Green Environment

คู่มือตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ปี 2563

ประทศไทยมีนโยบายมุ่งการส่งเสริมการผลิต การลงทุน และการสร้างงานสีเขียว เพื่อยกระดับประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถพัฒนา Green Supply Chain และ Green Value Chain ซึ่งปัจจุบันเป็นเงื่อนไขการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ให้ความสำคัญอย่างสูงในแนวนโยบาย

ประเทศไทยจึงมีการผลักดันนโยบายส่งเสริมสนับสนุน Green Supply Chain และ Green Value Chain ผ่าน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมเป็นตัวแปรในการดำเนินกิจการ ที่คู้ค้าหรือตลาดเป้าหมาย ระบุไว้ชัดเจนเป็นแนวนโยบาย

การรับรองตั้งแต่ระดับ “ฉลากคาร์บอน” ติดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปจนจนถึงซื้อขายคาร์บอนเครดิต และอะไรที่เกี่ยวกับ Green Value Chain เพื่อใช้ประโยชน์ทางการค้า หรือพัฒนาเพราะรักษ์โลก… ที่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน สามารถให้บริการรับรองเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นทางการได้ครบวงจร

ล่าสุด องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน ได้จัดทำ “ตัวชี้วัดธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน” ขึ้น เพื่อใช้ในการประเมินและจัดระดับองค์กรธุรกิจ ที่มีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศและมีการดำเนินธุรกิจแบบคาร์บอนต่ำ ทั้งเพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางให้กับองค์กรธุรกิจในวงกว้าง รวมทั้งการเชิดชูเกียรติให้แก่องค์กรธุรกิจตัวอย่าง และสร้างเครือข่ายการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและอย่างยั่งยืน ช่วยยกระดับมาตรฐานขององค์กรธุรกิจไทยไปสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำแบบยั่งยืนในอนาคต

หลักการในการประเมินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

นิยามของธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืนในสายตาของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก องค์การมหาชน   หมายถึง ธุรกิจที่ใส่ใจต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้กลไกการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงความสมดุลใน 3 มิติ ของความยั่งยืน ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

1. มิติด้านเศรษฐกิจ

จะมีประเด็นในการประเมิน 4 ประเด็น แยกเป็น 8 ตัวแปร สัดส่วนคะแนนในการประเมิน 30 คะแนน ประเด็นสำคัญในการประเมินได้แก่

1.1. การดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.2. ความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ
1.3. เป้าหมายและตัวชี้วัดการลดก๊าซเรือน
1.4. การใช้กลไกราคาคาร์บอน

2. มิติด้านสิ่งแวดล้อม

มีประเด็นในการประเมิน 5 ประเด็น แยกเป็น 8 ตัวแปร สัดส่วนคะแนนในการประเมิน 50 คะแนน ประเด็นสำคัญในการประเมินได้แก่

2.1. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในปริมาณที่สามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิมได้ ปล่อยมลพิษในระดับที่สามารถดูดซับและทำลายได้ และสามารถผลิตทดแทนได้
2.2. การบริหารจัดการเพื่อลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.3. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กร
2.4. การลดก๊าซเรือนกระจก
2.5. การได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. มิติด้านสังคม

มีประเด็นในการประเมิน 5 ประเด็น แยกเป็น 8 ตัวแปร สัดส่วนคะแนนในการประเมิน 20 คะแนน ประเด็นสำคัญในการประเมินได้แก่

3.1. พนักงาน หรือ Employee
3.2. คู่ค้า หรือ Suppliers
3.3. ลูกค้า หรือ Customer
3.4. สังคม หรือ Social
3.5. ความร่วมมือกับภาคีอื่นๆ หรือ Partnership

ผมแนบลิงค์ไฟล์ฉบับเต็ม คู่มือตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมิน ธูรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน ปี 2563 หรือ Low Carbon and Sustainable Business Index (LCSi) and Evaluation Guideline 2020 ให้ท่านที่สนใจไว้ใต้อ้างอิงเช่นเดิมครับ… 

ประเด็นก็คือ… ฉลากต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจะสำคัญกับการค้าในอนาคตมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่เราท่านคุ้นเคยกันมานาน ซึ่งท้ายที่สุดก็ตอบแทนธุรกิจที่ “ใส่ใจ” ด้วยความเชื่อมั่นจากลูกค้านั่นเอง

#FridaysForFuture ครับ!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts