วันนี้เอาใจท่านที่สนใจทำธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming กันหน่อยครับ… การว่างงานจากการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในระดับมหภาค ทำให้พี่น้องแรงงานจากภาคอุตสาหกรรม ตกงานจากการปิดโรงงานบ้าง ลดคนบ้าง… ซึ่งส่วนหนึ่งหันกลับไปมองหาช่องทางทำมาหากินในภาคเกษตร
แต่ข่าวร้ายก็คือ… ปีนี้ภัยแล้งคุกคามสาหัสและได้รับการเหลียวแลน้อยมากเมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดขึ้น…
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… การทำกินกับพืชผักและการเพาะปลูก ก็ยังพึ่งได้เสมอ แม้โลกจะวิวัฒน์ไปแสนไกลแค่ไหน… ซึ่งภัยแล้งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอกครับหากเราจะทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยี ที่ข้ามปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วมหรือศัตรูพืชคุกคามไปได้หมด… ซึ่งปัจจุบันเรามีเทคโนโลยี Smart Farming ตอบโจทย์ให้ครบถ้วน
เพียงแต่การทำ Smart Farming ควรดำเนินกิจการแบบธุรกิจเต็มรูปแบบครับ… ไม่ควรทำแบบเกษตรกรเหมือนที่ผ่านมา… มาดูกันเลยว่า เราจะ Kick Start ธุรกิจ Smart Farming กันยังไง
1. เตรียมความพร้อมและวางแผน
ขั้นนี้เป็นเรื่องการสำรวจความพร้อมในการทำธุรกิจกัน… ซึ่งถือว่าท่านมือใหม่ทั้งกับ Smart Farming Technology และการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งทั้งหมดมีที่ให้เรียนทั้งการเป็น Smart Farmers และการเป็น SME… ที่การจะเริ่มทำอะไรใหม่ๆ ควรเรียนรู้ให้มากจนสามารถทำ Pilot Project หรือทดลองโมเดลธุรกิจให้ได้ก่อน ค่อยขยับขยาย หรือ Scale Up… ส่วนเรียนที่ไหนและต้องรู้อะไรบ้างค้นดูบน Google หรือ YouTube ก็ได้ครับ…
2. จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ
อย่างที่เรียนไปตอนต้นว่า การทำธุรกิจ Smart Farming ควรทำเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ เมื่อพร้อมประกอบการก็ควรจัดตั้งกิจการให้ถูกต้องเพื่อสิทธิประโยชน์และโอกาสที่มากกว่าการทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา… หลายท่านกังวลเรื่องภาษีและความยุ่งยากต่อเนื่องหลายอย่าง เช่นการสอบบัญชี การทำเอกสารกำกับธุรกรรมของกิจการ… ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องระบบและความชัดเจนที่สุดท้ายแล้ว… จะทำให้ท่านบริหารธุรกิจ Smart Farming ของท่านได้ดีกว่าในระยะยาวแน่นอน การจดทะเบียนสามารถจดได้ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ศึกษาข้อมูลได้ที่ เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือปรึกษาสำนักงานสอบบัญชีหรือสำนักงานทนายความทั่วไปได้ครับ
3. จัดเตรียมโรงเรือน
การก่อสร้างโรงเรือนก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบพืชผักที่ท่านจะผลิตแล้วครับ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ท่านเลือกใช้ด้วย ซึ่งหากท่านมีโรงเรือนต้นแบบที่ทำ Pilot Study มาก่อนก็คงไม่ยาก… นอกจากนั้นยังมีโรงเรือนกึ่งสำเร็จรูปหลายรูปแบบให้เลือกใช้… ซึ่งท่านควรจะมีข้อมูลเตรียมไว้ตั้งแต่ขั้นเตรียมความพร้อมและวางแผน
4. ติดตั้งงานระบบและเทคเทคโนโลยี
หัวใจสำคัญของการทำ Smart Farming คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาและเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม… ซึ่งหัวใจของเทคโนโลยี Smart Farming คือเครื่องมือตรวจวัดหรือเซนเซอร์ต่างๆ ที่ใช้เพื่อสั่งการกลไกอัตโนมัติทั้งหมด ซึ่งการติดตั้งใช้งานและสอบเทียบความแม่นยำอาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในบางกรณี… ประเด็นนี้แนะนำให้ปรึกษา Suppliers ที่ท่านเลือกดีที่สุด
5. ขอรับรองมาตรฐาน
นอกจากระบบโรงเรือนและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกิจปลูกผักนี้แล้ว สิ่งที่มีความสำคัญ และสร้างความแตกต่างให้กับสินค้ารวมถึงช่องทางการตลาด อยู่ที่มาตรฐานของผลผลิต เนื่องจากปัจจุบันเรื่องของความปลอดภัยด้านอาหาร ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้บริโภค ดังนั้นผู้ประกอบการต้องวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ เพื่อให้ได้รับตราสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายรับรองของมาตรฐานนั้นๆ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และการขยายตลาดอีกด้วย
สำหรับสินค้าทางการเกษตร สามารถรับรองมาตรฐานได้หลากหลายมาตรฐาน อาทิ เครื่องหมาย Q ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ… เป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพหรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าเกษตร ว่าได้มาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยนั่นเอง และการจะได้เครื่องหมาย Q มานั้น จะต้องผ่านมาตรฐานตามการรับรองอื่นๆ มาก่อน อย่างเช่น การปฏิบัติตามาตรฐานทางการเกษตรที่ดี หรือ Good Agricultural Practice หรือมาตรฐาน GAP การรับรองมาตรฐาน GMP, HACCP และเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
คร่าวๆ สั้นๆ ประมาณนี้ครับ… แต่รายละเอียดจักจิกก็มีอีกเยอะเหมือนกัน… โดยส่วนตัวผมถนัดเรื่องเทคโนโลยีอัตโนมัติ ถ้าคิดว่าผมช่วยตรงส่วนนี้ได้ก็ยินดีมากครับ… Line: @reder ทักเข้ามาได้ครับ