กลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าเป็นคนรอบรู้ และ เป็นคนมีทักษะหลายอย่าง ลักษณะเด่นโดยทั่วไปก็จะเป็นคนมีองค์ความรู้จากที่เคยศึกษาหาอ่านและจดจำได้ดีอยู่กับตัวมากมาย… โดยบ่อยครั้งที่คนกลุ่มนี้ถูกเปรียบเปรยว่าเป็นตู้หนังสือ หรือ ห้องสมุดเคลื่อนที่ เพราะในสมองของคนๆ แบบนี้ก็จะเหมือนมีห้องสมุดขนาดใหญ่ติดหัวไปด้วยทุกที่ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเป็นคนฉลาด และ รอบรู้ เพราะองค์ความรู้มากมาย กับ ประสบการณ์ล้นเหลือที่คนแบบนี้มีมากกว่าคนส่วนใหญ่ ทำให้คนใกล้ชิดได้เห็น “การเวียนใช้ความรู้ และ ประสบการณ์” ที่สามารถทำได้อย่างไม่ติดขัด และ มีข้อจำกัดน้อยกว่าคนส่วนใหญ่… ทำให้เห็นชัดว่ารู้มากกว่าคนส่วนใหญ่… แก้ปัญหาได้มากและราบรื่นกว่าคนส่วนใหญ่… สร้างสรรค์ดัดแปลงและพลิกแพลงได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่… ซึ่งในทางประสาทวิทยาศาสตร์การศึกษา หรือ NueroEducation จะถือว่าเป็นคนที่มี “Long-Term Memory หรือ ความจำระยะยาว” ที่สะสมความรู้และประสบการณ์ไว้มากมาย และ การเปรียบเปรยความจำระยะยาวของคนกลุ่มนี้ว่าเป็นดั่งตู้หนังสือ หรือ ห้องสมุดเคลื่อนที่จึงไม่เกินเลยความจริงเท่าใดนัก
อย่างไรก็ตาม… ความรู้และประสบการณ์มากมายในความจำระยะยาวซึ่งเป็นส่วนของความจำในสมอง และ สติปัญญาเหมือนหนังสือมากมายในชั้น ก็จะยังถือว่าเป็นความรู้ และ ประสบการณ์ที่ยังไม่ถูกใช้ประโยชน์… จนกว่าความรู้ และ ประสบการณ์จะถูกดึงออกมาใช้โดย “ความจำปฏิบัติงาน หรือ ความจำใช้งาน หรือ Working Memory” ซึ่งจะเปรียบเหมือนหนังสือบางเล่มในห้องสมุดที่ถูกเลือกออกมากองบนโต๊ะเพื่อใช้ทำบางอย่าง… ความเฉลียวฉลาด กับ ความคิดสร้างสรรค์ และ ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างแท้จริงจึงไม่ได้มาจากความรู้และประสบการณ์มากมายใน Long-Term Memory หรือ ความจำระยะยาว… เพราะความรู้ และ ประสบการณ์ทีมีอยู่ทั้งหมด ต้องถูก Working Memory หรือ ความจำปฏิบัติงานเลือกมาใช้ก่อนเท่านั้นจึงจะได้เห็นพลังของความรู้และประสบการณ์ในหัว… โดยเฉพาะบทบาทของความจำปฏิบัติงานในหน้าที่ “ปรับปรุง หรือ Update ความรู้และประสบการณ์ใหม่ล่าสุด” ให้ความจำระยะยาวด้วย
Working Memory หรือ ความจำปฏิบัติงาน ถูกเผยแพร่แนะนำผ่านวิทยาการด้านประสาทวิทยาการศึกษาที่ว่าด้วย EF หรือ Executive Function… ซึ่งใช้อธิบายความสามารถ และ พลังที่เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ช่วยให้คนเราสามารถจัดการตนเองได้ดีทั้งความคิด อารมณ์ พฤติกรรม… โดยการทำงานของสมองส่วนหน้าเกือบทุกฟังก์ชั่นจะดำเนินไปบนฐานการทำงานของ Working Memory หรือ ความจำปฏิบัติงาน… ซึ่งข้อมูล และหรือ องค์ความรู้ในระหว่างกระบวนการใช้ความจำปฏิบัติงาน มักจะถูก “โหลด” มาจำไว้เพียงชั่วคราว เพื่อให้ผ่านกระบวนการคิด และ การจัดการตามเงื่อนไขทางประสาทวิทยา ซึ่งอาจจะคืนผลการคิดเป็นพฤติกรรม หรือ ส่งไปจดจำในความจำระยะยาวก็ได้
