iLab

MIT iLab… ฝึกปฏิบัติผ่านอินเตอร์เน็ต #ReDucation

วิศวกรในวงการวิศวกรรมทางการทหารส่วนใหญ่ ย่อมจะเคยได้ยินชื่อ Red Lab หรือ Radiation Laboratory ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทางวิศวกรรม หรือ Engineering Science Laboratory ที่ตั้งขึ้นหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงปลายทศวรรษปี 1950 ถึง 1960 ใน Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT โดยมีกลุ่มนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และ วิศวกร ที่รับงานพัฒนาเรดาห์ทางทหารเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง… ได้กลายมาเป็นคณาจารย์ และ นักวิจัยที่ร่วมกันสร้าง MIT จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาวิศวกรรมชั้นสูงของโลกจนถึงปัจจุบัน

บทความในชุด #ReDucation เรื่อง MIT OpenCourseware ได้เกริ่นถึงวิสัยทัศน์ MIT ว่าด้วย OCW หรือ Open Courseware ถึงการแบ่งปันสื่อที่มาจากชั้นเรียนใน MIT อย่างเปิดกว้าง ซึ่งอดีตประธานสภามหาวิทยาลัยกิติมศักดิ์อย่าง Professor Charles M. Vest ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่นี้ สู่แพลต MIT OCW จนเป็นแพลตฟอร์มใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน… ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นด้วยแนวคิดง่ายๆ ตรงไปตรงมาเพียงว่า ทำ MIT OCW ให้เหมือนวางหนังสือไว้บนชั้นในห้องสมุด… เพียงแต่ MIT เปิดกว้างโดยวางสื่อการสอนเอาไว้ให้มากกว่า 2,000 หลักสูตรที่มีเรียนมีสอนที่ MIT จนมีผู้สนับสนุนมากมาย เช่น William and Flora Hewlett Foundation… Andrew W. Mellon Foundation และ MIT ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินส่วนใหญ่แก่ OCW เพื่อสานต่อภารกิจแบ่งปันภูมิปัญญาเสรี

รายละเอียดการจัดการองค์ความรู้แบบ MIT ยุคใหม่ภายใต้แนวคิด Opencourseware ซึ่งพัฒนาบนวิสัยทัศน์ Sofia หรือ Sharing of Free Intellectual Assets ยังมีรายละเอียดและแง่มุมน่าสนใจมากมายให้พูดถึง ซึ่งข้อสังเกตุส่วนตัวในมุมมองของผม… ย้ำว่ามุมมองส่วนตัว! มองว่า… การบริหารหลักสูตรที่ MIT ในปัจจุบันมีลักษณะเป็น “โครงการ” มากกว่าจะเป็น Course Syllabus แบบโลกเก่าที่ผูกชุดความรู้ที่นักศึกษาจะต้องตามสะสมเครดิตการเรียนจนครบตามลำดับ… ในขณะที่การเรียนยุคใหม่ไม่มีปัญหาเรื่องงานทะเบียนวัดประเมินความรู้เพื่อออกใบรับรองการจบการศึกษา… Course Syllabus แบบใหม่จึงไม่มีลำดับเคร่งครัดแบบเก่า

นอกจากนั้น… วิสัยทัศน์ MIT OCW ยังมีการก่อตั้ง Web-Based Laboratories ขึ้นภายใต้โครงการ iLab Project หรือ iLabs ซึ่งริเริ่มโดย Professor Jesus del Alamo โดยวางสถาปัตยกรรมระบบ iLabs ภายใต้แนวคิด Online Laboratories – Real Laboratories Accessed Through The Internet… ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถเสริมสร้างการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ ด้วยการขยายขอบเขตการทดลอง ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประโยชน์ในระหว่างการศึกษามากกว่าเดิมมาก ต่างจากห้องปฏิบัติการทั่วไปซึ่งคับแคบ และ จำกัดการเข้าใช้… ในขณะที่ iLabs สามารถแชร์ข้ามมหาวิทยาลัยได้ทั่วโลก… ซึ่งวิสัยทัศน์ของ iLabs เรื่องการแบ่งปันอุปกรณ์ราคาแพง และ สื่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการทดลองในห้องปฏิบัติการให้กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถือเป็นการยกระดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปอีกขั้นแล้ว

ที่น่าสนใจสุดๆ ก็คือ… โครงการ iLabs ได้ทุนทำโครงการ iCampus ซึ่งริเริ่มร่วมกันระหว่าง Microsoft Research และ MIT โดยออกแบบเพื่อให้นักศึกษา MIT สามารถใช้อุปกรณ์ทดลองจากห้องพักในหอพัก หรือ จากสถานที่เรียนอื่นๆ ได้ตามต้องการแบบใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีสโลแกนว่า… “If you can’t come to the lab, the lab will come to you. ถ้าคุณมาที่แล็บไม่ได้ ห้องแล็บจะไปหาคุณเอง”

ส่วนงานในหน้าตักของ Professor Jesus del Alamo กับวิชา Integrated Microelectronic Devices ผ่าน iLabs ยังมีแง่มุมและรายละเอียดที่น่าสนใจมากมาย… แต่เล่าวันนี้ไม่ไหวครับ! 

ขอบคุณมรดกบทความจาก Professor Charles M. Vest เรื่อง Open Content and the Emerging Global Meta-University บน https://educause.edu ซึ่งเผยแพร่ไว้ ณ วันที่ 1 มกราคม 2006 ก่อนท่านจะเสียชีวิตในวันที่ 12 ธันวาคม ปี 2013… ด้วยจิตคารวะ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts