Metacognition Skills and 8-Layer Model for Metacognitive Skills in Kindergarten… ทักษะด้านอภิปัญญาและบันได 8 ขั้นของทักษะด้านอภิปัญญาในเด็กอนุบาล #ReDucation

NeuroEducation เป็นคำใหญ่ในกระแสใหม่ของโลกการศึกษา ซึ่ง NeuroEducation ได้รวมเอาวิทยาการทางประสาทวิทยา หรือ Neuroscience… วิทยาการด้านจิตวิทยา หรือ Psychology และ ปรัชญาศึกษาศาสตร์ หรือ ปรัชญาการสอน หรือ Pedagogy มาบูรณาการจนกลายเป็น Mind-Brain-Education Model เพื่อนำใช้เป็นทั้งปรัชญาการเรียนรู้ และ กระบวนการเรียนรู้ด้วยฉากทัศน์ใหม่… ซึ่งให้ความสำคัญกับธรรมชาติของสมอง และ กลไกทางประสาทวิทยามาเป็นฐานในการส่งเสริมการเรียนรู้ และ พัฒนากิจการด้านการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกประเภท โดยมีผลลัพธ์อันพึงประสงค์ขั้นสุดท้ายที่ต้องการให้ผู้เรียนมีทักษะรู้คิด หรือ ทักษะอภิปัญญา หรือ Metacognitive Skills อันจะทำให้ผู้เรียน “รู้ความที่จะรู้คิด หรือ Aware to Thinking” อันเป็นขั้นการใช้สติปัญญาตนเพื่อให้ตนได้ข้อสรุปเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด หรือ อย่างน้อยก็จะได้ข้อสรุปว่าควรเรียนรู้เพิ่มเติมอีกหน่อยค่อยตัดสินใจอีกครั้ง… ซึ่งเป็นการคิดขั้นสูง หรือ High-Order Thinking ที่ประกอบด้วยทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking Skills… ทักษะการโน้มน้าว หรือ Motivation Skills และ ทักษะการวางแผน หรือ Planning Skills อันเป็นทักษะหลัก 3 แบบที่คนฉลาดๆ และ คนมีพรสวรรค์ทุกคนมีเหมือนๆ กัน

บทความทางวิชาการจาก Sciencerepository.org เรื่อง An 8-Layer Model for Metacognitive Skills in Kindergarten โดย Athanasios Drigas กับ Georgia Kokkalia และ Alexandra Economou ซึ่งได้ศึกษา และ นำเสนอแนวทางการพัฒนา Metacognitive Skills ให้เด็กอนุบาล โดยมีการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับกระบวนวิธี และ การวิจัยมากมายที่ศึกษา Neuroscience และ NeuroEducation ในเด็กปฐมวัย ซึ่งนักการศึกษาจาก National Centre of Scientific Research Demokritos หรือ N.C.S.R. Demokritos ประเทศกรีซทั้ง 3 ท่าน ได้นำเสนอ บันได 8 ขั้นของทักษะด้านอภิปัญญาในเด็กอนุบาล หรือ 8-Layer Model for Metacognitive Skills in Kindergarten ที่ถูกโมเดลขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ และ กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล… ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ จิตวิทยาพัฒนาทุกด้านของเด็กก็กำลังหิวกระหายการเรียนรู้ จนเก็บซ่อนความอยากรู้อยากเห็นไว้ไม่ได้

ประเด็นที่น่าสนใจจากบทความที่อ้างอิงข้างต้นก็คือ… การอธิบายถึง Metacognitive Skills ในรูปแบบที่จับต้องได้ ซึ่งคำว่า Metacognitive หรือ Metacognition ไม่ได้เป็นคำใหม่ในกิจการด้านการศึกษาเลย แต่ถูกอ้างอิงในทฤษฎีฐาน หรือ Grounded Theory ด้านการศึกษามานานมากแล้ว และ Metacognitive โดยพื้นฐานก็เป็นความสามารถของปัจเจกบุคคลในการรู้คิด รู้ความ และ รู้ตัว ซึ่งสำคัญกับการควบคุมตน และ ปรับเปลี่ยนตนเพื่อให้เป็นตนที่ดีกว่าเดิมได้เรื่อยๆ แต่ก็เป็นคนละประเด็นกับ “ประสิทธิภาพของอภิปัญญา หรือ Metacognitive ในแต่ละบุคคล” ซึ่งนักวิจัยจาก N.C.S.R. Demokritos ได้ศึกษาผ่านโดเมนการส่งเสริมพัฒนาการที่เป็นองค์ประกอบรองมากมาย เช่น ความทรงจำฐาน หรือ Metamemory หรือ Socratic Awareness… การติดตาม หรือ Monitoring… การซึมซับองค์ความรู้ หรือ Feeling of Knowledge… การปรับแต่งการเรียนรู้ หรือ Judgment of Learning และ เงื่อนไขแห่งองค์ความรู้ หรือ Conditional Knowledge… ซึ่งทั้งหมดสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพได้ด้วยการขัดเกลาใส่ประสบการณ์ให้ความสนใจใฝ่รู้ หรือ Attention กับ ความจำระยะสั้น หรือ Short-term Memory และ ความจำระยะยาว หรือ ความจำใช้งาน หรือ Working Memory… โดยมีงานวิจัยอื่นๆ อีกมากมายยืนยันว่า อภิปัญญามีที่มาที่สำคัญจากการทำงานของสมอง และ สติปัญญาของเด็ก โดยเฉพาะสติปัญญาในการรู้คิดเพื่อแก้ปัญหา… ตัวอย่างการศึกษาของ David Whitebread ในปี 2009 กับงานวิจัยเรื่อง Play, Cognition And Self-Regulation: What Exactly Are Children Learning When They Learn Through Play? ที่พบว่า เด็กอายุ 3-5 ปีแสดงพฤติกรรมเชิงอภิปัญญาทั้งทางวาจา และ ทางอวัจนภาษา หรือ ภาษากายในระหว่างการแก้ปัญหา รวมทั้งการอวดโอ่ความรู้ที่ตนมีอย่างชัดแจ้ง แสดงการควบคุมทางความคิด และ การควบคุมอารมณ์ตัวเองให้เห็นด้วย

ประเด็นก็คือ… 8-Layer Model ที่ใช้ในงานวิจัยเรื่อง An 8-Layer Model for Metacognitive Skills in Kindergarten ของ Athanasios Drigas และคณะ เป็น 8-Layer Model ที่รู้จักกันดีในหมู่นักจิตวิทยาการศึกษาในชื่อพีระมิดแห่งความรู้ หรือ The Knowledge Pyramid  ซึ่งประกอบไปด้วย…

  1. Stimuli หรือ สิ่งเร้า… ใช้กระตุ้นระบบประสาทและสมอง
  2. Data หรือ ข้อมูล… เป็นองค์ประกอบ และหรือ ตัวแปร รวมทั้งการสื่อสารที่ไม่มีโครงสร้างและรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
  3. Information หรือ สารสนเทศ… ซึ่งเป็นข้อมูล และหรือ ตัวแปรที่เชื่อมโยงถึงกัน และ ใช้เพื่อการสื่อสารได้ดีมาก
  4. Knowledge หรือ องค์ความรู้… ซึ่งเป็นข้อมูลจากการยอมรับ และ ความสนใจ โดยถูกจัดระเบียบให้ข้อมูล ตัวแปร ข้อเท็จจริง และ หลักการเข้าไว้ด้วยกัน
  5. Expertise & Discrimination หรือ ความเชี่ยวชาญ และ ทางเลือก… ที่เป็นการประยุกต์ความรู้ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสะสมและใช้ประสบการณ์ กับ ทักษะ
  6. Self-Actualization หรือ ความต้องการพัฒนาศักยภาพตน… อันเป็นความปรารถนาในการสร้างสรรค์ผลงาน ประดิษฐ์และพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการเรียนรู้ทักษะที่สูงขึ้น
  7. Universal Knowledge หรือ การทำให้องค์ความรู้เป็นสากล… ซึ่งองค์ความรู้ ผลงานสร้างสรรค์ และ นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ถูกถ่ายทอด แบ่งปันและอ้างอิงในวงกว้าง 
  8. Higher-Order Thinking & Transcendence หรือ การคิดขั้นสูง และ การก้าวข้ามตัวตน… ซึ่งเป็นขั้นหลุดพ้นที่บุคคลได้เข้าถึงปรัชญาสูงสุดที่องค์ความรู้ทั้งหมดในตัวมีมากมายจนว่างเปล่า ไม่เหลือยุ่งยาก ไม่มีซับซ้อน และ อะไรอีกมากที่สติปัญญาขั้นนี้สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ วางแผนและชักชวนโน้มน้าวตนเองและผู้อื่นได้ไม่ยาก 

จะเห็นได้ว่า… การผลักดันเด็กอนุบาลให้พัฒนาทักษะตนโดยไต่พีระมิดแห่งความรู้ หรือ The Knowledge Pyramid ทั้ง 8 ขั้นคงเป็นไปได้ยาก และ ต้องการคำอธิบาย กับ การตีความซ้ำ และ ตัวอย่าง กับ กรณีศึกษาอีกเยอะอยู่… ไว้ต่อคราวหน้ามาต่อให้น๊ะครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts