Rudolf Steiner หรือ รูดอร์ฟ สไตเนอร์… เจ้าของปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟ หรือ Waldorf Education หรือ Steiner Education ได้ก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟขึ้นในเยอรมันนี โดยทุนสนับสนุนจาก Waldorf-Astoria Cigarette Company ในเมือง Stuttgart ในยุคที่ Emil Molt ซึ่งเป็นนักอุตสาหกรรมยุคบุกเบิกชื่อดังของเยอรมันเป็นประธานของโรงงานยาสูบ Waldorf-Astoria Cigarette Company และตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟขึ้นในโรงงานเป็นแห่งแรก เพื่อรับบุตรหลานของคนงานมาเรียนในปี 1919
ปรัชญาการศึกษาวอลดอร์ฟมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการพัฒนากาย หรือ Body… จิต หรือ Soul และวิญญาณ หรือ Spirit…ให้บรรลุถึง ความดี หรือ Good… ความงาม หรือ Beauty และ ความจริง หรือ Truth
ทัศนคติตามปรัชญาวอลดอล์ฟจะเชื่อว่า… เมื่อมองดูการเกิดและเติบโตของเด็กคนหนึ่ง เราจะเห็นได้ว่า กาย หรือ Body เป็นส่วนที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้ในโลก… ส่วนจิตวิญญาณ หรือ Spirit เป็นจิตเดิมแท้ของเด็กเองที่ มาจากโลกเบื้องบน… และเชื่อมโยงกันด้วยวิญญาณ หรือ Soul… “พ่อแม่และครู” มีส่วนช่วยให้การเชื่อมโยงนี้เป็นไปอย่างราบรื่นกลมกลืน
ปรัชญาการสอนแบบวอลดอร์ฟ จึงต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ ธรรมชาติของเด็ก หรือ Natural Childhood และ ภาวะกึ่งฝัน หรือ Dreamy Stated ที่มีอยู่ในวัยเด็ก และให้การศึกษาจะทำหน้าที่ปลุกให้เด็กค่อยๆ ตื่นขึ้นมาในโลก หาวิธีเชื่อมโยงเด็กสู่โลกที่เขาได้ลงมาเกิด ครูยังต้องใส่ใจในการเตรียมสิ่งแวดล้อม สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ และของเล่นที่เด็กเล่น ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติได้ โดยเฉพาะพลังธรรมชาติของโลกคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ในประเทศไทย… ความเคลื่อนไหวของการนำปรัชญาวอลดอร์ฟ มาใช้ในโรงเรียนอนุบาล เริ่มเข้มข้นชัดเจนขึ้นมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอนุบาลที่เป็นเอกชน… ส่วนตัวผมเคยได้ยิน ครูอุ้ย อภิสิรี จรัลชวนะเพท แห่งอนุบาลบ้านรัก และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาแนววอลดอร์ฟรุ่นบุกเบิกของเมืองไทย… นิเทศก์แนวทางการศึกษาวอลดอร์ฟเมื่อนานมาแล้ว… และอะไรหลายอย่างจาก COVID19 และ Lock Down เด็กอนุบาลไว้ที่บ้าน กับธรรมชาติที่มีมือถือเป็นศูนย์กลางของเด็กๆ ทำให้หัวข้อสนทนากับผู้ใหญ่บางท่านที่สนใจการศึกษา กรุณาชี้แนะหลายอย่างให้ผม ซึ่งบางอย่างบางประเด็นก็เข้าขั้นโดนป้ายยาเหมือนแนวคิดวอลดอร์ฟนี่แหละครับ
โดยส่วนตัวผมสนใจคีย์เวิร์ด 2 คำจากวอลดอร์ฟคือ Natural Childhood และ Dreamy Stated จากการติดตามความเคลื่อนไหวของเครือข่าย Homeschooling ในสหรัฐอเมริกาช่วงที่ COVID19 เริ่มระบาดในใหม่ๆ
ประเด็นแจกจ่ายแบ่งปันทรัพยากรส่งเสริมการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก โดยเครือข่าย Homeschooling มีพัฒนาการก้าวกระโดดอย่างมากในวันที่พ่อแม่เด็กให้ความสำคัญกับสุขอนามัยมาเป็นอันดับหนึ่ง และพ่อแม่บางส่วนยินดีอยู่บ้านกับลูก หรือแม้แต่สลับกันดูแลเด็กๆ กับเพื่อนบ้าน โดยมีโปรแกรม Homeschooling สารพัดรูปแบบให้นำมาใช้…
การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเด็กแบบ “ไม่มีหลักสูตรและตารางกิจกรรมแบบสอนสั่ง” แต่ใช้หลักสูตรและตารางกิจกรรมให้ต้นแบบเช่นพ่อแม่พี่น้อง ทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ… ซึ่งผลที่ได้ก็คือ กิจกรรมการเรียนรู้จะเปลี่ยนจากสอนสั่ง ไปเป็นการทำกิจกรรมหลากหลายไปพร้อมกัน… และให้ธรรมชาติของเด็ก เลียนแบบ ซึมซับอย่างเป็นธรรมชาติ จนพ้น Dreamy Stated… เหมือนสมองเรียนรู้คำ น้ำเสียงและภาษาพูด จากการใช้เวลาคลุกคลีเติบโตจากการอยู่ร่วมกันนั่นเอง
ส่วนการเรียนรู้โดยธรรมชาติที่มีการใช้อย่างเป็นรูปธรรมที่ผ่านมา… ดูเหมือนโรงเรียนอนุบาลที่ยึดปรัชญาการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ ที่เห็นพี่อนุบาลสาม กับน้องอนุบาลหนึ่ง เรียนรวมกัน เล่นไปด้วยกัน พี่สอนน้อง ครูดูแลและสนับสนุนกิจกรรมและจินตนาการ… ซึ่งในบ้านเราก็มีโรงเรียนอนุบาลของเอกชนหลายแห่งนำแนวคิดวอลดอร์ฟ และธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กมาใช้แล้วหลายแห่ง
วันนี้ผมจะไม่อธิบายเรื่องวอลดอร์ฟในอนุบาลหรอกครับ แต่ผมแนะนำให้ท่านที่สนใจ ดูคลิปแม่ครูอุ้ย อภิสิริ จรัลชวนะเพท แห่งอนุบาลบ้านรัก… ซึ่งครูอุ้ยย้ำว่า “อนุบาลบ้านรัก ที่สุขุมวิท 40 ไม่ใช่โรงเรียน”…
ผมเสนอปรัชญาวอลดอร์ฟตั้งแต่หัววันเพื่อให้ทุกท่านที่สนใจ เห็นภาพวอลดอร์ฟที่ชัดเจนขึ้นอีกหน่อย… และผมคงพาทุกท่าน ทบทวนอ้างอิงวอลดอร์ฟในบางส่วน… Pedagogy หรือการสอนบางส่วน… เพื่อสนับสนุนแนวคิด Natural Learning ที่พัฒนาผ่านเทคโนโลยีการศึกษาหลากหลายมิติ… ซึ่งผมคิดว่าคงต้องเขียนถึงต่อเนื่องไปอีกหลายตอนอยู่
โปรดติดตามด้วยครับ!
อ้างอิง
- https://creativesystemsthinking.wordpress.com/2015/09/18/how-children-naturally-learn/
- https://sites.google.com/site/learningdiscoverytoyou/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1/naew-kar-sxn-baeb-wx-ld-xrf
- https://en.wikipedia.org/wiki/Waldorf_education
- https://becommon.co/world/hybrid-homeschooling
- https://www.happinessisthailand.com/2019/06/18/abhisiree
- https://www.facebook.com/Anubarnbaanrak
- https://www.amarinbabyandkids.com/school/7-waldorf-school/