กระแส OER หรือ Open Educational Resources หรือกระแสการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิด ภายใต้สัญญาอนุญาตแบบ CC หรือ Creative Commons ดูเหมือนจะชัดเจนขึ้นกว่าช่วงก่อนวิกฤตโควิดมากเหลือเกิน
OER ไม่ใช่ของใหม่อะไร แต่ OER เป็นความสนใจใหม่ในแวดวงการศึกษาในวันที่หนังสือเรียนแบบเก่า ไม่ได้เหมาะกับการเรียนการสอนแบบ Hybrid และ eLearning อีกแล้ว…
เอกสารของ Utexas หรือ The University of Texas at Austin ให้นิยามของ OER ว่า… เป็นสื่อการเรียนรู้และแหล่งข้อมูลส่งเสริมการศึกษา ที่ให้บริการอย่างเสรีและเปิดเผยสำหรับทุกคน ซึ่งพร้อมใช้งานภายใต้สัญญาอนุญาต ที่อนุญาตให้ผู้ใช้หรือ Users สามารถ Use, Remix, Improve and Redistribute รวมทั้งแบ่งปันไอเดีย ทรัพยากรและความร่วมมือให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเรียนรู้และการศึกษาแบบเปิดในอนาคต
Dr. David Wiley เจ้าของตำแหน่ง CAO หรือ Chief Academic Officer ของ Lumen Learning ในฐานะผู้ผลักดัน OER ผ่าน LumenLearning.com ได้วางแนวทางของ OER เอาไว้ภายใต้ชื่อ The 5R Permissions of OER ประกอบด้วย
- Retain หรือเก็บไว้ โดยสามารถสร้าง ทำ ควบคุม ครอบครอง สำเนาหรือต้นฉบับของทรัพยากรการศึกษา ทั้งที่เป็นคนสร้างและสำเนา หรือ Copy ทรัพยากรอื่นๆ เอาไว้ได้
- Revise หรือแก้ไข โดยสามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแปลเป็นภาษาอื่นได้
- Remix หรือตัดต่อ โดยสามารถตัดต่อ ผสม คละหรือดัดแปลงขึ้นใหม่จากทรัพยากรชุดอื่นๆ
- Reuse หรือใช้ซ้ำ โดยงานต้นฉบับ หรืองาน Revised หรืองาน Remixed จะถูกใช้ซ้ำอย่างคุ้มค่า
- Redistribute หรือแจกจ่าย โดยงานต้นฉบับ หรืองาน Revised หรืองาน Remixed จะถูกแจกจ่ายแบ่งปันโดยเสรีและไม่ละเมิด
ประเด็นก็คือ… OER ไม่ใช่แพล็ตฟอร์มแชร์ไฟล์ หรือแนวคิดการแบ่งปันไฟล์ดิจิตอลแบบสำเนาไฟล์ไปใช้ประโยชน์เฉพาะคน… แต่ OER เป็นแพล็ตฟอร์มการแบ่งปันไฟล์ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่แจกจ่ายแบ่งปันอ้างอิงสัญญาอนุญาตแบบ Creative Commons หรือ CC licenses หรือ CC BY ซึ่งหมายความว่า การ Revise และ Remix ไม่ว่าจะอย่างไรก็จะอ้างอิงกลับไปที่ไฟล์หรือ Project ต้นฉบับได้อยู่เสมอ… ทำให้การอ้างอิงหรือเครดิต ถูกนับให้กับต้นฉบับทุกๆ การ Reuse และ Redistribute แบบเดียวกับการ Retweet บน Twiter หรือการ Share หรือ Like บน Facebook
เอกสารเผยแพร่จากกลุ่ม Open Science ชี้ว่า… ปัจจุบัน Open Educational Resources หรือ OER เริ่มเป็นที่ยอมรับในมหาวิทยาลัยทั่วโลก… งานวิจัยหลายแหล่งพบมหาวิทยาลัยทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกาจำนวนมาก สนับสนุนครูอาจารย์ในสังกัดให้มีการเปลี่ยนจากตำราที่เป็นสิ่งพิมพ์รูปเล่ม มาเป็น Open Educational Resources ซึ่งจากผลการสำรวจมหาวิทยาลัยในปี 2018 ชี้ว่า… 64% ของมหาวิทยาลัยที่สำรวจ มีการสนับสนุนให้บุคลากรใช้ Open Educational Resources ในหลักสูตรมากขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในปี 2014 ที่พบเพียง 34% เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่า 52% ของมหาวิทยาลัยยินดีสนับสนุนครูอาจารย์ หากมีการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ OER ของตนเอง… โดยสนับสนุนทรัพยากรดิจิตอล แบบฝึกหัดและแหล่งข้อมูลออนไลน์อย่างเพียงพอ ให้สามารถนำไปใช้ในการสร้างไฟล์ OER รวมถึงโครงการ OER และศูนย์ข้อมูล OER ของมหาวิทยาลัยเอง เช่น
- Ruhr University Bochum ได้เตียมหลักสูตรเรียนรู้ด้วยตนเองชุด “Introduction to Open Educational Resources” ครอบคลุมถึงวิธีการสืบค้น OER และวิธีการสร้าง OER ด้วยตนเอง โดยหลักสูตรใช้เวลาประมาณ 120-160 นาที รวมแบบฝึกหัด การทดสอบด้วยตนเองและ Gamification
- Algonquin Colleges ได้ประมวลองค์ความรู้ หลักสูตร และเครื่องมือวัดความรู้สำหรับทุกคนที่สนใจความเคลื่อนไหวของ OER หัวข้อหลักได้แก่ เรื่องลิขสิทธิ์ รวมทั้งแนวปฏิบัติเพื่อการสืบค้นและใช้งาน OER
- Penn State University มีข้อมูลสำหรับครูอาจารย์ที่พัฒนาและเกี่ยวข้องกับ MOOCs โดยสนับสนุนแนวทางการใช้ Open Educational Resources เพื่อพัฒนา MOOCs
- The University of the Witwatersrand Johannesburg ได้นำแพล็ตฟอร์ม LibGuide มาใช้ ซึ่งประกอบด้วยแนวปฏิบัติ เครื่องมือ และเนื้อหาหลักสูตรสำหรับ OER รวมทั้งทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
- Fort Hays State University ได้เผยแพร่ภาพรวมของ Open Education Resources ซึ่งมีข้อมูลครอบคลุมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อกำหนดและแนวปฏิบัติที่เรียกว่า Forsyth Library OER Research Guide พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัย OER ไว้ให้
- College Libraries Ontario ใช้แพล็ตฟอร์ม The Learning Portal ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการใช้งาน OER ที่มีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการสืบค้น สร้างและใช้งาน Open Educational Resources ไว้อย่างชัดเจน
- Saxon State and University Library Dresden หรือ Sächsische Landesbibliothek Staats und Universitätsbibliothek Dresden มีการเผยแพร่องค์ความรู้ชื่อ Introduction to Open Educational Materials เป็นภาษาเยอรมัน
ถึงตรงนี้หลายท่านคงยังนึกภาพไม่ออกว่า OER เขาแบ่งปันกันอย่างไร… ตัวอย่างที่ง่ายที่สุดก็คือ คลิปติววิชาฟิสิกส์จาก Khan Academy ชุด แสง และ คุณสมบัติแสง ซึ่งเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC… โครงการไทยคิดไทยคม ของบริษัทไทยคม สามารถนำมาบรรยายภาษาไทยทับต้นฉบับภาษาอังกฤษเผยแพร่ผ่าน YouTube ได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์…
ส่วนที่ยากและซับซ้อนกว่านั้น ก็จะมีการสร้างเป็นแพล็ตฟอร์มเฉพาะขึ้นมา เพื่อให้สมาชิกสามารถ Fork หรือโคลนงานสมาชิกอื่นมาปรับใช้เป็นงานตัวเองได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข CC และแนวปฏิบัติของแพล็ตฟอร์ม… ซึ่งรายละเอียดขั้นปฏิบัติสำคัญๆ ส่วนใหญ่จะมี “ประเด็นเฉพาะ” ที่ต้องดูเป็นรายกรณีจำแนกตามประเภทและรูปแบบ… โดยเฉพาะการจะพัฒนาแพล็ตฟอร์ม OER แบบปิดใช้ภายในองค์กร หรือแบบกึ่งเปิด ล้วนต้องออกแบบเฉพาะกรณี… เหมือนแบบบ้านที่ต้องเขียนแบบและสร้างให้เข้ากับเนื้อที่และการอยู่อาศัยนั่นเอง
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… สิ่งที่ต้องอ้างอิงและเข้าใจเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับ OER ทั้ง 5R Permissions ก็คือเงื่อนไขสัญญาอนุญาตที่ติดมากับต้นฉบับ หรือ สัญญาอนุญาต Creative Commons ที่แวดวงสาวก OER ต้องรู้ไว้และใช้เป็น
ตอนหน้าผมจะเอารายละเอียดมาเติมให้ สำหรับท่านที่ยังไม่รู้จัก CC หรือ Creative Commons ครับ!!!
อ้างอิง
http://opencontent.org/definition
https://utexas.instructure.com