OER LOGO

OER 2030… ทรัพยากรเปิดเพื่อการศึกษาในอนาคต

การศึกษาเป็นเครื่องมือเดียวที่สามารถใช้ยกระดับสังคมและเศรษฐกิจของผู้คน ให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อีกโดยแทบจะไร้ขีดจำกัด ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้วางแนวทางให้การศึกษา เป็นกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ  Sustainable Development Framwork และ ระบุให้การศึกษาเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความยากจนทั่วโลก โดยมี องค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ The United Nations Educational Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO เป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันยุทธศาสตร์

โดยมุ่งเป้าหมายเด็กทั่วโลกกว่า 260 ล้านคนที่ยังไม่ได้เรียนหนังสือ ซึ่งเป็นตัวเลขจากการสำรวจในปี 2019… โดย 1 ใน 5 ของเด็กทั้ง 260 ล้านคน ตกเกณฑ์ขั้นต่ำในการอ่านหนังสือ และ คิดเลขขั้นต้นไม่ได้

ในขณะเดียวกัน… การระบาดของ COVID 19 ทั่วโลกทำให้ต้องประกาศปิดโรงเรียนชั่วคราว ซึ่งส่งผลกระทบต่อนักเรียนมากกว่า 91% ทั่วโลก… สถิติเฉพาะเดือนเมษายนปี 2020 พบเด็กกว่า 1,600 ล้านคนต้องหยุดเรียน ในจำนวนนี้มี 369 ล้านคนต้องพึ่งอาหารของโรงเรียน… การปิดโรงเรียนทั่วโลกจึงซ้ำเติมเด็กด้อยโอกาส และ เด็กเปราะบางครั้งร้ายแรงเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

หลายฝ่ายจึงพูดถึง Education 2030, Incheon Declaration หรือ ปฏิญญาอินชอน โดยริเริ่มกันไว้ในปี 2015 ซึ่งเป็นเวทีวิสัยทัศน์ทางการศึกษาที่เป็นความหวังหลายประเด็น โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวเรื่อง OER หรือ Open Educational Resources ที่หลายฝ่ายหวังว่า… อนาคตของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและเปราะบาง จะมีโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาโดยมีทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับทุกคนอย่างแท้จริง

ประเด็น OER โดยส่วนตัวมองว่า… แนวทางนี้จะเข้ามา Disrupted หรือ คว่ำระบบการศึกษาพื้นฐานแบบดั้งเดิมในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน… โดยเฉพาะระบบการศึกษาในสถานศึกษาแบบเดิมที่ไม่สามารถ Scale หรือ ปรับขนาดและยืดยุ่น ให้เพียงพอหรือเหมาะสมกับจำนวนเด็กๆ ที่ต้องเรียนหนังสือได้ไม่ดีเข้าขั้นห่วยสุดก็ว่าได้… แถมยังสร้างปัญหามากมายเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมและชุมชนมากมาย เอาแค่ปัญหา “เปิดเทอมรถติดปิดเทอมรถโล่ง” เรื่องเดียวก็คุยกันเป็นวันก็ไม่จบ…

โดยส่วนตัวจึงเชื่อว่า… ในอนาคตอันใกล้นี้ ความรู้ และ ทรัพยากรทางการศึกษาระดับพื้นฐานจะเป็นของที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างปราณีต และ มีเพียงพอสำหรับเด็กทุกคนให้สามารถใช้เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา และ ยืดยุ่นเปิดกว้างจนข้ามข้อจำกัดต่างๆ ที่เคยมีมาก่อนได้เกือบหมด… 

ประเด็นก็คือ… OER ควรเป็นทรัพยากรแบบแบ่งปันพร้อมใช้จริงๆ เช่น… ชุดความรู้เรื่องปลาวางไข่ ก็ควรเป็นคลิปสารคดีวงจรชีวิตปลาที่ใครเห็นก็อ้าปากค้าง… ใส่เสียงบรรยายภาษาไทยให้เด็กไทยเรียนก็ได้ หรือ ใส่เสียงภาษาอังกฤษก็สามารถให้เด็กแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และ อังกฤษเรียนได้… 

เรื่องของเรื่องก็คือ… ประเทศไทยมีเวบไซต์ที่ขึ้นป้ายว่าเป็น “คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” ซึ่งดำเนินงานภายใต้โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ผ่านเวบไซต์ https://oer.learn.in.th เพียงแต่ทั้งหมดเป็นทรัพยากร หรือ Resources แบบภาพเล็ก ข้อมูลน้อย ไม่รู้จะเอาไปใช้สอยยังไง… และ ผมไม่รู้จะพูดยังไงเหมือนกันหลังจากเปิดไปดู “คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” แบบคลิกดูนั่นดูนี้ และ เปิดดู Page Source นิดหน่อย… 

ส่วนตัวคิดว่ารอดู OER ของ UNESCO ดีกว่า… อย่างน้อยผมค้นๆ ดูในเวบไซต์ OEconsortium.org ผมว่าผมเจอ eBook เป็นเล่มไม่น้อยแล้ว และ มีคอร์ส STEM ของฝรั่งที่เขาแชร์ไว้น่าสนใจหลายหัวเรื่องอยู่ โดยเฉพาะงานจาก NationalSTEM.org จากสหรัฐอเมริกา… ส่วน OER ฉบับภาษาไทย ที่มีพวกเราประเทศเดียวในโลกที่ใช้ภาษานี้… หาทางอื่นกันตั้งแต่ตอนนี้น่าจะง่ายกว่าครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts