National Tutoring System

National Tutoring System… ระบบติวเตอร์แห่งชาติ #ReDucation

ผลกระทบของการระบาดร้ายแรงทั่วโลกในวิกฤตโควิตคราวนี้… นอกจากความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากมายเกินประมาณแล้ว ดูเหมือนระบบการศึกษาของทุกประเทศจะล้มเหลวไม่ต่างกันหมด เมื่อการไปโรงเรียนกลายเป็นความเสี่ยงทางระบาด ที่ไม่มีประเทศไหนกล้าเสี่ยงจะให้เกิดศูนย์กลางการระบาดจากโรงเรียน ซึ่งเชื่อได้เลยว่าจะเกิดผลกระทบทั้งใหญ่และกว้างเกินจะคาดถึงแน่นอน

ประเทศไทยบ้านเราเองก็อย่างทราบ… โรงเรียนและสถานศึกษาในบ้านเราให้ความร่วมมือเรื่องปิดโรงเรียน และปรับโปรแกรมการศึกษาอย่างยืดยุ่นได้ค่อนข้องดีในภาพรวม แต่รายละเอียดก็อย่างที่ทราบๆ กันว่า… แตะตรงไหนก็หมางใจกันเปล่า เพราะระบบการศึกษาไม่ได้ออกแบบมาเพื่อแยกนักเรียนกับครูไว้คนละที่… ความบกพร่องในทางเทคนิคที่เกิดขึ้นทั้งหมด จึงไม่ใช่ความผิดของใคร และดูเหมือนจะบกพร่องไม่ต่างกันทั่วโลก

งานวิจัยเรื่อง Evaluation of an Online Tutoring Program in Elementary Mathematics โดย Dr.Jeremy Roschelle และคณะ จาก Digital Promise ซึ่งเป็น NGO สาย EdTech ที่ทำงานสนันสนุนการปฏิรูปการศึกษาในแนวทางดิจิทัล สนับสนุน U.S. Department of Education ด้วยทุนสนับสนุนจาก Carnegie Corporation of New York… William and Flora Hewlett Foundation และ Bill & Melinda Gates Foundation ซึ่งดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2008 สมัยประธานาธิบดี George W. Bush ภายใต้การรับรองโดยสภาครองเกส

งานวิจัยชุดนี้ได้พัฒนาระบบติววิชาคณิตศาสตร์ขึ้นใช้กับนักเรียนระดับ Elementary หรือระดับประถมศึกษา และพบศักยภาพของแนวทางการใช้ระบบติวเตอร์ มาสนับสนุนกลไกการเรียนการสอนเพื่อ “พัฒนาฐานความรู้” ให้นักเรียน… โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นยาขมของเด็กๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลก

งานวิจัยชุดนี้ถูกใช้อ้างอิงในการจัดโปรแกรมติวออนไลน์ เพื่อช่วยนักเรียนในสหรัฐอเมริกา แคนาดาและออสเตรเลียมากมาย ในระหว่างที่ต้องหยุดไปโรงเรียนเพราะวิกฤตโควิด… รวมทั้งใช้อ้างอิงในงานวิจัยทางการศึกษาที่ทำกันในวิกฤตโควิดคราวนี้มากมาย

Professor Dr.Philip Oreopoulos จาก  University of Toronto ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา และ Co-chair ของสถาบัน Abdul Latif Jameel Poverty Action Lab หรือ J-PAL ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำถึง 6 ประเทศทั่วโลก โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ Economics Department Of The Massachusetts Institute of Technology ซึ่งเน้นศึกษาและรายงานผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์จุลภาค ในมิติต่างๆ ที่ยั่งยืน… โดย Dr.Philip Oreopoulos ได้จับประเด็นระบบติวเตอร์แห่งชาติมาพูดถึงในหลายเวที กระทั่งเผยแพร่เป็นบทความทางวิชาการบน ScientificAmerican.com ช่วงปลายปี 2020 ซึ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของระบบติวเตอร์ ที่จะเข้ามาชดเชยและทดแทนกลไกการเรียนการสอนแบบเดิม จนเกิด Remote Learning ขึ้นในวิกฤตโควิด… และสามารถพัฒนา หรือ Scale Up ไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเรียนการสอนที่ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน ชัดเจนและคุ้มค่าทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าระบบไปโรงเรียน 8 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่เด็กสอบได้คะแนนดีเพราะครูโรงเรียนติวอยู่ดี

พูดถึงโรงเรียนติว… ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงตอนนี้ใกล้กลางปี 2021 มีสถิติจากกลุ่มงานทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า… สถาบันการศึกษานอกระบบโรงเรียน 7 ประเภทได้แก่… โรงเรียนสอนศาสนา… โรงเรียนสอนศิลปะ… โรงเรียนสอนกีฬา… โรงเรียนฝึกวิชาชีพและเสริมสร้างทักษะชีวิต… โรงเรียนสอนปอเนาะ… โรงเรียนสอนกวดวิชา… โรงเรียนสอนตาดีกาหรือศูนย์อบรมคุณธรรม…ลดลง 1,069 แห่งในปี พ.ศ. 2563 ปีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนกวดวิชา… ส่วนตัวเลขกลุ่มติวเตอร์และกวดวิชาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน หรือ เถื่อนกันอยู่… ตัวเลขจริงหายไปจากระบบเยอะกว่าพันมาก แถมยังมีข่าวเทศบาลไล่รีดภาษีโรงเรียนกวดวิชาสารพัด แม้ในยามยากอย่างวิกฤตโควิดก็เว้นวรรคหรือผ่อนผันกันไม่ได้ จากระเบียบกฏหมายหรืออะไรมากมายที่ยืดยุ่นไม่ได้… ซึ่งก็ดีในอีกมุมหนึ่ง เพราะนับจากนี้ไปก็จะได้เป็น Online Tutoring 100% อย่างชัดเจนสำหรับธุรกิจกวดวิชา

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… การสอนแบบ Tutor หรือ การสอนแบบกวดวิชาถือว่าได้ผลดีมากในกรณีการใช้เพื่อทำข้อสอบหรือเตรียมตัวแข่งขัน ซึ่งความสำเร็จของการนำใช้โดยผู้เรียนตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา… แม้แต่ครูอาจารย์ในระบบการศึกษาหลักเอง ก็ยังส่งลูกไปติวในโรงเรียนกวดวิชากันเป็นปกติ… 

และครั้งนี้ก็ถึงคราวที่ระบบการศึกษาหลัก น่าจะต้องจริงจังกับชุดความรู้แบบ Tutoring แทนชุดความรู้ช่วยโรงพิมพ์ขายหนังสือได้แล้ว… และน่าจะต้องจริงจังกับ Blended Learning Pedagogy แบบ EdTech ได้แล้ว… เพราะคราวนี้ ถึงเวลาของการจัดการเรียนการสอนโดยครูกับนักเรียนไม่ต้องเจอกันตัวเป็นๆ เกือบทั้งสัปดาห์แบบเดิมอีกก็ได้… ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงเหมือนที่คนรุ่นเรา “เปลี่ยนมาใช้สมุด แทนการใช้กระดานฉนวน” เรียนหนังสือนั่นแหละครับ… ถึงยุคเปลี่ยนก็รีบๆ เปลี่ยนให้เด็กๆ กันเถอะ

ถ้าครูในโรงเรียนไม่พร้อมจะเป็นติวเตอร์ หรือ ไม่พร้อมสอนแบบครูกวดวิชา จะเพราะทำไม่เป็นหรือไม่อยากทำก็แล้วแต่… ผมว่าครูโรงเรียนกวดวิชาในบ้านเราเก่งๆ สามารถรับไม้ต่อให้ได้อย่างดี โดยรัฐไม่ต้องลงทุนอะไรเยอะแยะด้วยซ้ำ… ขอแค่… เอาขึ้นมาบนดินแบบขออนุญาตไม่ยาก… สนับสนุนภาษีเหมือนช่วยโรงงานอุตสาหกรรมผ่าน BOI ดูบ้าง… โลกภายนอกที่เขาคิดได้ก่อนเขาทำไปแล้ว หรือจะเทียบเอาเท่ากับโลกภายนอกที่ยังคิดไม่ได้และล้าหลังอยู่แบบนี้ก็พอแล้ว?

ว่าจะไม่บ่นแล้วน๊ะ!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts