MemComputer… คอมพิวเตอร์ทางเลือกสำหรับการประมวลผลระดับเดียวกับควอนตัมคอมพิวเตอร์ #DeepTechDriven

วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีระบบประมวลผลในปี 2023… คอมพิวเตอร์แบบที่เราใช้งานอยู่ ทั้งในรูปแบบคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ไปจนถึงเชิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ และ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ถูกใช้งานอยู่ในปัจจุบัน… ได้ถูกจัดกลุมเรียกชื่อใหม่ให้เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม หรือ Traditional Computers และ ยังถูกระบุว่าเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เชื่องช้า สิ้นเปลือง และ ด้อยประสิทธิภาพต่องานประมวลผลยุคใหม่ที่มีข้อมูลมหาศาล และ ยังมีตัวแปรหลากหลาย–ซับซ้อน–เกี่ยวพัน–เชื่อมโยงรอให้คอมพิวเตอร์ทำงานยากๆ เหล่านั้นให้เร็วกว่าเดิม ประหยัดกว่าเดิม และ มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม

แต่ในวงการวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็สามารถประดิษฐ์ควอนตัมคอมพิวเตอร์ หรือ Quantum Computers มาใช้ในงานประมวลผลขั้นสูง และ ขั้นประยุกต์ได้นานแล้ว และ ปัจจุบันยังมีบริการ Quantum Computing-as-a-Service หรือ QCaaS ในเชิงพาณิชย์แล้วด้วย… แต่ค่าใช้จ่ายที่มาจากต้นทุนการบำรุงรักษา Quantum Computers ที่ต้องการสภาพแวดล้อมเฉพาะ และ ต้องใช้วิศวกรมากประสบการณ์ในการดูแลระบบ ก็ได้กลายเป็นอุปสรรคในการคิดนำ Quantum Computers มาสู่การใช้งานประมวลผลที่คอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิมก็ทำได้ เพียงแต่ช้าและสิ้นเปลืองหน่อย… แต่โดยรวมก็ยังถือว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้ Quantum Computers อย่างเทียบกันไม่ได้

3 มิถนายน 2015… Prof. Massimiliano Di Ventra จาก University of California, San Diego และ คณะ ก็ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเรื่อง Memcomputing Np-Complete Problems In Polynomial Time Using Polynomial Resources And Collective States ลงวารสาร Science Advances… ซึ่งเป็นการเปิดกระบวนทัศน์ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยเผยแพร่การออกแบบ และ การสร้างต้นแบบ “คอมพิวเตอร์คล้ายสมองมนุษย์” เครื่องแรกที่ก้าวข้ามขีดจำกัดทางโครงสร้างของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่… โดยคอมพิวเตอร์แบบใหม่นี้ถูกเรียกว่า Memcomputer 

Memcomputer มีความโดดเด่นในการประมวลผลคล้ายสมองมนุษย์คือ “จำไว้ตรงไหน ก็ประมวลผลที่ตรงนั้น” ซึ่งแตกต่างจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม หรือ Traditional Computers ที่แยกเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ และ ดึงข้อมูลมาประมวลผลตามลำดับ… แต่ Memcomputer จะเก็บข้อมูลและประมวลผลในโปรเซสเซอร์ที่เดียว… ไม่ต่างจากการใช้คอมพิวเตอร์แบบไม่มี RAM ในระบบให้ต้องย้ายข้อมูลไปมา

รายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมยังไม่คุยน๊ะครับ… ท่านที่สนใจจริงจังกรุณาตามข้อมูลจากงานวิจัยของ Prof. Massimiliano Di Ventra โดยตรงที่นี่ หรือหาหนังสือของอาจารย์ชื่อ MemComputing: Fundamentals and Applications มาศึกษาเพิ่มเติมดีกว่าครับ

ส่วนความร้อนแรง และ ความน่าสนใจของ Memcomputer นั้น… ในวงการวิทยาศาสตร์ และ การวิจัยด้วยข้อมูลชั้นสูงต่างก็ยกให้ Memcomputer เป็น Alternative Quantum Computing ที่สามารถประมวลผลได้ใกล้เคียงกับ Quantum Computers ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากวิทยาศาสตร์ควอนตัม… ในขณะที่ Memcomputer กลับถูกสร้างขึ้นจากฟิสิกส์พื้นฐานไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำใช้ในการประมวลผลตั้งแต่ระดับใช้งานทั่วไป ไปจนถึงการประมวลผลชุดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในงานวิจัยที่ซับซ้อน ซึ่งถูกจับตาและกล่าวขวัญในแวดวงวิทยาศาสตร์ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างมาก… 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts