ฤดู PM2.5 เวียนกลับมาหลอกหลอนคนกรุงเทพ พร้อมๆ กับคนเชียงใหม่อีกวาระหนึ่ง… ถึงแม้ปัญหาหลักๆ จะมาจากการบรรจบกันของหมอกควันจากไฟป่า และ การเผาทุ่ง กับ ปรากฏการณ์ Temperature Inversion หรือ อุณหภูมิผกผันในชั้นบรรยากาศเหนือพื้นดิน ซึ่งทำให้ฝุ่นควันจากพื้นโลกฟุ้งกระจายอยู่ในระดับต่ำเป็นวงกว้างเหมือมีฝาชีครอบเมืองอยู่… ฝุ่นควันจากกิจกรรมเผาไหม้ทุกกรณีบนพื้นจึงสะสมหนาตัวเข้มข้นถึงขั้นเป็นพิษกับทุกคนในพื้นที่โดยปริยาย… โดยทางออกหนึ่งที่คนเมืองสามารบรรเทาการสะสมของ PM2.5 ในบรรยากาศทั่วเมือง “ได้แน่นอน แต่ ทำไม่ได้แน่นอน” งดใช้รถใช้ถนน และ หยุดเดินทาง โดยเฉพาะการใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน และ เครื่องยนต์สารพัดคำโอ้อวดว่าแรงใหญ่วิ่งได้ไกลเหลือเชื่อ… ทั้งๆ ที่ติดคาไฟแดงเหมือนกันหมดไม่จะมีล้อสองล้อ หรือ มีมากเป็นสิบๆ ล้อก็ตาม
หลายเมืองในยุโรปที่เคร่งครัดเรื่องปริมาณรถ และ อัตราการปล่อยมลพิษจากการเดินทางและการจราจร จึงพูดถึงยานพาหนะสำหรับเดินทางในเมืองที่เน้นเดินทางสะดวกสบาย และ ปลอดภัยจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง ซึ่งมีการพัฒนา และ ส่งเสริมให้ใช้สกู๊ตเตอร์แบบ 3 ล้อ และ 4 ล้อ ขนาด 1-2 ที่นั่งโดยสาร เป็นยานพาหนะหลักสำหรับการเดินทางในเมือง ซึ่งหลายเมืองใช้มาตรการภาษี และ การแบ่งโซนเพื่อกีดกันรถสูงๆ โตๆ ยาวๆ ใหญ่ๆ หรือ พวกรถเดินป่าเสริมรั้วเหล็กรอบคันแต่นั่งคนเดียวจอดรอไฟแดงเต็มสี่แยก เหมือนที่เห็นจนชินตาในหลายๆ ประเทศ
การศึกษารูปแบบการเดินทางและขนส่งในเมืองชื่อ Mobilitätswende 2030 ในเมือง Kaiserslautern หรือ เมืองไกเซอร์สเลาเทิร์น โดยผู้ให้บริการระบบขนส่งทางรางของเยอรมนีอย่าง DB Regio AG ซึ่งได้ว่าจ้าง Fraunhofer Institutes IESE หรือ Institute for Experimental Software Engineering และ สถาบัน IML หรือ Institute for Material Flow and Logistics ภายใต้โครงการ Project Center Transport, Mobility and Environment เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ และ ศึกษาอนาคตของการเดินทางที่ควรจะเกิดขึ้นภายในปี 2030 ผ่านมุมมองเชิงบูรณาการทั้งระบบ โดยเฉพาะระบบหลักที่เป็นขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟ และ รถโดยสารประจำทาง ซึ่งจะดีกับชีวิตประจำวันจริงของทุกคนที่ต้องเดินทางจะต้องมี “ระบบ Feeder หรือ ระบบขนส่งมวลชนรอง” ที่ง่าย และ สะดวกสบายกับทุกคนจริงๆ อยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน… ซึ่ง RoboTaxi หรือ แท็กซี่ไร้คนขับ และ RoboScooter หรือ สกู๊ตเตอร์หุ่นยนต์ รวมทั้งสกูตเตอร์ และ จักรยานในระบบ Ride Sharing ของเมืองนั่นเองที่จะเติมเต็มการเดินทางในยุคที่… ไม่จำเป็นต้องมีรถส่วนตัวเอาไว้นั่งรอไฟแดงเพลินๆ ก็สะดวกสบาย และ เป็นส่วนตัวระหว่างเดินทางไม่ต่างกัน
รายงานฉบับเต็มของ โครงการ Mobilitätswende 2030 มีพันธมิตรเข้าร่วมวิสัยทัศน์ และ การทดสอบมากมาย โดยเฉพาะพันธมิตรในระบบ Feeder หรือ ระบบขนส่งมวลชนรอง ซึ่งได้เตรียมพาหนะที่เหมาะกับการเดินทางที่สามารถใช้เดินทางระยะ 100-200 เมตร ไปจนถึง 100 กิโลเมตรเอาไว้เสริมรถไฟขนส่งมวลชนอย่าเพียบพร้อม… ซึ่งพาหนะที่ผมสนใจที่สุดในรายงานชุดนี้ เป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าแบบ 3 ล้อ ชื่อ Nimbus ที่อยู่ในโครงข่ายระบบการเดินทาง… ซึ่งผมมองว่าเป็นพาหนะขนาด 1 หรือ 2 ที่นั่งที่ปลอดภัยกว่ามอเตอร์ไซด์ หรือ แม้แต่จักรยาน และ เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ กับ สิ่งแวดล้อม และ ชัดเจนว่าสามารถ Upgrade ไปเป็น RoboScooter หรือ สกู๊ตเตอร์หุ่นยนต์ ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน
Nimbus Scooter เป็นยานพาหนะที่พัฒนาขึ้นใช้แบบนั่งขับ และ ขับขี่ทรงตัวแบบเอียง หรือ Tilting ตามการโค้งเลี้ยว และ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมเทคโนโลยี BEV หรือ Battery Electric Vehicle แบบ Battery Swapping ผลิต และ จำหน่ายโดย eVehicle Startup ชื่อ Nimbus Inc. จากสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน Nimbus Inc. มีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า 3 ล้อจำหน่ายแบบ 2 ล้อหน้า 1 ล้อหลัง รุ่น Nimbus One ซึ่ง Rename มาจากชื่อเดิมคือ Nimbus Halo โดยยังคงมี 2 รุ่นย่อยเหมือนที่เคยมี คือ…
Nimbus One ซึ่งมากับแบตเตอรี่วิ่งไกล 150 กิโลเมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กับ Nimbus One S มากับแบตเตอรี่วิ่งไกล 206 กิโลเมตรความเร็วสูงสุด 121 กิโลเมตรต่อชั่วโมง… ทั้งสองรุ่นใช้แพลตฟอร์ม และ ตัวถังปิดแบบเดียวกัน โดยขนาดตัวถังกว้าง 0.86 เมตร และ ยาว 2.3 เมตร พร้อมที่นั่งแบบเก้าอี้โดยสาร 2 ที่นั่ง แบบ 1+1 ที่เข้าออกห้องโดยสารได้ทั้งสองฝั่งซ้ายขวาเพราะออกแบบให้มี 2 ประตู… มีถุงลมนิรภัย กับ ระบบเบรค ABS พร้อม Traction Control และ ระบบควบคุมการทรงตัวอัจฉริยะชื่อ Nimbus Balance พร้อมระบบปรับอากาศร้อน/เย็น





Nimbus One และ Nimbus One S เปิดให้ลูกค้าในสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของแบบซื้อสดด้วยราคาเริ่มต้นที่ 9,980 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 400,000 บาท และ ยังสามารถเช่าใช้ด้วยค่าเช่าเริ่มต้นที่เดือนละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ… สามารถจองผ่านเวบไซต์ NimbusEV.com ได้ตลอดเวลา เพียงวางมัดจำการจอง 100 ดอลลาร์สหรัฐ
References…