นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne หรือ École Polytechnique Fédérale de Lausanne ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบเมืองไร้รถ หรือ Car-Free Cities โดยใช้กรุงเจนีวาเป็นต้นแบบ และเสนอให้ใช้ Jetson-style Moving Walkways หรือ ทางเลื่อนเจ๊ทสัน หรือทางเลื่อน ทดแทนการเดินทางในเขตเมือง
Dr.Riccardo Scarinci และคณะ จาก Transport and Mobility Laboratory หรือ TRANSP-OR แห่งวิทยาลัยสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติโลซาน ได้เผยแพร่งานวิจัยเรื่อง European Journal of Transport and Infrastructure Research ซึ่งเป็นงานค้นคว้าข้อมูลทั่วไปเพื่อสืบค้นข้อมูลอ้างอิงและเสนอแนวทางการออกแบบเมืองที่มีทางเลื่อนเป็นช่องทางคมนาคมหลัก สำหรับการเดินทางของผู้คน
ท่านที่เคยใช้บริการทางเลื่อนในสนามบินก็คงจะนึกภาพออกว่า ทางเลื่อนก็คือบันไดเลื่อนแนวราบที่มีใช้ทั่วโลก…
ปัญหาใหญ่ของทางเลื่อนคือเรื่องความเร็วการเดินทางต่ำใกล้เคียงกับการเดินเท้าธรรมดา ซึ่งการออกแบบให้ช้าก็เพื่อให้ผู้ใช้ทางเลื่อนปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงเข้าออกทางเลื่อนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่สุด เมื่อการเดินทางด้วยทางเลื่อนมีอัตราความเร็วต่ำจนแทบจะไร้ประโยชน์ เพราะเวลาในการเดินทางเป็นปัจจัยสำคัญ การออกแบบทางเลื่อนเพื่อใช้งานในเมืองที่จะใช้งานได้จริง จึงต้องแก้ปัญหาเรื่องความเร็ว และหาทางทำให้ “ทางเข้าออกมีความเร็วต่ำ” อยู่ในระดับปลอดภัย
งานค้นคว้าเรื่อง European Journal of Transport and Infrastructure Research จึงได้เสนอแนวคิดรูปแบบการผสมผสานความเร็วของทางเลื่อน 4 แนวทางได้แก่
1. In-line Belts… ทางเลื่อนเทคนิคนี้จะออกแบบให้ทางเข้าออกใช้อัตราความเร็วต่ำกว่าช่วงกลาง โดยใช้ทางเลื่อนหลายชุดวางต่อกันและกำหนดความเร็วแต่ละชุดตามความเหมาะสม
2. Sliding Parallelograms… เทคนิคนี้จะออกแบบให้มีทางเลื่อนสองความเร็วเลื่อนขนานกัน โดยใช้เทคนิคเชิงเลขาคณิตทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมด้านขนานมาช่วยออกแบบ เพื่อให้ได้ทางเลื่อนมีความเร็วหลายระดับให้ใช้งาน
3. Accelerating Rollers… นักวิจัยเรียกเทคนิคนี้ว่าเทคนิคพรมวิเศษ ซึ่งออกแบบโดยใช้ลูกกลิ้งโลหะส่งผู้ใช้ทางเลื่อน เข้าออกสายพานทางเลื่อนความเร็วสูง
4. Sliding Pallets… เทคนิคนี้จะต่างจากการเข้าออกทางเลื่อนวิธีอื่นที่ต้องมี พาเลทให้ยืนแทนที่จะก้าวเท้าเข้าออกทางเลื่อนเหมือนเทคนิคอื่น ซึ่งจะคล้ายกับทางเลื่อนสำหรับนักสกีที่ออกแบบให้คนใช้ต้องยืนบนสกีหิมะก่อนใช้งานระบบ
รายละเอียดทางวิศวกรรมผมไม่อธิบายเพิ่มเติมแล้วน๊ะครับ เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการนำเสนอข้อมูลในโอกาสนี้ เอาเป็นว่า มีคนคิดเรื่อง “ทางเลื่อน แทนทางรถ” มากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลกที่นักวางผังเมืองส่วนหนึ่งเชื่อว่า สามารถแก้ปัญหารถยนต์ส่วนบุคคล ได้ดีกว่าระบบขนส่งสาธารณะแบบอื่นที่เราท่านคงต้องรอดูกันต่อไปว่า… อนาคตของระบบขนส่งสาธารณะจะพัฒนาไปในทิศทางไหน โดยเฉพาะในยุคหลัง COVID-19 ที่กระแส Social Distancing น่าจะอยู่ในเงื่อนไขหลักของการออกแบบการเดินทางในเมืองด้วยอีกเงื่อนหนึ่ง
โดยส่วนตัวผมยังเชื่อเหมือนหลายๆ ท่านว่า แนวคิดนี้ยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดของผังเมืองจากข้อจำกัดมากมาย โดยเฉพาะการลงทุนและการบำรุงรักษาระบบ รวมทั้งเทคนิคการใช้งานที่เหลือโจทย์ให้แก้อีกไม่น้อยในยุคของเรา… แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผมก็ยังคิดว่า น่าจะมีบางเทศบาลเมืองซักแห่งหรือหลายแห่งในโลก จับมือกับบริษัททำลิฟท์บันไดเลื่อน ลุยทำ Pilot Model ให้เห็นกันบ้าง
บทความเรื่อง Why There Aren’t More Moving Sidewalks in America โดย Michael R. McBride ได้แสดงข้อมูลประวัติศาสตร์ความพยายามของวิศวกร ในการออกแบบทางเลื่อนมาตลอดนับร้อยปี… โดยเฉพาะ Moving Sidewalk Proposal ระยะทาง 2 ไมล์ ของทางเดินใต้ดิน หรือ Subterranean Walkways ในเมือง Atlanta โดย The Beeler Organization

ระบบขนส่งสาธารณะแห่งอนาคตที่ Disrupted รูปแบบการเดินทางในเมืองคงเกิดขึ้นทดแทนของเก่ารูปแบบเดิมที่ไม่เหมาะกับยุคสมัยและเทคโนโลยีแน่ๆ เพียงแต่จะเป็นเทคนิคไหนด้วยเทคโนโลยีอะไร ก็ยังถือว่าเกินจะคาดเดาในห้วงเวลานี้
ส่วนใครจะนำใคร ใครจะตามใคร… อายุยืนยาวคงเห็นอีกเยอะแยะอยู่แล้วในโลกที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน
ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวได้เห็นสิ่งดีๆ อีกเยอะๆ ทุกท่านครับ!
อ้างอิง