Working Memory หรือ ความจำปฏิบัติงานจึงเป็นศูนย์กลางความฉลาดปราชญ์เปรื่อง และ ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของทุกคน… แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับ “คุณภาพของความฉลาด” ที่ขึ้นอยู่กับปริมาณ และ ความหลากหลายขององค์ความรู้ และ ประสบการณ์จากความจำระยะยาว บวกกับ องค์ความรู้ และ ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ความจำปฏิบัติงานถูกป้อนเพิ่มเติม… ซึ่งเป็นวิธีเรียนรู้ของสมองที่นักปรัชญาการศึกษาค้นพบ และ อธิบายไว้ในปรัชญาการสอน หรือ Pedagogy และ ปรัชญาการศึกษาผู้ใหญ่ หรือ Andragogy เอาไว้หมดแล้ว
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงจึงมีอยู่เพียงเรื่องเดียวก็คือ… การอธิบายฟังก์ชั่น Working Memory หรือ ความจำปฏิบัติงาน ในเอกสารและคอนเทนต์มากมายที่ลอกต่อๆ กันอย่างคลุมเครือ ซึ่งคอนเทนต์จำนวนหนึ่งไม่สามารถแยกความแตกต่างของ Working Memory กับ Long-Term Memory ได้… ซึ่ง Long-Term Memory จะเหมือนหนังสือมากมายในห้องสมุด ส่วน Working Memory จะเป็นเพียงหนังสือบางเล่มที่ถูกเลือกจากชั้นหนังสือมาอ่าน… หรือ ถ้าเปรียเทียบเลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ก็จะได้ Working Memory เป็นเพียงข้อมูลที่ทำงานอยู่ในแรม หรือ RAM ในขณะที่ Long-Term Memory จะเหมือนข้อมูลใน Hard Disk ซึ่งถ้าปิดโปรแกรม ปิดเครื่อง หรือ ไฟดับ… ข้อมูลที่แรมใช้อยู่หายไปหมดเพราะเป็นเพียงการจำไว้ชั่วคราว เว้นแต่จะบันทึก หรือ Save ลง Hard Disk เพื่อเก็บเป็น Long-Term Memory เท่านั้น
การอ้างถึง Working Memory ในมิติทางการเรียนรู้ ซึ่งมักจะถูกอธิบายไว้ในองค์ความรู้ด้าน EF หรือ Executive Function เพื่อการศึกษา และ การส่งเสริมพัฒนาการ… จึงไม่ควรละเลย “กระบวนการของ Working Memory ที่ทำงานคู่กับ Long-Term Memory” ไม่ต่างจาก RAM กับ Hard Disk ในคอมพิวเตอร์… ซึ่งนักการศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเข้าใจ Working Memory อย่างระมัดระวัง… เพราะธรรมชาติของ Working Memory นั้นบันทึก หรือ จดจำอะไรไม่ได้นาน ซึ่งถ้ากระบวนการในกิจกรรมการเรียนรู้ขาดกลไกการส่งมอบความรู้ และ ประสบการณ์ให้ Long-Term Memory… ผู้สอนก็มักจะได้บ่นผู้เรียนว่า “สอนไม่รู้จำ” ค่อนข้างแน่!
References…