Minecraft Education Edition

Minecraft Education Edition และ Teacher Academy #ReDucation

ประเด็นการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบมุ่งเป้าการมีส่วนร่วม หรือ Engage ของผู้เรียน โดยเฉพาะในผู้เรียนระดับปฐมศึกษาและมัธยมศึกษา อันเป็นช่วงวัยที่ยังต้องใช้ปรัชญาการศึกษาในแบบ Pedagogy ซึ่งต้องพึ่งพาการนำของผู้สอนหรือครูอย่างสำคัญ โดยเฉพาะบทบาทของครูในสถานศึกษา และ ห้องเรียน อันเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ “เคยดีที่สุด” มานานหลายร้อยปีเลยก็ว่าได้

แต่เมื่อถึงคราวที่ทั่วโลกต้องจัดการเรียนการสอนออนไลน์คู่ไปกับออนไซต์ หรือ Hybrid Learning ในคราวที่การเกณฑ์เด็กๆ มาอยู่รวมกัน อาจหมายถึงการละเมิดสิทธิเด็กถึงขั้นทำให้สวัสดิภาพเด็กถูกละเมิดจากความเสี่ยงทางระบาดวิทยา… ในขณะที่เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารในยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสามารถทดแทนการไปเรียนออนไซต์ได้ค่อนข้างดี ยกเว้นประเด็นการมีส่วนร่วม หรือ Engage ของผู้เรียน อันเป็นประเด็นใหญ่ที่การศึกษาออนไลน์ในแนวทาง Padagogy ยังไม่สามารถรับประกันพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้…

ความพยายามที่จะออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์โดยมุ่งเป้าการมีส่วนร่วมของผู้เรียนให้ได้ดีกว่าการเรียนการสอนออนไซต์ จึงเป็นความพยายามที่มีมาตลอด โดยมีแนวทางการเรียนการสอนแบบ Gamification Learning ถูกคาดหวังว่าจะเป็นแนวทางหลักอีกหนึ่งกระบวนวิธี เพื่อให้เนื้อหาทางวิชาการและบทเรียนที่ผู้เรียนจำเป็นต้องได้เรียนรู้… ดึงดูดการมีส่วนร่วมของผู้เรียนทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเรียนออนไลน์หรือออนไซต์

Gamification Learning เป็นกระบวนวิธีการจัดการเนื้อหาทางวิชาการและบทเรียนเพื่อการศึกษาในแนวทางของการเล่นตามเงื่อนไข หรือ Game โดยเฉพาะการใช้กลยุทธ์ “ดึงดูดการมีส่วนร่วมแบบเกม” มาใช้เป็น Agōgos ในภาษากรีก หรือ Guide ในภาษาอังกฤษ หรือ การนำและการอบรมบ่มนิสัยในภาษาไทย… ซึ่งคำว่า Agōgos นี่เองที่ผันรูปมาเป็น Gogy ต่อท้าย Peda หรือ Pediatric ที่แปลว่าเด็ก เพื่อใช้เป็นชื่อปรัชญาการศึกษาว่า Pedagogy

Gamification ในบทบาทเครื่องมือสอนในแนวทาง Pedagogy จึงมีมิติทางเทคนิคให้นักการศึกษาที่ต้องการใช้ Gamification เพื่อจัดการเรียนการสอน… จำเป็นต้องเข้าใจแก่นของการประยุกต์ให้มาก ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนด้วย Gamification ในปัจจุบันจะพัฒนามาไกลถึงขั้นเรียนรู้การใช้งานแอพ หรือ ซอฟแวร์ทำ Gamification ให้เป็นก็หว่านให้ผู้เรียนได้เลย… ซึ่งครูอาจารย์ที่ละเอียดอ่อนพอก็จะทราบว่า… หลายแง่มุมและบริบททางการศึกษายังมีประเด็นมากมายให้ “คิดลึก” อีกหน่อยก็จะดีกว่านั้นมาก

ผมเป็นห่วงหลายกรณีในความเคลื่อนไหวเรื่อง Gamification Learning โดยเฉพาะกรณีการสัมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักการศึกษา และ ครูอาจารย์ที่เพียงแต่ “คลิกเม้าส์กับไถจอเป็น” ก็มานั่งบรรยายเรื่อง Gamification Learning แบบคนรีวิวแอพให้คนรู้น้อยกว่าฟังเท่านั้น… ซึ่งถ้าท่านเป็น YouTuber ทำคลิปตามแรงบรรดาลใจก็เรื่องหนึ่ง… แต่ถ้าท่านจัดสัมนาทางวิชาการ และ ได้เวทีพูดถึงสิ่งสำคัญอย่าง “การศึกษา” ไม่ว่าจะประเด็นเล็กหรือใหญ่… คิดเยอะๆ เรียนรู้เยอะๆ ก่อนจะพูดเรื่อยเปื่อยเยอะๆ น่าจะดีกว่า… ซึ่งผมเห็นมีหลายเวที่ LIVE กันสนุกสนานยังกะทอร์คโชว์ก็มี

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… Gamification แบบที่ครูอาจารย์และนักการศึกษาส่วนหนึ่งที่สนใจ Gamification ได้แต่ “งมๆ คลำๆ กันไปแบบ “เท่านี้ก็ดีแล้ว” น่าจะทำลาย Gamification มากกว่าจะส่งเสริมการใช้… โดยเฉพาะการทำเกมลวกๆ ไปใช้กับเด็กที่เกิดหลังยุคสมาร์ทโฟน ซึ่งการนำบทเรียนไปแปลงเป็นเกม และ ทำโมเดล Gamification เตรียมสอนเพื่อดึงดูดการมีส่วนร่วมของผู้เรียนจริงๆ ควรจะถูกพิจารณาใช้เครื่องมือจากเกมจริงๆ ที่เด็กส่วนใหญ่เล่นอยู่แล้วอย่างชัดเจน น่าจะดีกว่า…

ผมกำลังพูดถึง Minecraft Education Edition ซึ่ง MicroSoft เข้าซื้อ Minecraft ด้วยเงิน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วงกลางปี 2014 และ เผยแพร่ Minecraft Education Edition เพื่อให้สถาบันการศึกษานำไปใช้เป็นเครื่องมือทำ Gamification ได้ทั่วโลก

Minecraft Education Edition ในปัจจุบันมีบทเรียนที่ถูกทำเป็น Gamification Learning Content หรือทำเป็น Learning Resources เอาไว้แล้วมากกว่า 500 บท ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นทรัพยากรแบ่งปันฟรีให้ครูอาจารย์เอาไปใช้ได้ทันที หรือ เอาไปปรับแต่ง หรือ เอาแนวคิดไปออกแบบต่อยอดได้ทันทีตามความต้องการ

อย่างไรก็ตาม… โดยส่วนตัวอยากให้ครูอาจารย์ที่สนใจ Gamification ไปเรียนออนไลน์หลักสูตร Minecraft: Education Edition: Teacher Academy ก่อนจะใช้ Minecraft Education Edition กับนักเรียนจริงๆ น่าจะดีกว่ามาก… ผมว่าดีกว่าเสียเวลาไปตามฟังบรรยายเทคนิคการคลิกแอพและไถจอที่เป็นเพียงการใช้ Gamification เป็นลูกเล่นก๊อกๆ แก็กๆ ซึ่งเสียของ!!!

ดูคลิปลุงพียาวไม่ถึง 10 นาทีต่อเลยครับ แล้วจะเข้าใจ…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts