ทักษะการรู้คิด หรือ Cognitive Skills ซึ่งถูกนิยามว่าเป็นความสามารถในคิดและการเรียนรู้อันประกอบไปด้วย การรับรู้ หรือ Perception… ความสนใจ หรือ Attention… การจดจำ หรือ Memory… ภาษา หรือ Language และ การคิด หรือ Thinking… โดยความสามารถทั้งหมดที่กล่าวถึงจะถูก “สมอง หรือ Brain” ประมวลผล หรือ Process ข้อมูลที่รับเข้ามาจากประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการคิด และ การเรียนรู้ขึ้น
เอกสารประกอบการสัมมนาของรองศาสตราจารย์ ดร.มารุต พัฒผล แห่งบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒยืนยันว่า… มนุษย์ทุกคนมีการพัฒนาทักษะการรู้คิดตั้งแต่แรกเกิด ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล และ สิ่งแวดล้อมรอบตัว บุคคลที่มีประสบการณ์สูงกว่าจะมีพัฒนาการของทักษะการรู้คิดที่ดีกว่าบุคคลอีกคนหนึ่งที่มีประสบการณ์น้อยกว่า โดยทั่วไปทักษะการรู้คิดจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับขั้นพัฒนาการ… ยกเว้นกรณีที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และ ทักษะการรู้คิดจะลดความสามารถลงเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นความเสื่อมของสมองตามอายุขัย
ทักษะการรู้คิด หรือ Cognitive Skills ด้านต่างๆ จะมีลักษณะที่เหมือนกันหมดโดยธรรมชาติคือ จะเริ่มเรียนรู้ และ พัฒนาจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก หรือ สิ่งที่ซับซ้อนมากกว่า… ซึ่งธรรมชาติของทักษะการรู้คิดนี้ได้ถูกใช้เป็นหลักการเรียนรู้ที่กำหนดไว้เหมือนๆ กันทั่วโลกว่า… จะต้องสอนสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาการคิดได้กว่าการเรียนจากสิ่งที่ยากในทันที ทักษะการรู้คิดในแต่ละด้าน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ความสนใจ การจดจำ ภาษา และ การคิด ต่างเป็นเหตุปัจจัยเชื่อมโยงกันและกัน… ซึ่งผู้เรียนจะไม่คิดถ้าขาดการรับรู้จากทักษะการรู้คิด เช่น ในกรณีของเด็กที่คิดวิเคราะห์ไม่เป็นว่าระหว่างการทำการบ้าน กับ การเล่นเกมสิ่งใดสำคัญกว่า… เด็กจะให้ความสนใจกับการเล่นเกมก่อนการทำการบ้าน เพราะโดยธรรมชาติของวัยเด็กจะชอบความตื่นเต้นสนุกสนานนั่นเอง
แผนผังความสัมพันธ์ของทักษะการรู้คิด (มารุต พัฒผล, 2565)
ทักษะการรู้คิด หรือ Cognitive Skills จึงเป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ และ ด้วยการที่ทักษะการรู้คิดเกิดขึ้นในสมองของมนุษย์เท่านั้น… การพัฒนากลไกทางการเรียนรู้ และ การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์จึงต้องอาศัยวิทยาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ หรือ Neuroscience อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้… นักการศึกษาในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับ “สมอง หรือ Brain” ของผู้เรียน เพื่อใช้ออกแบบกลไก หรือ ออกแบบกลยุทธ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ “ระบบทางประสาทวิทยาของสมอง” ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาจำนวนมากในปัจจุบัน สนใจที่จะเรียนรู้การรู้คิด โดยมีการศึกษามากมายค้นพบ “รูปแบบการเรียนรู้การรู้คิด หรือ Cognitive Learning Style” อันเป็นแบบแผนการประมวลข้อมูลข่าวสาร หรือ Processing ของบุคคล เพื่อนำไปสู่การมีความรู้ ความเข้าใจ และ การเรียนรู้… โดยแต่ละบุคคลอาจจะใช้รูปแบบการเรียนรู้คิดที่เหมือน หรือ แตกต่างกันก็ได้ โดยที่รูปแบบการเรียนรู้การรู้คิดจะมีลักษณะเป็นแบบแผน หรือ Pattern ของการคิด การจดจำ การทำความเข้าใจ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า การตัดสินใจ และ การสรุปข้อมูลซึ่งเป็นศักยภาพของสมองในการเรียนรู้
แน่นอนว่า… การประยุกต์ใช้วิทยาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ หรือ Neuroscience ที่นักการศึกษาทุกคนบนโลกต้องรู้จักก็คงหนีไม่พ้นทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Multiple Intelligence ของ Howard Gardner นักจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ หรือ Cognitive Neuroscience จาก Harvard University… รวมทั้งทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ของ Benjamin Bloom รวมทั้งการลำดับขั้นการเรียนรู้แบบ Bloom’s Taxonomy ใหม่ของลูกศิษย์อย่าง Lorin Anderson และ David Krathwohl เพื่อให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบใหม่ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ Bloom’s Taxonomy ฉบับ Anderson and Krathwohl ให้กลายเป็น Bloom’s Digital Taxonomy… ซึ่งมีร่องรอยของวิทยาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ หรือ Neuroscience อยู่ในสาระหลักอย่างสำคัญ…
ในปี 2013… รูปแบบการเรียนรู้การรู้คิด หรือ Cognitive Learning Style ถูกค้นคว้าเทียบเคียงกับ วิทยาการด้านประสาทวิทยาศาสตร์ หรือ Neuroscience โดยนักจิตวิทยาการศึกษาชาวออสเตรเลียอย่าง John B. Biggs และ Kevin F. Collis ได้เสนอ SOLO Taxonomy หรือ อนุกรมวิธานแบบโซโล ซึ่งให้ความสำคัญกับระดับความเข้าใจ หรือ Levels of Understanding ในกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติม… โดยการนำระดับความเข้าใจ และ โครงสร้างผลการเรียนรู้ที่สังเกตและวัดได้ตามแนวทาง SOLO Taxonomy ของผู้เรียนซึ่งมีอยู่ 5 ระดับมาใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ และ การประเมินผลการเรียน… จะช่วยทำให้ผู้สอนมุ่งเป้าการพัฒนาศักยภาพด้านการเรียนรู้ และ การคิดให้ผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ และ มีข้อมูลสารสนเทศของผลการประเมินเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
SOLO Taxonomy ไว้มาต่อกันคราวหน้าครับ… ในเบื้องต้นนี้อยากให้โฟกัสที่แนวคิดการศึกษายุคใหม่จะให้ความสำคัญกับ Neuroscience ในแบบที่เรียกว่า Neuroeducation ซึ่งทั้งหมดจะมุ่งเป้าที่ทักษะการรู้คิด หรือ Cognitive Skills เป็นศูนย์กลาง โดยให้ความสำคัญกับกลไกทางประสาทวิทยาศาสตร์ที่นิยามการเรียนรู้ในยุคถัดไปน่าจะมีอะไรเกี่ยวกับสมองให้พัฒนาอีกมาก รวมทั้งการศึกษาในอนาคตที่มีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียิ่งกว่าเดิม โดยเฉพาะการประยุกต์ SOLO Taxonomy ซึ่งจะได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนและระบบมากมายหลายมิติ…
References…
One reply on “Neuroeducation and Cognitive Skills… ประสาทวิทยาศาสตร์การศึกษา และ ทักษะการรู้คิด #ReDucation”
[…] […]