บทความตีพิมพ์เผยแพร่ลง Journal Advances in Atmospheric Sciences ได้รายงานข้อมูลจากการศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์ 14 ท่านจาก 11 สถาบันทั่วโลก มีใจความสำคัญชี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรทั่วโลกในปี 2019 เพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1981 ถึงปี 2010 ขึ้นมา 0.075 องศาเซลเซียส
Dr. Lijing Cheng
ดร.เฉิงหลี่จิง จาก IAP หรือ Institute of Atmospheric Physics หรือสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ แห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน หรือ CAS หรือ Chinese Academy of Sciences ในฐานะหัวหน้าทีมศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในมหาสมุทรครั้งนี้ ระบุว่า… อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น 0.075 เกิดจากการดูดซับความร้อนของมหาสมุทรทั่วโลก ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา
ประเด็นก็คือ การจะทำให้อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้น 0.075 องศาเซลเซียส ต้องใช้พลังงานมากถึง 228 เซกซ์ทิลเลียนจูล (Sextillion Joules ) หรือเท่ากับระเบิดปรมาณูที่ถล่มเมืองนางาซากิ 3600 ล้านลูก
นั่นแปลว่า ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา มหาสมุทรทั่วโลกดูดซับความร้อนเท่ากับโดนระเบิดปรมาณูวินาทีละ 4 ลูกตลอดเวลา… แต่ปี 2019 ที่ผ่านมา มหาสมุทรต้องรับภาระดูดทรัพย์ความร้อนหนักกว่าเดิมเทียบเท่าการโดนระเบิดปรมาณู 5 ลูกต่อวินาที
นี่คือเหตุผลที่น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ความชื้นในชั้นบรรยากาศสูงกว่าที่ผ่านมา ทำให้กระแสน้ำร้อนน้ำเย็นในมหาสมุทรเปลี่ยนทิศทาง… ทำให้พายุลมและฝนแปรปรวนรุนแรงร้ายกาจ… ทำให้เราได้เห็นน้ำท่วมทะเลทรายและไฟป่าในเขตร้อนชื้นอย่างอินโดนิเซียหรืออสเตรเลียที่ดับไม่ได้
#FridaysForFuture ครับ!
อ้างอิง