ความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีการศึกษาในช่วงครึ่งหลังปี 2022 ซึ่งเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต และ เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังหลอมรวมเพื่อเป็นเสาหลักสำหรับอินเตอร์เน็ตยุคที่ 3 หรือ WEB 3.0 เริ่มเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงของ LMS หรือ Learning Management Systems และ MOOCs หรือ Massive Open Online Courses… ถูกอัพเกรดไปใช้ Blockchain และ MetaVerse เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการเผยแพร่ความรู้กันมากจนกลายเป็นกระแส…
แต่โดยสาระหลักก็ยังถือว่าไม่มีอะไรใหม่ให้ถกเถียง–บอกเล่า–แบ่งปันในเชิงเทคโนโลยีมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นความเคลื่อนไหวของการลงทุนเพื่อเตรียม LMS และ MOOCs ให้มี Education Contents เพื่อช่วงชิงการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ตกันอย่างคึกคัก… ซึ่งถ้ามองภาพใหญ่เชิงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในแต่ละเป้าหมาย… ความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีการศึกษาในช่วงที่ผ่านมายังถือว่าเป็นช่วงริเริ่ม โดยยังเห็น Education Contents ในรูปแบบ “โทรทัศน์ทางการศึกษา และ Slide Based Contents” เกือบจะ 100% ก็ว่าได้… เว้นแต่ Digital Education บน MetaVerse ที่กำลังกลายเป็นความท้าทายใหม่ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับ Ivy League ทั่วสหรัฐ รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำในหลายประเทศที่กำลังหาทางสร้าง Metaversity หรือ MetaVerse–University กันอย่างคึกคัก
Metaversity เป็นแนวคิดในการพัฒนาสถาบันการศึกษาในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งได้รวมเทคโนโลยี VR กับ AR และ Digital Twin ของวิทยาเขตจริงมาไว้บน MetaVerse หรือ จักรวาลนฤมิตร โดยนักศึกษาและคณาจารย์จะสื่อสารโต้ตอบกันและกันผ่าน Digital Twin ซึ่งวิสัยทัศน์ Metaversity จะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถขยายขนาด และ รับสอนลูกศิษย์ได้เพิ่มขึ้นกว่าการสอนในชั้นเรียน หรือ ห้องเลคเชอร์แบบเดิมมาก… นอกจากนั้นยังสามารถพัฒนา และ แบ่งปัน Education Contents ได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และ 7 วันต่อสัปดาห์ได้อย่างปลอดภัยราบรื่นไม่ต่างกันทั่วโลก… ซึ่งทั้งหมดจะเข้าถึงได้ผ่านแพลตฟอร์ม MetaVerse ของสถาบันต่างๆ เหมือนที่นักเล่นเกมทั่วโลกเข้าไปใช้ชีวิตที่สองในโลกของเกมบน MetaVerse นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม… Metaversity ต้องใช้เงินลงทุนทั้งกับ Platform และ Contents ไม่น้อย… โดยการพัฒนาระบบนิเวศ Metaversity จะต้องการเงินลงทุนไม่น้อยกว่าการพัฒนาเกมที่ใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกัน
ประเด็นก็คือ… Metaversity สำหรับนักเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์จะไม่ได้มองว่าเป็นกระแสธรรมดาเหมือนการทำ eLearning และ Digital Learning ในช่วงก่อนหน้านี้แต่อย่างใด… เพราะหลายวงสัมนา และ งานวิจัยล่าสุดจากหลายมหาวิทยาลัย เช่น Todai หรือ University of Tokyo ในญี่ปุ่น… GDUT หรือ Guangdong University of Technology หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกวางตุ้ง ในประเทศจีน… Mahindra University ในเมือง Hyderabad ในประเทศอินเดีย… NTU หรือ Nanyang Technological University ในสิงคโปร์… Stanford University กับ New Mexico State University และ University of Maryland Global Campus ในสหรัฐอเมริกา… KAIST หรือ Korea Advanced Institute of Science and Technology ในเกาหลีใต้ และ UCL หรือ University College London ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น… ล้วนทดสอบ VR กับ AR และ Digital Twin พร้อมตีพิมพ์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอออกมาระยะหนึ่งแล้ว… ถ้ามีข่าวมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเริ่มขับเคลื่อนพ้น eLearning และ MOOCs แบบ “โทรทัศน์ทางการศึกษา และ Slide Based Contents” ได้น่าสนใจจะเอาข้อมูลมาแบ่งปันครับ!
References…