ระบบการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ ถือว่าก้าวหน้าอยู่ในลำดับต้นๆ ของโลก ถ้าดูอันดับคะแนนจาก PISA ปี 2018 เด็กเนเธอร์แลนด์ทำคะแนนติดกลุ่มเกิน 500 คะแนนเช่นกัน… และที่ผมย้อนความไปถึงการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ก็เพื่อที่จะแนะนำเครื่องมือออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ที่ชื่อ Learning Experiences Canvas ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญตามแนวคิด Learning Experience Design ที่คิดค้นและเผยแพร่โดย Niels Floor ชาวเนเธอร์แลนด์
สัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของ Learning Experience Design ไปแล้ว… ถ้าท่านยังไม่ได้อ่าน หรือยังไม่รู้จัก Learning Experience Design หรือ LX Design มาก่อน สามารถคลิกที่นี่เพื่อกลับไปอ่านก่อนได้ครับ
ความสำคัญของการออกแบบการเรียนรู้ ถือว่าสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ และยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกในห้วงเวลาที่… คนทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวและเรียนรู้ตลอดเวลา
ประเด็นก็คือ… การออกแบบการเรียนรู้ในยุคที่ผู้เรียนมีทางเลือกเกินจำเป็นมากกว่าในอดีตมาก สร้างภาระใหญ่หลวงในการตัดสินใจของผู้เรียน ที่สุดท้ายอาจต้องแลกด้วยประสบการณ์เลวร้ายในการพัฒนาตัวเองที่หวังการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แต่ต้องแลกด้วยการเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการเลือกและทดลองเรียนนั่นรู้นี่มากมายจนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่… ซึ่งประสบการณ์ระหว่างนั้น ทั้งเนื้อหา ตำรา วิชาและครูสอน สร้างประสบการณ์ด้านลบให้มากกว่าด้านบวกหลายเท่า
เด็กๆ หรือคนส่วนใหญ่มักจะมีประสบการณ์ที่ดีกับเนื้อหาบางวิชาเป็นส่วนใหญ่ แต่ความจำเป็นที่จะต้องปูพื้นฐานให้ครบทุกแขนงวิชาที่หลากหลาย… ก็สำคัญที่ละเลยไปก็อาจจะกลายเป็นจุดด้อยมากกว่าจุดเด่น
ความพยายามที่จะทำให้ความรู้ทุกแขนงและสาขา เป็นเรื่องง่ายต่อการเรียนรู้จึงมีพัฒนาการมาตลอดเพื่อทำ Course Syllabus หรือคอร์สไหนอย่างไร… ซึ่งก็มีทั้งทฤษฎี หลักการ วิธีการและเทคนิคมากมายเพื่อให้ได้หลักสูตรที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้หนึ่งไปสู่ผู้เรียน… ที่สุดท้ายก็ยังเป็นเพียงการนำส่งความรู้เพื่อให้ได้รู้เท่านั้น ในขณะที่การนำความรู้ไปใช้อย่างแท้จริง ต้องการประสบการณ์ทั้งในองค์ความรู้ และประสบการณ์ระหว่างศึกษาเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยมไปพร้อมกัน
การเกิดขึ้นของ LXD หรือ LX Design หรือ Learning Experience Design จึงเกิดขึ้นเป็นพัฒนาการต่อจากการพัฒนาหลักสูตร และเนื้อหาการเรียนรู้แบบเดิมที่ต้องการให้… เป้าหมายการเรียนรู้ ชัดเจนกว่าการวางวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหมือนในอดีต และที่สำคัญกว่านั้น… แนวทางหรือวิธีการเรียนและสอนต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกมิติตั้งแต่ก่อนการเรียน ระหว่างเรียนและขั้นการนำความรู้ไปปรับใช้
อย่างที่ทราบไปแล้วว่า… LX Design พัฒนาอย่างจริงจังโดย Niels Floor ซึ่งเป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาชาวเนเธอแลนด์ ที่คว่ำหวอดอยู่ในแวดวงการจัดฝึกอบรมภายให้องค์กรมากมาย ที่ถือเป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้ใหญ่ที่หลากหลาย… ที่จะว่าไปแล้วระบบการศึกษาของเนเธอแลนด์ก็ดีงามอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ที่นักการศึกษาจากหลายๆ ชาติ รวมทั้งประเทศไทย ส่งคนไปดูงานกันมานักต่อนัก… แต่ LX Design ก็เกิดขึ้นที่นั่นให้เราเห็นว่า แท้จริงแล้วทุกสิ่งจะมีพัฒนาการต่อยอดไปได้อีกมาก
และเมื่อ LX Design เกิดขึ้นและถูกเผยแพร่… ก็ปรากฏความเคลื่อนไหวหลายอย่างที่ยืนยันว่า นี่เป็นกระแสสำคัญในวงการการศึกษาที่น่าจับตามองอย่างมาก…
ผมเองในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับแวดวงการศึกษามากว่า 20 ปี ในฐานะผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ LMS หรือ Learning Management System หลายๆ แพล์ตฟอร์ม รวมทั้ง Courseware จำนวนไม่น้อยมาตลอด… และเข้าใจช่องว่างหรือ Gap ของเทคโนโลยีการศึกษาระดับหนึ่ง รวมทั้ง Pain Point ของระบบนิเวศน์การศึกษาและการฝึกอบรมต่างๆ อยู่บ้าง ต้องเรียนว่า… LX Design สามารถปิดช่องว่างหลายอย่างในระบบเดิม ที่แม้แต่การจัดการเรียนรู้ผ่าน e-Learning แบบเก่าบน LMS แบบเก่าก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
แต่ Learning Experience Design ช่วยได้!
Niels Floor นำแนวคิดเรื่อง Learning Experience Design มาใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2013 ในขณะที่ทำงานกับเอเจนซี่ด้านจัดการฝึกอบรมให้องค์กร… ซึ่ง Niels Floor ได้นำเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งมาใช้ในการพัฒนาคอร์สให้ลูกค้าที่เขาเรียกว่า Learning Experience Cavas ซึ่งเป็นตาราง 11 ช่องที่บรรจุสาระและความสัมพันธ์ทั้งหมดของระบบนิเวศน์การจัดการเรียนการสอนหรือฝึกอบรมหัวข้อนั้นๆ
ซึ่งคนที่เห็นเครื่องมือและวิธีการของ Niels Floor กลับสนใจ LX Canvas ของเขามากกว่าคอร์สที่ผลิตด้วย LX Design โดยมี LX Canvas ที่เป็นเหมือนพิมพ์เขียวก็ว่าได้…
3 ปีต่อมา… แนวคิด LX Design และเทคนิคการใช้ LX Canvas จึงพัฒนาสมบูรณ์พอที่จะเผยแพร่ และได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 3-4 ปี ทั้งที่ Know How ส่วนใหญ่ยังเป็นแบบปิดที่ยังไม่ได้เผยแพร่แบบ Opensource เหมือนแนวคิดอย่าง Business Model Canvas หรือ Agile Framwork
Learning Experience Canvas ถือเป็นเครื่องมือหลักในการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้หรือ LX Design ที่จะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นภาพเดียวกันบนกระดาษหรือกระดานเดียวกัน ที่ไม่จำเป็นต้องตีความซ้ำอีก… LX Canvas ออกแบบไว้เป็นตาราง 11 ช่อง สำหรับใส่ข้อมูลที่จำเป็นต่อการออกแบบคอร์สหรือกิจกรรมการเรียนรู้หนึ่งประเด็นหรือหนึ่งหัวข้อ

รายละเอียดบน LX Canvas จะต้องใช้ข้อมูลเบื้องต้น 8 ชุดสำหรับตาราง 4 ช่องด้านบนซ้าย และอีก 4 ช่องด้านบนขวา… และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั้งฝั่งซ้ายและขวา รวมทั้งกลยุทธ์ที่จะเกิดการเชื่อมโยงของทรัพยากรทั้งสองฝั่ง แล้วจึงมาออกแบบกิจกรรม หรือ Activities และขบวนการหรือ Process อีกที
พรุ่งนี้มาลงลึกกับ 11 ตัวแปรใน LX Canvas กันครับ… โปรดติดตาม!
บทความเกี่ยวกับ LX Design
- Learning Experience Design… การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้
- Niels Floor และ Learning Experiences Canvas
- การร่างพิมพ์เขียวเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้วย LX Canvas
- Design Thinking Process สำหรับ Learning Experience Design
- Empathy Map สำหรับ LX Design
อ้างอิง