การร่วมงานกันในองค์กรขนาดใหญ่ หรือ การทำงานร่วมกันข้ามองค์กร หรือแม้แต่การทำงานร่วมกันข้ามชาติ โดยมากก็มักจะเห็น “สมาชิกทีม” หนึ่งคนมีบทบาทหน้าที่อยู่กับหลายๆ ทีม เพื่อร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายที่อาจจะเป็นเป้าหมายเดียวกัน หรือ เป้าหมายร่วมกัน ซึ่งก็อาจจะมีเพียงเป้าหมายเดียว หรือ หลายเป้าหมายที่สามารถขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กันภายใต้ความร่วมมือร่วมแรงนั้น
โลกในวันที่ความปกติใหม่ หรือ New Normal มีการเปลี่ยนแปลงบนความไม่แน่นอนที่ซับซ้อนและคลุมเครือ แถมยังเกิดบ่อย เกิดถี่ และ เกิดขึ้นเป็นปกติทั่วไปจนมีการพูดถึง “ปัญหา และ ทางออก” ที่ไหลโยงปัญหาหนึ่งไปถึงปัญหาหนึ่งเป็นลูกโซ่ ซึ่งการแก้ไขจัดการก็ซับซ้อนโยงใยตามไปด้วยไม่ต่างกัน… หลายประเด็นจึงมีการพูดถึง “ทางออก” ด้วยเทคนิครวมหลายทีม หรือ Multiteam เพื่อคลี่คลายและหาทางออกให้ปัญหา โดยหยุดผลกระทบบนโซ่ปัญหาที่จะเกิดต่อตามมาให้หมดไป หรือ ให้น้อยลงจนไม่มีนัยยะด้านผลกระทบเชิงปัญหาที่จัดการไม่ได้อีก
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… ปัญหาใหญ่ ที่มักจะเป็นปัญหาซับซ้อน ก็มักจะเป็นปัญหาที่จัดการได้ยาก… อันเนื่องมาจากมีหลายคน หลายฝ่ายเกี่ยวข้อง และ ร่วมรับผิดชอบ เช่นกรณีของ Emergency Response Teams หรือ ทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วยตำรวจ นักดับเพลิง เจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย แพทย์สนาม และ ทีมแพทย์พยาบาลประจำห้องฉุกเฉิน… ซึ่งเมื่อเกิดเหตุขึ้น ทุกทีมจะเข้าร่วมทำหน้าที่ของตนเอง โดยประสานการทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด และ สูญเสียน้อยที่สุด
ประเด็นก็คือ… ในสถานะการร่วมงานกันข้ามทีมคล้ายกับทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินนี้ ได้ถูกประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้น ทั้งเป้าหมายสร้างสรรค์ และ เป้าหมายการเผชิญเหตุ โดยมีเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ที่ต้องแบ่งปันกันทั้งข้อมูล Realtime และการสื่อสารยุคที่ 5 หรือ 5G เข้ามาเสริม… ซึ่งการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกันทั้งแบบสร้างสรรค์ และ แบบเผชิญเหตุเฉพาะหน้า… ล้วนต้องการสมาชิกทีมที่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ข้ามทีม ซึ่งเป็นทีมที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าเดิม แม้จะมีเป้าหมายไม่ต่างจากเดิม… โดยการจัดการในกรณีการร่วมงานกันข้ามทีมจะมีแง่มุมที่น่าสนใจอยู่ 2 ประเด็นคือ
- Multiteam Systems หรือ ระบบหลายทีม… ซึ่งจำเป็นจะต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการประสานงาน และ การร่วมมือทำงานผลักดันเป้าหมาย อันมีทั้ง เป้าหมายส่วนทีม เป้าหมายระหว่างทีม และ เป้าหมายทั้งระบบ…
- Multiteam Systems Leadership หรือ ภาวะผู้นำในระบบหลายทีม… อันหมายถึงบทบาทนำจากบางคนที่มาจากบางทีม… โดยเฉพาะภาวะการนำที่เกิดการยอมรับโดยธรรมชาติ เมื่อมีการทำงานร่วมกันข้ามทีม ซึ่งจะเห็นการนำทั้งในแบบ Top-Down หรือ แนวดิ่ง หรือ แบบมีหัวหน้าหรือแกนนำ… กับในแบบแบ่งปัน หรือ Shared Leadership ซึ่งเป็นบทบาทนำที่เอาทักษะและทรัพยากรส่วนตัว หรือ ส่วนของทีมย่อย มาร่วมรับหน้าที่การนำเพื่อร่วมผลักดันเป้าหมายในภาระกิจที่ตนมีทักษะ และ มีทรัพยากรพร้อมใช้ภายใต้การตัดสินใจ
งานตีพิมพ์หัวข้อ Leadership in Multiteam Systems: A Network Perspective ของ Dorothy R. Carter จาก University of Georgia และ Leslie A. DeChurch จาก Northwestern University มีรายละเอียดเกี่ยวกับ MTS หรือ Multiteam Systems ที่มีลักษณะเป็นกลุ่มซับซ้อนแบบต่างๆ โดยมี Form of MTS Leadership หรือ รูปแบบการนำในระบบหลายทีม อันเป็นปัจจัยความสำเร็จต่อเป้าหมายเฉพาะ พร้อมข้อเสนอแนะการวิเคราะห์ Individual Goals หรือ เป้าหมายส่วนตน… Team-Level Goals หรือ เป้าหมายระดับทีมต้นสังกัด และ MTS-Level Goals หรือ เป้าหมายร่วมในระบบหลายทีม
รายละเอียดทางเทคนิคมีอีกมากเหลือเกินครับ… แต่เนื้อหาและเทคนิคการวิเคราะห์จะคล้ายกับเทคนิคการวิเคราะห์ Functional Leadership Model ที่วิเคราะห์ผ่านฟังก์ชั่นการนำ และ ภาวะผู้นำซึ่งมีบทบาทอย่างสูงต่อความสำเร็จต่อเป้าหมาย…
รายละเอียดผมขอข้ามไปทั้งหมดในบทความนี้ เพราะต้องการแนะนำให้ทุกท่านได้เห็นภาพ “ทีมในอนาคต” ซึ่งความสำเร็จมักจะหาได้จากความร่วมมือที่ต้องร่วมแรงและร่วมรับผิดชอบ ก่อนจะร่วมแบ่งปันความสำเร็จต่อเป้าหมาย… ซึ่งเป็นรูปแบบการประสานงานในโลกยุค VUCA และ New Normal ครับ
References…