Photo by fauxels from Pexels

Leader As Coach… ผู้นำฉบับครูฝึก #ExtremeLeadership

นานมาแล้วที่นิยามความสำเร็จในชีวิต มีเรื่องอาชีพการงานที่เรียนรู้ สะสมฝึกปรือเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและความเชี่ยวชาญ… ถูกพิสูจน์ด้วยผลตอบแทนทั้งที่เป็นทรัพย์สินรายได้และการยอมรับชื่นชมในระดับต่างๆ

นานมาแล้วที่คน “มีลูกน้อง” มักจะมีภาพชัดเจนว่า… น่าจะเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จจากภาพลักษณ์การขึ้นชั้นเป็นหัวหน้ามีลูกน้องให้ใช้สอยช่วยงานและห้อมล้อมบริบทที่รับผิดชอบ… เลยไปถึงห้อมล้อมชีวิตส่วนตัวด้วยก็มีให้เห็นมากมาย

และนานมาแล้วที่สูตรการทำงานของคนมีลูกน้อง มักจะวนเวียนอยู่กับนิยามการจัดการแบบ “Command & Control หรือ ควบคุมบังคับบัญชา” ซึ่งพัฒนามาจากระบอบเจ้าขุนมูลนายกับการอุปถัมภ์ค้ำชูเจ้านายแลกกับการจุนเจือดูแลลูกน้อง… โดยมีกลไก ” นายสั่งลูกน้องทำ” เป็นวิธีการทำงานเพื่อสะสางกิจธุระขับเคลื่อนเป้าหมาย

ประเด็นก็คือ… ก่อนจะเกิด Technology and Digital Disruption ซึ่งยังเป็นยุคที่อะไรๆ ก็พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสามารถประเมินล่วงหน้าได้ไม่ยากจากคนที่มีทักษะและประสบการณ์มากกว่า… โดยเฉพาะคนที่มีทักษะและประสบการณ์ชั้นเลิศผู้โดดเด่นอยู่ในฐานะเจ้านาย และนำการตัดสินใจสะสางกิจธุระเพื่อเป้าหมาย

แต่พลันที่กระแส Technology and Digital Transformation หลากท่วมไปทั่วทุกกิจกรรมของมนุษย์โลก โดยมี… ความไม่ชัดเจนใดๆ ให้ใช้ทักษะและประสบการณ์เก่าๆ เข้าไปจัดการด้วยทักษะประสบการณ์ของใครบางคน… การเป็นนายแบบเดิมพร้อมการนำแบบเดิมๆ จึงถูกท้าทายจนระบอบ “ควบคุมบังคับบัญชา” เหลือที่ยืนน้อยนิดจากเหตุผล 108 ซึ่งทุกเหตุผลล้วนชี้ชัดว่า… ต้องเปลี่ยนภาวะผู้นำแบบเดิมๆ เสียใหม่

บทความจาก Harvard Business Review เรื่อง The Leader as Coach: How to unleash innovation, energy, and commitment โดย Herminia Ibarra และ Anne Scoular ก็เปิดประเด็นเรื่องแนวทางและความจำเป็นที่ผู้นำยุคใหม่จะต้อง “เปลี่ยนบทบาท” ของตัวเองจากฐานคิดแบบบังคับบัญชา ไปสู่แนวทางการเป็นโค้ช โดยเปลี่ยนมุมมองแบบ “เจ้านายลูกน้อง ไปสู่แนวทางผู้ฝึกสอนหรือโค้ชกับลูกทีม” 

ประเด็นก็คือ… การเป็นผู้นำแบบควบคุมบังคับบัญชาจะอยู่ในฐานะที่ผู้อื่นให้การเชื่อถือ ยอมรับและไว้วางใจ ในขณะที่โค้ชหรือผู้นำแบบโค้ชจะทำหน้าที่ “ช่วยเหลือสมาชิกทีม หรือ ลูกทีม… ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาด้วยตัวเขาเองให้ได้มากที่สุด”

ความสัมพันธ์แบบโค๊ชกับลูกทีมจึงค่อนข้างมืออาชีพแบบ “ต่างก็มาทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด” ไม่ต้องอุปถัมภ์และไม่ต้องค้ำชูอะไรกันให้เปลืองทรัพยากร… อะไรที่เห็นว่าลูกทีมเก่ง ช่วยเขาเอาความเก่งไปสร้างผลงานให้ดีกว่าที่เจ้าตัวทำได้เพียงลำพัง… อะไรที่ลูกทีมไม่เคยรู้ว่าตัวเองเก่ง ก็ช่วยเขาให้พบความสามารถซ่อนเร้นและเอาออกมาสร้างผลงานให้ได้ดีกว่าที่เจ้าตัวทำได้เพียงลำพัง… และ อะไรที่ลูกทีมต้องมีและต้องใช้เพื่อสร้างผลงาน ไม่ว่าจะเป็นทักษะหรือเครื่องมือ… โค้ชก็ต้องหามาช่วยเขาให้สามารถสร้างผลงานให้ได้ดีกว่าที่เจ้าตัวทำได้เพียงลำพัง…

สิ่งสำคัญก็คือ… ผู้นำที่ผันตัวเองมาขับเคลื่อนทีมและองค์กรในแบบโค้ช หรือ รับบทบาท Leader As Coach… สิ่งที่ต้องทำมากที่สุดคือการพัฒนาทักษะการเป็นโค้ช ซึ่งเป็นเรื่องทักษะส่วนตัวของผู้นำเองที่ต้องมีให้มากและพัฒนาอยู่เสมอ… หรือจะเรียกว่า เป็นโค้ชก็ต้องซ้อมเป็นโค้ชที่ยอดเยี่ยมเสมอนั่นเอง

ส่วนภาระความรับผิดชอบต่อเป้าหมาย หรืออีกนัยหนึ่งที่เรียกว่างานนั้น… ผู้เชี่ยวชาญทักษะผู้นำยุคใหม่ทั้งโลกยืนยันตรงกันว่า โค้ชเป็น… ก็นำการทำงานได้ทุกอย่าง

ตามนั้นเลยครับ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts