Middle Management… คนกลางผู้เป็นกาวในองค์กร #ExtremeLeadership

ในโครงสร้างระดับองค์กรซึ่งบทบาทหน้าที่ของตำแหน่งต่างๆ ในโครงสร้างการจัดการจะชัดเจนว่า… มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง “ผู้นำ หรือ Leader” ซึ่งได้บทบาทในการกำหนด และ กำกับวิสัยทัศน์ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคลในโครงสร้างองค์กรภายใต้ความรับผิดชอบทั้งหมด… โดยจะแตกต่างจากบทบาทในระดับ “ผู้จัดการ หรือ Manager” ซึ่งจะรับหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยกลไกการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน กับ กลยุทธ์ และ วิสัยทัศน์… ความสำเร็จ และ การบรรลุเป้าหมายขององค์กรทั้งหมดจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้นำ หรือ Leader เพียงบทบาทเดียว… เพราะความสำเร็จล้มเหลวตามวิสัยทัศน์–พันธกิจทั้งหมดขององค์กรจะขึ้นอยู่กับ “ความสำเร็จล้มเหลวของทรัพยากรบุคคลในโครงสร้างองค์กรระดับ Manager” ทั้งหมด… ซึ่งภาระ และ ความรับผิดชอบของ Manager หรือ คนที่มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ผ่านทรัพยากรบุคคลระดับปฏิบัติการ หรือ พนักงาน หรือ ลูกทีม โดยยังคงต้องทำหน้าที่รายงานความสำเร็จล้มเหลวรายกลยุทธ์ต่อผู้นำอีกด้วย

บทบาทของ Manager ซึ่งเป็นตำแหน่งกึ่งกลางในโครงสร้างการจัดการระหว่างพนักงาน กับ ผู้นำ… จึงมักจะถูกเรียกโดยรวมว่าเป็น Middle Management ซึ่งเป็นการเรียกรวมถึงชื่อตำแหน่งงานอื่นๆ ที่ไม่ได้เรียกว่า “Manager หรือ ผู้จัดการ” ก็ถือว่าใช่หมด… 

บทความของ Assistant Professor, Dr.Zahira Jaser จาก University of Sussex Business School ยืนยันว่า… คุณค่าของ Middle Management คือ “กาว” ชั้นดีที่สามารถเชื่อมผู้นำองค์กร เข้ากับ พนักงานขององค์กรทั้งหมดที่ต้องร่วมกับขับเคลื่อนองค์กรไปพร้อมกัน และ ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันด้วย

ประเด็นก็คือ… Middle Management เป็นตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบแบบกึ่งบริหาร หรือ Semi-Executive Position ซึ่งมีอำนาจสั่งการทรัพยากรบุคคลภายใต้ความรับผิดชอบได้ทั้งหมด แต่ต้องเป็นข้อสั่งการโดยความเห็นชอบของผู้นำในสายการสั่งงานเหนือตน รวมทั้งผู้นำสูงสุด ซึ่งทำงานไม่ง่าย และ ท้าทายอย่างยิ่งในหลายกรณี

Dr.Zahira Jaser อธิบายถึงคุณค่าที่แท้จริงของ Middle Management เพิ่มเติมว่า… Middle Management มีความสำคัญยิ่งกว่าในอดีตในยุคที่สถานประกอบการส่วนใหญ่ต้องทำงานทางไกล หรือ Remote Work และ ทำงานแบบผสม หรือ Hybrid Work… ซึ่ง Middle Management จะรับบทบาท “กาว หรือ คนประสานงาน” ให้การขับเคลื่อนแผน และ กลยุทธ์ภายใต้ความรับผิดชอบสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม… Middle Management สำหรับโครงสร้างองค์กรยุคใหม่ที่ไม่ซับซ้อน โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่ขับเคลื่อนเป้าหมายเดียว หรือ ตลาดเดียว หรือ ผลิตภัณฑ์เดียว ซึ่งนิยมตัด Middle Management ออกจากโครงสร้างทั้งหมดเพื่อให้เกิดการสั่งงานโดยตรงระหว่าง Leader ถึง Team ถึงทีม และ เกิดการรายงานโดยตรงจาก Team ถึง Leader แบบสองทาง… ซึ่ง Middle Management ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคในการสื่อสารสองทาง และหรือ เป็นส่วนเกินในระบบนิเวศองค์กรที่ต้องการลำดับการสั่งงานสั้นให้มากที่สุด… แต่ก็ต้องแลกกับความรับผิดชอบของผู้นำที่ต้องรับทั้งบทบาท “ผู้นำ” และ บทบาท “ผู้จัดการ” ซึ่งก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย… โดยเฉพาะข้อเสียที่ไม่มี “กาว และ คนกลาง” เพื่อลดแรงเสียดทานระหว่างผู้นำ กับ พนักงาน ที่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องรับผิดรับชอบอะไรๆ ที่เกี่ยวกับตนไปตรงๆ

อย่างไรก็ตาม… หลายองค์กรยุคใหม่กำลังใช้งาน Application และ Robotics Technology เข้ามาทำหน้าที่ “กาว และ คนกลาง” เพื่อให้การสั่งงานระหว่างผู้นำ กับ พนักงาน… มีช่องว่างมากพอที่จะไม่เกิดแรงเสียดทานจนกลายเป็นอุปสรรค และ ยังสามารถติดตามงานได้ใกล้ชิดแบบเรียลไทม์กว่าเดิม ทั้ง Remote Work และ Hybrid Work โดยแทบจะไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร

ท่านที่สนใจทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ Automation & Robotics Technology มาใช้ในองค์กรระดับ Hyper-Transformation… ทักผมทาง Line ID: dr.thum ครับ

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts