Thai Kids Reader

MDE… กรณีศึกษา Learning Resources Listing

ประเด็นทรัพยากรการเรียนออนไลน์ หรือ Learning Resources ในวันที่ระบบการศึกษาต้องยกระดับไปพึ่ง eLearning กันทั้งโลก และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้… eLearning เป็นหนทางทางเดียวที่เหลืออนาคตที่สุด

ประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ อย่างอังกฤษ อเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น ทั้งหมดพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาบนแพลตฟอร์มดิจิตอลกันมานานและต่อเนื่อง วิกฤตคราวนี้จึงดูเหมือนจะมีปัญหาน้อยกว่าประเทศล้าหลัง ที่ยังทำมาหากินกับกิจการ “ขายเป้ใส่หนังสือและขายหนังสือใส่เป้” กันอยู่… ครูอาจารย์สายดิจิตอลในประเทศล้าหลังที่อยากพัฒนา ก็ทำได้แค่หา Digital Resources มาเสริมหนังสือและกระดานดำ หรือไม่ก็ได้แค่ทำ Teacher Made Resource ประเภททำคลิปด้วยมือถือ แปลง PowerPoint เป็น CAI และใช้เพลงละเมิดลิขสิทธิ์กันตามมีตามเกิด… ด้วยงบประมาณส่วนตัว

ประเด็นคือ… Digital Resource และ Education Contents ที่เรามีเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน “ได้มาตรฐานเทียบเท่าหนังสือและตำราเรียนแทบไม่มีเลย” เพราะวิสัยทัศน์เรื่อง eLearning บ้านเราตรงเข้าหาคอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ตมากกว่า… พอเกิดวิกฤตจนทำให้เด็กๆ แบกเป้ใส่หนังสือไปโรงเรียนไม่ได้ Contents Digital สำหรับเด็ก ครูหรือผู้ปกครองจึงมีน้อยมากๆ เหมือนที่เป็นอยู่… แต่การขาดแคลนนี้เป็นเหมือนกันหมด ตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาครับ อย่าตกใจไป!… และประเทศล้าหลังทางการศึกษาอีกนับร้อยประเทศทั่วโลกก็ขาดแคลนแบบเดียวกันนี้ทั้งหมด

ผมเอาตัวอย่างที่ไม่ขาดแคลนอย่างกรณีของ Mississippi Department of Education หรือ หน่วยงานศึกษาธิการของรัฐมิสซิสซิบปี ที่เผยแพร่แนวปฏิบัติชื่อ Learning-at-Home Resources for Districts ผ่านเวบไซต์ mdek12.org ที่รวบรวมลิงค์รายการ หรือ Listing สื่อการสอนและทรัพยากรทางการศึกษา แนะนำให้นักเรียนและผู้ปกครองหรือแม้แต่ครูอาจารย์นักการศึกษา เข้าถึงทรัพยากรส่งเสริมการศึกษามากมาย

จริงอยู่ MDE หรือ Mississippi Department of Education ดูแลนักเรียน ผู้ปกครองและครูอาจารย์ในรัฐมิสซิสซิบปี ที่ใช้ภาษาอังกฤษภาษาเดียวเรียนรู้เป็นหลัก และพวกเขาเข้าถึงทรัพยากรเปิด หรือ Open Resource ที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งมีอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ต แค่ตั้งทีมขึ้นมาสืบค้น ทดสอบและทำรายการ หรือ Listed เอาไว้แบ่งปันเท่านั้นเอง

หลายๆ ท่านที่เคยทำ Literature Review, ทดสอบเว็บไซต์หรือทดสอบระบบมาก่อน อาจจะค้านว่า “การสืบค้นและทดสอบ ประเมินและเขียนคำแนะนำ” ไม่ได้ง่าย… อันนั้นก็แล้วแต่มุมมอง เพราะที่สำคัณกว่าก็คือ… หามาได้ยากง่ายไม่เท่ากับหากันมั๊ย และหาเจอทรัพยากรที่มีคุณภาพแค่ไหน และบริหารจัดการหรือใช้ประโยชน์อย่างไร?

ข่าวร้ายก็คือ… Digital Learning Resources ภาษาไทยหาที่ไหนไม่ได้เลยต่างหาก นอกจากประเทศไทย ถ้าหาแล้วไม่เจอก็แปลว่ามันไม่มี หรือหาแล้วพอมีแต่ไม่ดีอย่างที่ต้องการ… ผมว่าเรามี 2 ทางเลือกครับ… เลิกสนใจภาษาไทยไปเลยทางหนึ่ง หรือไม่ก็ต้องมีใครซักคนควักกระเป๋าให้พวกมือถึงมาสร้างทรัพยากรเหล่านี้ขึ้นมา

ขอไม่บอกน๊ะครับว่าผมเชียร์ทางไหน!!!

Education Contents ของ Myanmar

อ้างอิง

https://mdek12.org/DistrictResources

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts