Child Puzzle

Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่

บทความชุด VESPA Mindset ตอนที่ 7 ทิ้งท้ายไว้ด้วยการทำความเข้าใจกับทุกท่านว่า… เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ เพราะยังไม่รู้ และเป็นเหตุผลที่ต้องพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “ระบบ หรือ Systems” ขึ้น เพื่อตระเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง… ซึ่งทั้งหมดอาจต้องใช้ “ความพยายาม หรือ Effort” ทั้งฝั่งผู้สอนและผู้เรียน โดยเฉพาะฝั่งผู้เรียนที่ต้อง “มานะพยายามเป็นพิเศษ” เพราะสิ่งที่กำลังจะเรียนรู้เป็นสิ่งใหม่สำหรับตน

คำแนะนำเดียวที่หนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ระบุไว้เพื่อตระเตรียมในขั้นนี้มีชื่อว่า… Mapping New Territory หรือ ทำแผนที่เขตการเรียนรู้ใหม่นี้ โดยมีเครื่องมือกรองข้อมูล หรือทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องสะสมตระเตรียม ให้ผู้เรียนทำบันทึกส่วนตัวเพื่อสร้างความชัดเจนและเชื่อมั่นให้ตัวเอง เหมือนการกางแผนที่วางแผนเดินทางไปที่ไหนสักแห่งที่ไม่เคยไปมาก่อน… เครื่องหรือกรอบคำถามในขั้นนี้มีทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่

  1. Key terms or definitions หรือ คำสำคัญหรือคำจำกัดความ
  2. Important thinkers หรือ ประเด็นสำคัญให้ต้องไตร่ตรอง
  3. Crucial arguments or controversies where is there disagreement หรือ ประเด็นโต้แย้ง หรือถกเถียงที่มีอยู่
  4. Other terms – strange or currently confusing ideas หรือ แง่มุมอื่นทั้งกระแสและแนวคิดสับสนย้อนแย้งอื่นๆ
  5. A central text (e.g. academic paper, book, artwork) that gets mentioned regularly หรือ เอกสารหรือข้อมูลหลักที่อ้างถึงและมีอยู่ในปัจจุบัน
  6. Something/someone that keeps getting mentioned in research papers and articles หรือ ประเด็นหรือบุคคลที่มีการอ้างอิงจากงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่เผยแพร่แล้ว
  7. Important events หรือ เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
  8. Two other texts that seem almost as important หรือ คำสำคัญรองลงมาอีก 2 คำ
  9. Something your trusted sources indicate is important หรือ ข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลที่ใช้อ้างอิง
  10. Key dates/time periods, and why หรือ วันเวลาที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลที่เกี่ยวข้อง
  11. More minor texts/references หรือ เอกสารหรือข้อมูลอ้างอิงรองลงมา
  12. Core principles or ways of thinking หรือ แก่นของหลักการ หรือแนวคิดหลัก

ทั้ง 12 ประเด็นที่ต้องหาคำตอบและคำอธิบายทั้งหมดนั้น แท้จริงแล้วเป็นบริบทของการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ… ซึ่งความเห็นส่วนตัวผมมองว่า การหาทางตอบประเด็นต่างๆ จนครบทั้งหมดได้ “คนตอบหรือเติมข้อมูลได้เรียนรู้ประเด็นต่างๆ ไปครบหมดแล้ว

และทั้งหมดนั่นคือข้อมูลหรือความรู้ที่สะสมได้เพียงพอที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการโดยเครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Organisers  ในขั้นต่อไป

บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts