนวัตกรรมอะไรได้แล้ว… ยังโคตรจะกรรมหนักหนาถ้าต้องเจอคนขี้เกียจครบวงจร
References…